Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9536
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพูนสุข บุณย์สวัสดิ์-
dc.contributor.authorจุฑาพร พุทธิวาส-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2009-08-03T10:25:41Z-
dc.date.available2009-08-03T10:25:41Z-
dc.date.issued2544-
dc.identifier.isbn9741701829-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9536-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544en
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการจัดประสบการณ์ส่งเสริมการประสานงานของตาและมือของเด็กวัยอนุบาลและสื่อประกอบการจัดประสบการณ์ส่งเสริมการประสานงานของตาและมือของเด็กวัยอนุบาล ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูประจำชั้นอนุบาลปีที่ 1-2 จำนวน 225 คน และเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 1-2 จำนวน 10 ห้องเรียน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ การจัดประสบการณ์ส่งเสริมการประสานงานของตาและมือของเด็กวัยอนุบาล ครูประจำชั้นอนุบาลส่วนใหญ่ 1) มีหลักในการจัดกิจกรรม คือ จัดให้สอดคล้องกับพัฒนาการและความแตกต่างของเด็กแต่ละคน โดยใช้หลักสูตรก่อนประถมศึกษา พุทธศักราช 2540 ของกรมวิชาการ 2) เตรียมจัดกิจกรรม โดยเลือกตามความต้องการและความสนใจของเด็กและมีการเตรียมการจัดกิจกรรมโดยจัดทำไว้ล่วงหน้าอย่างน้อย 1 สัปดาห์ 3) การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน กิจกรรมส่งเสริมการประสานงานของตาและมือจัดอยู่ในกิจกรรมสร้างสรรค์ เช่น วาดภาพระบายสีด้วย นิ้วมือ พู่กัน สีน้ำ สีเทียนและปั้นดินน้ำมัน รวมทั้งกิจกรรมเล่นตามมุม เช่น มุมบล็อก มุมพลาสติกสร้างสรรค์ เวลาที่ใช้ในการทำกิจกรรมสามารถปรับเปลี่ยนได้ ส่วนการวัดและประเมินพัฒนาการใช้วิธีการสังเกตและจดบันทึก พฤติกรรมในการปฏิบัติกิจกรรมนั้นเด็กวัยอนุบาลให้ความสนใจปฏิบัติกิจกรรมจนประสบผลสำเร็จและพบว่า เด็กได้ใช้ตาและมือทำกิจกรรมได้อย่างคล่องแคล่วและประสานสัมพันธ์กัน ด้านสื่อประกอบการจัดประสบการณ์ส่งเสริมการประสานงานของตาและมือ ครูประจำชั้นอนุบาลส่วนใหญ่ 1) ได้ยึดหลักการเลือกสื่อที่เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการของเด็ก 2) การเตรียมสื่อประกอบการจัดกิจกรรมได้มาโดยการจัดซื้อด้วยงบประมาณจากหน่วยงานซึ่งมีจำนวนเพียงพอกับเด็ก 3) การใช้สื่อประกอบกิจกรรม สื่อที่นำมาใช้เป็นประจำคือ กระดาษ ดินน้ำมันหรือแป้งปั้น ดินสอสี สีน้ำ พู่กัน และพบว่า พฤติกรรมการใช้สื่อของเด็กวัยอนุบาลใช้ด้วยความระมัดระวัง ใช้ได้ตรงตามวัตถุประสงค์ของสื่อ เมื่อใช้เสร็จแล้วนำไปเก็บเข้าที่ได้เรียบร้อยen
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study is to study on organizing experiences to promote eye-hand coordination in kindergarteners and on educational media of organizing experiences to promote eye-hand coordination in kindergarteners.The sample were 225 classroom teachers and children from 10 kindergarten classes in elementary schools. The results indicated that on organizing experiences to promote eye-hand coordination in kindergarten classroom, for most teachers, 1) the principal technique in organizing experience was to organize activities according to the development and differenes of the children, by using to the preschool curriculum B.E.2540 of the Academic Department 2) The activities preparation was done by considering the needs and interests of the children and was in mostly prepared one week in advance. 3) Activties to promote eye-hand coordination were included activities such as drawing, coloring using fingerpaint, brush, crayon and water color as well as dough play it also included in learning center activities such as block and creative pastic centers. The period in doing such activities was flexible. The evaluation was done by observation and notation. Children were observed to be interested in the activities and most completed the task. They were able to used their eye and hand dexterously. Concerning educational media, most teachers belived in 1) choosing the media to match childrenʼs development and age group.2) Using the budget from the office for buying the educational media.3) Educational media regularly used were play dough, colored pencils, water colors, and brushes. Children were observed using the media appropriately, using them according to the objectives and putting things back to their places after the activities.en
dc.format.extent1027996 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2001.649-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการรับรู้ทางสายตาen
dc.subjectเด็กวัยก่อนเข้าเรียนen
dc.subjectการศึกษาขั้นอนุบาลen
dc.subjectพัฒนาการของเด็กen
dc.titleการศึกษาการจัดประสบการณ์ส่งเสริมการประสานงานของตาและมือของเด็กวัยอนุบาลในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานครen
dc.title.alternativeA study on organizing experiences to promote eye-hand coordination in kindergarteners in elementary schools under the Office of Bangkok Primary Educationen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการศึกษาปฐมวัยes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2001.649-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chuthaphon.pdf1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.