Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/928
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพัชนี เชยจรรยา-
dc.contributor.authorกชพร ลิขิตมาศกุล, 2521--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-07-21T08:35:59Z-
dc.date.available2006-07-21T08:35:59Z-
dc.date.issued2544-
dc.identifier.isbn9740309879-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/928-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544en
dc.description.abstractศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับ ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร และความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสาร เกี่ยวกับปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน ความรู้ ความตระหนักและความเชื่อถือ ที่มีต่อเนื้อหาที่เสนอปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน และต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง 420 คนในเขตกรุงเทพมหานตร ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่า t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบ ANOVA และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ซึ่งประมวลผลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows ผลการวิจัยพบว่า 1. ประชาชนส่วนใหญ่มีการเปิดรับข่าวสาร เกี่ยวกับปัญหาทุจริตคอร์รัปชันจากสื่อมวลชนในระดับปานกลาง และมีการเปิดรับข่าวสารจากสื่อบุคคลและสื่อเฉพาะกิจในระดับต่ำ นอกจากนั้นยังพบว่าประชาชนมีความตระหนักต่อปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน และต่อความสำคัญของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ในระดับสูง ส่วนความรู้และความเชื่อถืออยู่ในระดับปานกลาง 2. ผู้ที่มีเพศต่างกัน มีการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน จากสื่อบุคคลแตกต่างกัน ผู้ที่มีอายุและระดับการศึกษาต่างกัน มีการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน จากสื่อมวลชนและสื่อบุคคลแตกต่างกัน ผู้ที่มีอาชีพและรายได้ต่างกัน มีการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับปัญหาทุจริตคอร์รัปชันจากสื่อมวลชน สื่อบุคคลและสื่อเฉพาะกิจแตกต่างกัน 3. การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับปัญหาทุจริตคอร์รัปชันจากหนังสือพิมพ์ แผ่นพับ/ใบปลิว สมาชิกในครอบครัว และเพื่อนที่ทำงาน/สถานศึกษา มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความรู้เกี่ยวกับ ปัญหาทุจริตคอร์รัปชันและบทบาทหน้าที่ ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ 4. การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับปัญหาทุจริตคอร์รัปชันจากโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ สมาชิกในครอบครัว เพื่อนที่ทำงาน/สถานศึกษา และเจ้าหน้าที่ จากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความตระหนักต่อ ปัญหาทุจริตคอร์รัปชันและความสำคัญของ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ 5. การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับปัญหาทุจริตคอร์รัปชันจากแผ่นพับ/ใบปลิว มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความเชื่อถือต่อเนื้อหา ที่เสนอปัญหาทุจริตคอร์รัปชันและต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ แต่การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับปัญหาทุจริตจากเจ้าหน้าที่ราชการมีความสัมพันธ์เชิงลบกับความเชื่อถือต่อเนื้อหาที่เสนอปัญหาทุจริตคอร์รัปชันและต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ 6. ความรู้เกี่ยวกับปัญหาทุจริตคอร์รัปชันและบทบาทของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความตระหนักต่อปัญหาทุจริตคอร์รัปชันและความสำคัญของปัญหาของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ 7.ความรู้เกี่ยวกับปัญหาทุจริตคอร์รัปชันและบทบาทของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความเชื่อถือต่อเนื้อหาที่เสนอปัญหาทุจริตคอร์รัปชันและต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ 8. ความตระหนักต่อปัญหาทุจริตคอร์รัปชันและความสำคัญของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความเชื่อถือต่อเนื้อหาที่เสนอปัญหาทุจริตคอร์รัปชันและต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติen
dc.description.abstractalternativeTo study media exposure to corruption problem and to examine the correlation among media exposure, knowledge, awareness and perceived credibility among Bangkok metropolis residents. Questionnaires were used to collect the data from a total of 420 samples. Frequency, percentage, mean, t-test, one-way ANOVA and Pearson's product moment correlation coefficient were employed for the analysis of the data. SPSS for windows program was used for data processing. The results were as a follows: 1. Most people were exposed to the problem of corruption on mass media at the moderate level and on interpersonal and specialized media at the low level. Their knowledge and credibility were also at the moderate level, but their awareness are at the high level. 2. Residents different in sex were exposed to interpersonal media differently. Those different in age and education were exposed to mass and interpersonal media differently. Residents different in occupation and income were exposed to mass, interpersonal and specializedmedia differently. 3. Exposure to corruption problem on newspaper, leaflet, family members and college or classmate positively correlated with their knowledge of corruption problem and the performance of the National Counter Corruption Commission. 4. Exposure to corruption problems on television, newspaper, family members, college or classmate and the officers of the National Counter Corruption Commission positively correlated with their awareness regarding corruption problem and the importance of the National Counter Corruption Commission. 5. Exposure to corruption problem on leaflet positively correlated with their credibility regarding content of the corruption problem and the importance of the National Counter Corruption Commission. However, Exposre on corruption problem on officers negatively correlated with their credibility regarding content of the corruption problem and the importance of the National Counter Corruption Commission. 6. Knowledge positively correlated with their awareness regarding corruption problem and the importance of the National Counter Corruption Commission. 7. Knowledge positively correlated with their credibility regarding content of the corruption problem and the importance of the National Counter Corruption Commission. 8. Awareness positively correlated with their credibility regarding content of the corruption problem and the importance of the National Counter Corruption Commission.en
dc.format.extent787081239 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2001.481-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติen
dc.subjectการสื่อสารen
dc.subjectการเปิดรับข่าวสารen
dc.subjectการทุจริตและประพฤติมิชอบen
dc.titleการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน ความรู้ ความตระหนักและความเชื่อถือของประชาชนที่มีต่อ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)en
dc.title.alternativeMedia exposure to corruption problem, people's knowledge, awareness and their perceived credibility to the National Counter Corruption Commission (NCCC.)en
dc.typeThesisen
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineนิเทศศาสตรพัฒนาการen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2001.481-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kodchaporn.pdf12.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.