Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9296
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เกียรติ จิวะกุล | - |
dc.contributor.author | สุนทร มลทา | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2009-07-23T06:15:23Z | - |
dc.date.available | 2009-07-23T06:15:23Z | - |
dc.date.issued | 2542 | - |
dc.identifier.isbn | 9743330968 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9296 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 | en |
dc.description.abstract | ศึกษารูปแบบกิจกรรมที่มีผลต่อสภาพการสัญจรทางเท้า และผลของการเปลี่ยนแปลงจากการมีระบบขนส่งรถไฟฟ้ามวลชน ให้บริการในพื้นที่สยามสแควร์-มาบุญครอง โดยมุ่งเน้นผลด้านขนาด รูปแบบทิศทางการเดินเท้าและการใช้บริการ ของผู้เดินทางเข้ามาในพื้นที่ เพื่อตรวจสอบความสามารถในการรองรับของ ทางเท้าแนวราบและต่างระดับ ตามแนวสถานีรถไฟฟ้าและพื้นที่ข้างเคียง เพื่อเสนอแนะแนวทางการจัดระเบียบพื้นที่ ให้สภาพการสัญจรทางเท้าในอนาคตมีความสะดวกคล่องตัวยิ่งขึ้น จากการศึกษาพบว่าในพื้นที่ย่านสยามสแควร์-มาบุญครอง มีบทบาทเป็นศูนย์กลางธุรกิจการค้าที่สำคัญแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ เนื่องจากเป็นที่ตั้งของ 4 ศูนย์การค้าขนาดใหญ่บริเวณแยกปทุมวัน ลักษณะเด่นคือ การเป็นศูนย์รวมแฟชั่น ความทันสมัย ความหลากหลายของสินค้าและบริการ สามารถดึงดูดให้มีผู้เข้ามาใช้บริการเป็นจำนวนมากในแต่ละวัน ส่วนใหญ่เดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะประเภทโดยสารประจำทาง และเดินเท้าจากจุดบริการจอดรับ-ส่ง กระจายตัวสู่พื้นที่พาณิชยกรรม ซึ่งการเดินเท้านั้นใช้พื้นที่ทางเท้าแตกต่างกัน ทำให้มีทั้งบริเวณที่คนเดินเท้าหนาแน่นมากและเบาบาง ทั้งนี้เป็นผลจากการกระจายตัวของกิจกรรมการค้า และพื้นที่โครงข่ายทางเท้าแนวราบ และในเครือข่ายทางเท้าต่างระดับ ที่ปัจจุบันขาดความสมบูรณ์และต่อเนื่องตลอดแนว ไม่สามารถสนองตอบคนเดินเท้าได้ทุกโอกาส จึงปรากฏบริเวณที่เป็นปัญหาการเดินติดขัดมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณที่จอดรถโดยสารประจำทาง และบันไดขึ้น-ลงสะพานลอยมีความจอแจ พลุกพล่านอยู่ตลอดเวลา จากการสำรวจความคิดเห็นต่อการเปลี่ยนไปใช้บริการรถไฟฟ้า เพื่อคาดผลของการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นจาก ระบบขนส่งรถไฟฟ้ามวลชนพบว่า ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะเดินทางด้วยระบบดังกล่าวมากถึงร้อยละ 63 โดยกลุ่มคนที่เดินทางด้วยรถโดยสารประจำทาง มีความต้องการเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางมากที่สุด แนวโน้มทิศทางการสัญจรของคนเดินเท้าในอนาคต จึงเปลี่ยนจุดตั้งต้นการเดินเข้าสู่พื้นที่จากที่จอดรถประจำทางเดิม ไปที่สถานีรถไฟฟ้า นอกจากนี้ระบบขนส่งรถไฟฟ้ามวลชน จะมีส่วนช่วยดึงดูดให้ผู้คนหลั่งไหลเข้ามาเป็นจำนวนมาก เนื่องจากประสิทธิภาพการเข้าถึงสะดวกขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มีกิจกรรมพิเศษ เช่นการแข่งขันกีฬาภายในสนามกีฬาแห่งชาติ จะนำพาผู้คนเข้าสู่พื้นที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้จำนวนคนเดินเท้าเพิ่มขึ้นด้วย และจากการประมาณการณ์พบว่า จำนวนคนเดินเท้าในอนาคตจะมี 133,200 คน โดยประมาณ ซึ่งพื้นที่โดยข่ายทางเท้าทั้ง 2 ระดับในปัจจุบันสามารถรองรับได้ทั้งหมดราว 173,400 คนแค่พฤติกรรมการใช้ทางเท้าไม่กระจายตัวสม่ำเสมอทั่วพื้นที่บริเวณที่มีโอกาสรองรับกลุ่มคนเดินเท้ามากที่สุด คือทางเท้าถนนพระรามที่ 1 ซึ่งเป็นทางเท้าในแนวแกนสถานีรถไฟฟ้าทั้งสองส่วนทางเท้าในถนนพญาไท โดยเฉพาะบริเวณจุดจอดรถโดยสารประจำทางหน้าศูนย์การค้ามาบุญครองและหน้าโอสถศาลาที่แออัดจะยังคงเป็นปัญหาต่อไปหากไม่แก้ไขปรับปรุง ผลจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ทำให้เห็นภาพอนาคตของย่านสยามสแควร์-มาบุญครองได้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยเฉพาะบริเวณที่จะเป็นปัญหาการสัญจรติดขัดบนทางเท้า ดังนั้นเพื้อให้การสัญจรบนทางเท้ามีความละดวก คล่องตัว สนองตอบผู้ใช้บริการทุกกลุ่ม จึงจำเป็นวางแผนป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต แนวทางการจัดระเบียบพื้นที่ที่แสนอแนะในการดำเนินการวางแผนได้กำหนดเป็น 2 แนวทางตามการคาดการณ์รูปแบบโครงข่ายทิศทางในการรองรับของพื้นที่ทางเท้า โดยแนวคิดแรกมุ่งเน้นแก้ปัญหาทางกายภาพที่พบในปัจจุบันและให้สามารถรองรับคนเดินเท้าที่เพิ่มขึ้นในอนาคตได้ส่วนแนวคิดที่สอง เน้นการแยกคนเดินเท้าที่จะเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากจากโครงการรถไฟฟ้า ออกจากระบบทางเท้าที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพื่อป้องกันปัญหาความแออัดบนทางเท้าที่จะเกิดวิกฤติขึ้นในอนาคต โดยการสร้างทางเท้ายกระดับที่เชื่อมกับศูนย์การค้าทั้ง 4 แห่งได้โดยตรง จัดโครงข่ายขึ้นใหม่ที่สามารถประสานกับระบบทางเท้าเดิมในระดับดินได้อย่างเหมาะสม | en |
dc.description.abstractalternative | To study the linkages between the commercial activities in Siam Square-Mar Boon Krong (MBK) area, the most attractive regional shopping center of Bangkok Metropolis and the new constructed mass transit system (BTS) which will affect pedestrians and the surrounding environment. By emphasizing on the number of pedestrians, directions, patterns, pedestrian walkways and facilities the resercher tries to examine pedestrian capacity, facilities and network of BTS and bus stations pedestrian attractions and related areas. Finally after the fact finding is the proposal of spatial ordering for pedestrian networks and its accommodations. The role of Siam Square-MBK area is the business district that has 4 shopping centers at Patumwan junction. The main function of this area is fashionable, modern goods with service facilities that can attract a large number of people to this area everyday. Most of this people use public transport and walk from bus stops to commercial areas. Pedestrians use space for walking in various patterns, different densities and atmospheres. Because of the unplanned pedestrian traffic many problems occur. For examples, a crossing of pedestrians and car and the congestions of pedestrians at every junction of circulation areas around 4 shopping centers, at bus stops bridges and staircases. From the result of the opinion survey has shown us that most of the bus users (about 63 percent) prefer to change from using bus to the new mass transportation mode. Therefore the Bangkok Transit System (BTS) stations will be work as major starting point of walking visitors in this area. Furthermore, the attraction of BTS which are convenience, quick, safety, easy access and can carry a majority of passenger from sub-urban to this area is very attractive now. These caused the trend of increasing pedestrain volume. It's forcasted numbers of pedestrians is about 133,200 person, and the existing pedestrian will be more dense and congested. Morever manner of pedestrains on walkways, bridges or staircase are difference. The pedestrain facilities on Rama I is the most dense pedestrians. Because its locate between BTS station and will caused pedestrian conflict and congestion. So it needs to have a plan and regulation to prevent or decrease the coming problems. Future guidelines for this are proposed in two alternatives according to the future of built development and carrying capacity of pedestrian facilities. The first guideline is to expand walkway and pedestrian facilities to solve the physical problem. Second guideline is to separate the new pedestrains from the existing walkways, by constructing a new elevated pedestrains, which connect to the four new developed shopping centers | en |
dc.format.extent | 980295 bytes | - |
dc.format.extent | 812757 bytes | - |
dc.format.extent | 1372273 bytes | - |
dc.format.extent | 4117301 bytes | - |
dc.format.extent | 2146402 bytes | - |
dc.format.extent | 2538271 bytes | - |
dc.format.extent | 1143768 bytes | - |
dc.format.extent | 1437815 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | คมนาคม | en |
dc.subject | การขนส่งทางบก | en |
dc.subject | การขนส่งมวลชน | en |
dc.subject | ทางเท้า | en |
dc.subject | รถไฟฟ้า | en |
dc.subject | สถานีรถไฟฟ้า | en |
dc.title | แนวทางการจัดระเบียบพื้นที่ เพื่อการสัญจรทางเท้า ระหว่างสถานีรถไฟฟ้าสยามสแควร์และสนามกีฬาแห่งชาติ กับพื้นที่พาณิชยกรรมเกี่ยวเนื่อง | en |
dc.title.alternative | Guidelines on spatial ordering for pedestrian between the Siam Square and National Stadium mass rapid transit stations and related commercial areas | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | การวางผังเมือง | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sunthorn_Mo_front.pdf | 957.32 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sunthorn_Mo_ch1.pdf | 793.71 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sunthorn_Mo_ch2.pdf | 1.34 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sunthorn_Mo_ch3.pdf | 4.02 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sunthorn_Mo_ch4.pdf | 2.1 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sunthorn_Mo_ch5.pdf | 2.48 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sunthorn_Mo_ch6.pdf | 1.12 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sunthorn_Mo_back.pdf | 1.4 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.