Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9150
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | จินตนา ยูนิพันธุ์ | - |
dc.contributor.author | กนกวรรณ พูนพานิชย์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2009-07-09T03:30:05Z | - |
dc.date.available | 2009-07-09T03:30:05Z | - |
dc.date.issued | 2549 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9150 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ผลของการใช้โปรแกรมการพยาบาลสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่รักษาแบบประคับประคอง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการแบบประคับประคองอายุระหว่าง 20-59 ปี เป็นผู้ป่วยนอก ณ คลินิกโรคไต โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยและสมาชิกในครอบครัวของผู้ป่วยทั้งเพศชายและเพศหญิง จำนวน 40 คน และทำการจับคู่ (Matching) กลุ่มตัวอย่างให้มีลักษณะ เพศ อายุ สมาชิกในครอบครัวเหมือนกัน และมีระดับครีเอตินินในเลือดต่างกันไม่เกิน 5 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร จากนั้นจับฉลากเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ20 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการพยาบาลสนับสนุนและให้ความรู้ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมการพยาบาลสนับสนุนและให้ความรู้ คู่มือการดูแลตนเอง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง สร้างขึ้นโดยอาศัยแนวคิดทฤษฎีการดูแลตนเองของ Orem (2001) ได้รับการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิและค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคเท่ากับ .92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังภายหลังได้รับโปรแกรมการพยาบาลสนับสนุนและให้ความรู้สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ.05 2. พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังภายหลังได้รับโปรแกรมการพยาบาลสนับสนุนและให้ความรู้ สูงกว่าผู้ป่วยที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 | en |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this experimental research was to study the effect of using a supportive - educative nursing program on self-care behaviors of chronic renal failure patients receiving conservative treatment. The sample was 40 patients receiving conservative treatment at nephrology center of King Chulalongkorn Memorial Hospital which were matched into 20 pairs considering sex, age, family and level of creatinine between 5 mg/dl as the selected variables. Then, the subjects were equally and randomly assigned into one experimental group and one control group. The experimental group a supportive-educative nursing program while the control group received routine nursing care. The research instruments ware the supportive-educative nursing program and self-care behaviors chronic renal failure patients scale which were tested for content validity by experts. The Cronbach's alpha coefficient of the scale was .92. Statistical techniques used in data analysis were percentage, means, standard deviation and t-test. Major results were as follows: 1. The self-care behaviors of chronic renal failure patients receiving conservative treatment of the experimental group immediately after receiving the program was significantly higher than before (p<.05). 2. The self-care behaviors of chronic renal failure patients receiving conservative treatment in the experimental group after receiving the program was significantly higher than that of the control group (p<.05). | en |
dc.format.extent | 2409393 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.943 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ไตวายเรื้อรัง | en |
dc.subject | การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง | en |
dc.title | ผลของการใช้โปรแกรมการพยาบาลสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่รักษาแบบประคับประคอง | en |
dc.title.alternative | The effect of using a supportive-educative nursing program on self-care behaviors of chronic renal failure patients receiving conservative treatment | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | พยาบาลศาสตร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Jintana.Y@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2006.943 | - |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kanokwan.pdf | 2.35 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.