Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9392
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเทพวาณี หอมสนิท-
dc.contributor.authorณฐกร ชินศรีวงศ์กูล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2009-07-30T02:40:31Z-
dc.date.available2009-07-30T02:40:31Z-
dc.date.issued2544-
dc.identifier.isbn9741303351-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9392-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริมกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียน และปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินมาตรฐาน ซึ่งผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัย โดยสร้างแบบสอบถามเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่6ที่มีภาวะโภชนาการเกินมาตรฐานจำนวน 397 คน ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน จำนวน 58 โรงเรียน โดยได้รับแบบสอบถามกลับคืนมาทั้งสิ้น 397 ฉบับ จากนั้นจึงนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาความสัมพันธ์ด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ไค - สแควร์ และสถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบหลายขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า 1. นักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินมาตรฐานส่วนใหญ่เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง เป็นบุตรคนที่ 1 ในจำนวนพี่น้อง 2 คน ร้อยละ 83.6 ของนักเรียนมีบิดามารดาที่มีรูปร่างอ้วน นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับพอใช้ สำหรับทัศนคติด้านลบต่อภาวะโภชนาการเกินมาตรฐานพบว่า ร้อยละ 93.9 เห็นด้วยกับทัศนคติที่ว่าคนอ้วนคือ คนที่อยู่ดีกินดีและร้อยละ 70.50 เห็นด้วยว่าคนอ้วนคือ คนที่มีสง่าราศี ในด้านพฤติกรรมการบริโภคอาหารพบว่าร้อยละ 68.8 รับประทานอาหารปริมาณมากที่สุดในมื้อเย็นและร้อยละ81.6 รับประทานอาหารมากกว่า 3 มื้อต่อวัน ส่วนเวลาในการรับประทานอาหารมื้อเย็นพบว่าร้อยละ 87.9 รับประทานอาหารหลังเวลา 18.00 น. 2. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 พบว่า ปัจจัยนำ ได้แก่ ความเชื่อเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร ทัศนคติต่อภาวะโภชนาการเกินมาตรฐาน อายุของนักเรียน ศาสนาและสมาชิกในครอบครัวที่มีรูปร่างอ้วน ปัจจัยเอื้อ ได้แก่ แหล่งขายอาหาร ปัจจัยเสริม ได้แก่ พฤติกรรมของผู้ปกครอง ครูและเพื่อน ระดับการศึกษาของบิดาและอาชีพของมารดา 3.ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินมาตรฐาน พบว่า ปัจจัยนำ ได้แก่ ความเชื่อเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร ศาสนา และสมาชิกในครอบครัวที่มีรูปร่างอ้วน ปัจจัยเอื้อ ได้แก่ แหล่งขายอาหาร รายได้นักเรียนและรายได้ครอบครัว ปัจจัยเสริม ได้แก่ พฤติกรรมของผู้ปกครอง ครูและเพื่อน การศึกษาของบิดา และการรับรู้สื่อโฆษณาen
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to study (a) the relationships among predisposing factors, enabling factors and reinforcing factors with food consumption behaviors of students and ( b) the affecting of those food consumption behaviors of over weight students. The questionnaires were constructed by the researcher and sent to the 397 over weight students in prathomsuksa six from 58 elementary schools under the Office of Private Education Commission in Bangkok Metropolis. The obtained data were then analyzed into percentages, means, standard deviations. Pearson Product - Moment Correlation Coefficient, Chi - Square and Stepwise Multiple Regression Analysis were also applied. The results were as follows : 1. Most over weight students were males. Most of them were the first child from the two sibling families. Eighty three point six percent of students were having obese parents. Students' knowledge of food consumption was at the " fair" level. Among students' negative attitudes, it was found that 93.9 percent believed that obese people are wealthy and 70.5 percent agreed that obese people are having good personality. Regarding students ' food consumption behaviors, it was found that 68.8 percent of students overate at dinner, 81.6 percent of them ate more than 3 meals a day, and 87.9 percent of them had dinner after 6 p.m. 2. Factors on relationship with food consumption behaviors which significant at the. 05 level were : predisposing factors were beliefs about food consumption ; attitudes towards over weight nutrition ; age of students ; religions and obesity in family members . Enabling factors were the sources where food was purchased. Reinforcing factors were parents, teachers, and peers' behaviors including father's education and mother's occupation. 3. Predisposing factors affecting food consumption behaviors of over weight students were : beliefs about food consumption ; religions and obesity in family members. Enabling factors included the sources where food was purchased, students' allowance and family income, while parents, teachers, and peers' behaviors, father education and students' media perception were reinforcing factorsen
dc.format.extent1266240 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2001.577-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectเด็ก -- โภชนาการen
dc.subjectนักเรียนประถมศึกษาen
dc.subjectบริโภคนิสัยen
dc.titleปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินมาตรฐานในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน กรุงเทพมหานครen
dc.title.alternativeFactors affecting food consumption behaviors of over weight students in elementary schools under the Office of Private Education commission in Bangkok Metropolisen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineสุขศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2001.577-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Natakorn.pdf1.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.