Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9489
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธงชัย พรรณสวัสดิ์-
dc.contributor.authorอำพล เตโชวาณิชย์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2009-08-03T04:31:29Z-
dc.date.available2009-08-03T04:31:29Z-
dc.date.issued2541-
dc.identifier.isbn9743314075-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9489-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541en
dc.description.abstractการทดลองนี้เป็นการศึกษาถึงผลของระยะเวลาแอนแอโรบิก ความเข้มข้นของสีและชนิดสารอาหารที่มีต่อประสิทธิภาพการกำจัดสี คาร์บอนอินทรีย์ และฟอสฟอรัส ด้วยแบบจำลองแบบเอสบีอาร์ขนาดโต๊ะทดลอง ปริมาตรถัง 16 ลิตร อายุสลัดจ์รวม 8 วัน และเวลาวัฏจักรของระบบ 12 ชั่วโมง ปรับระยะเวลาแอนแอโรบิก+แอโรบิกในแต่ละระบบเป็น 0+11 (เป็นระบบแอโรบิก) 2+9, 4+7 และ 8+3 ชั่วโมง (สามชุดหลังเป็นระบบแอนแอโรบิก+แอโรบิกหรืออีบีพีอาร์ โดยในช่วงแอนแอโรบิกมีขั้นตอนแอนออกซิกเกิดขึ้นก่อนหน้าด้วย) เวลาตกตะกอน 1 ชั่วโมง ใช้น้ำเสียงสังเคราะห์ที่มี ซีโอดี 500 มก./ล. ไนโตรเจน 50 มก./ล. ฟอสฟอรัส 15 มก./ล. (อัตราส่วน 100:10:3) สีที่ใช้ทดสอบคือสีรีแอกทีฟอะโซ Remazol Black B ที่ความเข้มข้น 10, 40 และ 80 มก./ล. ประสิทธิภาพการกำจัดคาร์บอนอินทรีย์ทั้งของระบบแอโรบิกและระบบบีพีอาร์ที่มีระยะเวลาแอนแอโรบิก 2, 4 และ 8 ชั่วโมง ค่อนข้างใกล้เคียงกันกล่าวคือที่สี 10 มก./ล. การลดซีโอดีเท่ากับร้อยละ 96.3, 96.1, 96.9 และ 95.9 สำหรับทั้งสี่กรณีตามลำดับ และที่สี 40 มก./ล. เท่ากับร้อยละ 93.0, 94.6 และ 93.6 สำหรับชุดแอโรบิกและแอนแอโรบิก 2 และ 4 ชั่วโมงตามลำดับ และที่สี 80 มก./ล. เท่ากับร้อยละ 88.6 สำหรับชุดแอนแอโรบิก 4 ชั่วโมง แสดงว่าปริมาณสีที่เพิ่มขึ้นมีผลต่อการกำจัดคาร์บอนอินทรีย์เล็กน้อย ประสิทธิภาพการกำจัดทีเคเอ็นที่สี 10 มก./ล. เท่ากับร้อยละ 97.7, 97.7, 97.8 และ 97.3 ตามลำดับ และที่สี 40 มก./ล. เท่ากับร้อยละ 96.2, 95.8 และ 95.8 สำหรับชุดแอโรบิกและแอนแอโรบิก 2 และ 4 ชั่วโมงตามลำดับ และที่สี 80 มก./ล. เท่ากับร้อยละ 93.3 สำหรับชุดแอนแอโรบิก 4 ชั่วโมง จึงได้ข้อสรุปเช่นเดียวกับกรณีการกำจัดคาร์บอนอินทรีย์ ส่วนประสิทธิภาพการกำจัดฟอสฟอรัสที่สี 10 มก./ล. เท่ากับร้อยละ 59.2, 98.7, 98.7 และ 98.0 ตามลำดับ และที่สี 40 มก./ล. เท่ากับร้อยละ 58.8, 97.4 และ 99.3 สำหรับชุดแอโรบิกและแอนแอโรบิก 2 และ 4 ชั่วโมงตามลำดับ และที่สี 80 มก./ล. เท่ากับร้อยละ 97.4 สำหรับชุดแอโรบิก 4 ชั่วโมง แสดงว่าระบบแอโรบิกกำจัดฟอสฟอรัสได้ไม่ดี แต่ดีกว่าระบบแอโรบิกปกติ ส่วนระบบอีบีพีอาร์ลดฟอสฟอรัสได้ดี รวมทั้งความเข้มข้นสีในช่วงที่ศึกษาไม่มีผลต่อจุลชีพพีเอโอมากนัก ประสิทธิภาพการกำจัดสีในหน่วยเอสยูที่สี 10 มก./ล. เท่ากับร้อยละ 18.3, 36.8, 62.8 และ 62.5 ตามลำดับ และที่สี 40 มก./ล. เท่ากับร้อยละ 14.6, 35.2 และ 52.7 สำหรับชุดแอโรบิกและแอนแอโรบิก 2 และ 4 ชั่วโมงตามลำดับ และที่สี 80 มก./ล. เท่ากับร้อยละ 54.5 สำหรับชุดแอนแอโรบิก 4 ชั่วโมง ประสิทธิภาพการกำจัดสีในหน่วยเอดีเอ็มไอที่สี 10 มก./ล. เท่ากับร้อยละ 19.6, 40.9, 59.1 และ 59.6 ตามลำดับ และที่สี 40 มก./ล. เท่ากับร้อยละ 20.7, 50.3 และ 58.8 สำหรับชุดแอโรบิกและแอนแอโรบิก 2 และ 4 ชั่วโมงตามลำดับ และที่สี 80 มก./ล. เท่ากับร้อยละ 52.5 สำหรับชุดแอนแอโรบิก 4 ชั่วโมง เห็นได้ว่าระบบแอนแอโรบิกกำจัดสีได้ดีกว่าระบบแอโรบิกและระยะเวลาแอนแอโรบิก มีผลต่อการกำจัดสีด้วย โดยระยะเวลาแอนแอโรบิกที่นานขึ้นทำให้ประสิทธิภาพการกำจัดสีสูงขึ้น ส่วนความเข้มข้นสีมีผลในทางกลับกันคือ ความเข้มข้นสีที่มากขึ้นทำให้ประสิทธิภาพการกำจัดสีลดลง ทั้งนี้ระบบที่กำจัดฟอสฟอรัสได้เท่ากันไม่จำเป็นต้องกำจัดสีได้เท่ากันแม้จะกำจัดสีได้ดีกว่าระบบแอโรบิกก็ตาม นั่นคือจุลชีพพีเอโอไม่ใช่จุลชีพหลักในการกำจัดสีในน้ำเสียen
dc.description.abstractalternativeIn this research, the effects of color intensity, anaerobic time and type of substrate on the organic carbon, phosphorus and color removal were studied by using three SBR bench scale models with 16 L tank capacity. The systems were operated at 8-day total sludge age and 12-hour cycle time with different anaerobic+aerobic times of 0+11 (aerobic process), 2+9, 4+7 and 8+3 hrs. (which were anoxic+anaerobic+aerobic process with predenitrification process taking part in the early stage of the anarobic step). The synthetic wastewaters were prepared to have 500 mg/l COD, 50 mg/l nitrogen, 15 mg/l phosphorus (100:10:3) as well as, 10, 40 and 80 mg/l reactive diazo Remazol Black B dye. The COD removal efficiency of the aerobic and EBPR systems at 2, 4 and 8 hour anaerobic times was 96.3, 96.1, 96.9 and 95.9 percent, respectively, at the 10 mg dye/l condition and 93.0, 94.6 and 93.6 percent for the aerobic and 2 and 4 hour anaerobic system at 40 mg/ dye/l condition and 88.6 percent for the 4 hour anaerobic system at 80 mg dye/l condition. This showed that the color intensity had very little effect on the organic carbon removal. The TKN removal efficiency was 97.7, 97.7, 97.8 and 97.3 percent, respectively, at the 10 mg dye/l condition and 96.2, 95.8 and 95.8 percent for the aerobic and 2 and 4 hour anaerobic system at 40 mg dye/l condition and 93.3 percent for the 4 hour anaerobic system at 80 mg dye/l condition; the dye effect was therefore similar to the COD scenario. The phosphorus removal efficiency was 59.2, 98.7, 98.7 and 98.0 percent, respectively, at the 10 mg dye/l condition and 58.8, 97.4 and 99.3 percent for the aerobic and 2 and 4 hour anaerobic system at 40 mg dye/l condition and 97.4 percent for the 4 hour anaerobic system at 80 mg dye/l condition. This demonstrated that the aerobic system, as expected, could not satisfactorily reduce color while the BPR process could. Also, the dye concentration up to 80 mg/l, or the color intensity, did not have much effect on the PAO. The color removal efficiency in SU unit was 18.3. 36.8, 62.8 and 62.5 percent, respectively, at the 10 mg dye/l condition and 14.6, 35.2 and 52.7 percent for the aerobic and 2 and 4 hour anaerobic system at 40 mg dye/l condition and 54.5 percent for the 4 hour anaerobic system at 80 mg dye/l condition. The anaerobic+aerobic systems had obviously a better color removal than the aerobic system. High decolorization level could be achieved with long anaerobic time, while it decreased with the dye concentrations. It is not necessary that the systems with the same phosphorus removal efficiency had to decolorize at the same degree, i.e., PAO were not the sole primary decolorizing organisms.en
dc.format.extent1215347 bytes-
dc.format.extent836903 bytes-
dc.format.extent2498927 bytes-
dc.format.extent1029092 bytes-
dc.format.extent2850532 bytes-
dc.format.extent764070 bytes-
dc.format.extent1993716 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectน้ำเสีย -- การบำบัด -- กระบวนการแบบตะกอนเร่งen
dc.subjectน้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดสีen
dc.subjectอุตสาหกรรมสิ่งทอen
dc.titleประสิทธิภาพการกำจัดสีของสีรีแอกทีฟชนิดอะโซโดยระบบเอสบีอาร์แบบแอโรบิกและแอนแอโรบิก-แอโรบิกภายใต้ภาวะการปฏิบัติการที่ต่างกันen
dc.title.alternativeColor removal efficiency of a reactive azo dye by aerobic and anaerobic-aerobic SBR systems under different operating conditionsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorThongchai.P@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ampol_Te_front.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open
Ampol_Te_ch1.pdf817.29 kBAdobe PDFView/Open
Ampol_Te_ch2.pdf2.44 MBAdobe PDFView/Open
Ampol_Te_ch3.pdf1 MBAdobe PDFView/Open
Ampol_Te_ch4.pdf2.78 MBAdobe PDFView/Open
Ampol_Te_ch5.pdf746.16 kBAdobe PDFView/Open
Ampol_Te_back.pdf1.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.