Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9534
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนเรศร์ จันทน์ขาว-
dc.contributor.authorชุติมา กรานรอด-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2009-08-03T10:12:06Z-
dc.date.available2009-08-03T10:12:06Z-
dc.date.issued2544-
dc.identifier.isbn9740310583-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9534-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544en
dc.description.abstractการวิจัยนี้เป็นการทดลองหาปริมาณธาตุโบรอนในตัวอย่างดิน โดยการวัดรังสีพรอมต์แกมมาพลังงาน 478 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์จากปฎิกิริยา [superscript 10]B(n, alpha)[superscript 7]Li ระบบอาบนิวตรอนประกอบด้วยต้นกำเนิดนิวตรอนชนิดอะเมริเซียม-เบริลเลียมความแรง 500 มิลลิคูรี (18.5 กิกะเบคเคอเรล) และใช้น้ำเป็นตัวหน่วงนิวตรอน โดยวางหัววัดรังสีเจอร์มาเนียมบริสุทธิ์สูงสำหรับวัดรังสีพรอมต์แกมมาที่เกิดขึ้นไว้ชิดด้านข้างของภาชนะบรรจุตัวอย่างซึ่งวางอยู่บนปากท่อนำลำนิวตรอน และได้ทำการศึกษาปัจจัยซึ่งมีผลต่อความเข้มของรังสีพรอมต์แกมมาที่พลังงาน 478 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์ ปัจจัยดังกล่าว ได้แก่ ผลของตำแหน่งของต้นกำเนิดรังสี ตำแหน่งของหัววัดรังสี ขนาดของภาชนะใส่ ตัวอย่าง ปริมาณตัวอย่าง ความหนาแน่นของตัวอย่าง และความชื้นในตัวอย่าง ได้ใช้เทคนิคการเติมสารมาตรฐานเพื่อการสร้างกราฟปรับเทียบความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มของรังสีพรอมต์แกมมากับปริมาณโบรอนในดินสำหรับการหาปริมาณโบรอนจากตัวอย่างดินอื่นๆ ได้ทำการวิเคราะห์เชิงปริมาณของธาตุโบรอนในดินจากตัวอย่างดินจำนวน 5 ตัวอย่าง พบว่า ปริมาณโบรอนที่วิเคราะห์ได้อยู่ในช่วงประมาณ 26 - 48 ส่วนในล้านส่วนโดยน้ำหนัก และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานไม่เกิน 9 ส่วนในล้านส่วนโดยน้ำหนัก สำหรับขีดจำกัดในการวิเคราะห์โบรอนในดินด้วยเทคนิคนี้มีค่าประมาณ 0.2 ส่วนในล้านส่วนโดยน้ำหนัก ที่เวลาในการวัดรังสี 12000 วินาที วิธีการที่พัฒนาขึ้นมาสามารถนำไปใช้ในการปรับเทียบเทคนิคนี้ สำหรับการวิเคราะห์หาปริมาณโบรอนในดิน ณ พื้นที่ได้en
dc.description.abstractalternativeDetermination of boron in soil sample by measurement of 478 keV prompt gamma-ray from [superscript 10]B(n,alpha)[superscript 7]Li reaction was experimentally investigated. The neutron irradiation system consisted of a 500 mCi (18.5 GBq)[superscript 241]Am/Be neutron source and water as the moderator. A high purity germanium detector was positioned close to one side of the sample container which was seated on the neutron collimator. Factors that affected the intensity of 478-keV gamma-ray were also investigated including positions of the source and the sample as well as size, shape and moisture content of the sample. The standard addition technique was used to calibrate the system for determining boron in other samples. The boron contents in five soil samples were determined and found to be in the range of 26 - 48 ppm by weight with the standard deviations of is less than or equal to 9 ppm while the detection limit was found to be approximately 0.2 ppm for 12,000-second counting time. The developed procedure will be used to calibrate this technique for in situ determination of boron in soil.en
dc.format.extent1002523 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectดิน -- การวิเคราะห์en
dc.subjectโบรอนen
dc.subjectนิวตรอนen
dc.subjectรังสีพรอมพ์แกมมาen
dc.titleการหาปริมาณธาตุโบรอนในดินโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์รังสีพรอมต์แกมมาจากปฏิกิริยาการจับนิวตรอนen
dc.title.alternativeDetermination of boron in soils using the prompt captured gamma-ray analysis techniqueen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineนิวเคลียร์เทคโนโลยีes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorNares.C@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ChutimaKran.pdf979.03 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.