Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9772
Title: การพัฒนาแหล่งจ่ายไฟฟ้าศักดาสูงแบบสวิตชิงสำหรับหลอดกำเนิดรังสีเอกซ์ขนาด 100 กิโลโวลต์
Other Titles: Development of a high voltage switching power supply for A 100 kV X-ray tube
Authors: ฉัตรชัย อัสดาธร
Advisors: สุวิทย์ ปุณณชัยยะ
เดโช ทองอร่าม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Suvit.P@Chula.ac.th
Decho.T@chula.ac.th
Subjects: แหล่งจ่ายไฟฟ้าแรงสูง
หลอดกำเนิดรังสีเอกซ์
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาแหล่งจ่ายไฟฟ้าศักดาสูงแบบสวิตชิงสำหรับหลอดกำเนิดรังสีเอกซ์ขนาด 100 kV กระแสไฟฟ้า 10mA โดยใช้วัสดุและอุปกรณ์ที่หาได้ภายในประเทศเป็นหลัก เพื่อนำมาใช้แทนแหล่งจ่ายไฟฟ้าศักดาสูงแบบหม้อแปลงไฟฟ้าความถี่ต่ำในเครื่องกำเนิดรังสีเอกซ์ ซึ่งมีขนาดใหญ่และให้ประสิทธิภาพการทำงานต่ำ แหล่งจ่ายไฟฟ้าศักดาสูงแบบสวิตชิงที่พัฒนาขึ้นนี้ใช้วงจรแปลงศักดาไฟฟ้าแบบฟลายแบคคอนเวอร์เตอร์ ซึ่งทำงานที่ความถี่ 6kHz จ่ายศักดาไฟฟ้าด้านทางออกด้วยวงจรทวีศักดาไฟฟ้าสองเท่า อุปกรณ์สวิตชิงชนิดสารกึ่งตัวนำเลือกใช้มอสเฟตเบอร์ IRFPG50 ทำงานขนานกันเพื่อให้รับภาระกำลังไฟฟ้าสูงได้และควบคุมศักดาไฟฟ้าด้านทางออกแบบปรับความกว้างของพัลส์ (PWM) ด้วยไอซีสำเร็จรูปเบอร์ SG3526 รวมทั้งจัดวงจรตรวจความผิดปกติของศักดาไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าเพื่อตัดการจ่ายไฟฟ้าอัตโนมัติ ผลการวิจัยพบว่าการออกแบบในส่วนของหม้อแปลงไฟฟ้าศักดาสูงแบบสวิตชิงมีข้อจำกัดเรื่องขนาดของแกนเฟอร์ไรต์ที่ใช้กันทั่วไปมีขนาดไม่เพียงพอ จำเป็นต้องเพิ่มขนาดด้วยการเสริมต่อพื้นที่และต้องออกแบบบอบบินแยกขดลวดตัวนำเป็นชั้นๆ เพื่อให้ทนการเกิดอาร์คในถังบรรจุฉนวนน้ำมันขนาดของแหล่งจ่ายไฟฟ้าจะเล็กลงสร้างได้ง่ายและมีน้ำหนักเบา จากผลการทดสอบถ่ายภาพรังสีด้วยหลอดกำเนิดรังสีเอกซ์ชนิดเดียวกันเปรียบเทียบระหว่างแหล่งจ่ายไฟฟ้าศักดาสูงแบบดั้งเดิมกับแหล่งจ่ายไฟฟ้าสวิตชิงที่พัฒนาขึ้น พบว่า ภาพถ่ายรังสีเอกซ์จากการจ่ายไฟฟ้าศักดาสูงจากแหล่งจ่ายไฟฟ้าแบบสวิตชิงความถี่สูงใช้เวลาถ่ายภาพสั้นกว่าและมีแนวโน้มความคมชัดภาพมากกว่า เนื่องจากสามารถผลิตรังสีเอกซ์ที่ต่อเนื่องเต็มกำลังของหลอดกำเนิดรังสีเอกซ์
Other Abstract: The purpose of this thesis is to developp a high voltage switching power supply for a 100 kV X-ray tube with a current in use of 10mA, using only materials that can be found locally. The developed high voltage switching transformer is intended to replace the large size, low efficiency, and low frequency high voltage transformers currently used in commercial X-ray generators. The developed units employed a flyback converter operating at low frequency up to 6 kHz and provide doubling voltage output of the high voltage switching transformer. MOSFETs No. IRFPG50 were selected as switching elements operating in parallel to share high power. An IC PWM No. SG3526 was selected for the control circuit to control the output voltage by adjusting pulse width based on the technique known as pulse width modulation (PWM). This IC is capable of managing voltage feed back, current sensing and automatic shutdown for circuit protection. Results indicate that the ferrite core's size used in the transformer was too small resulting in inadequate coil's winding area by designing bobbin to separate coil units and immersed in high voltage transformer oil for arc protection. The developed high voltage switching power supply has smaller size, simpler design and lower weight. X-ray images taken from this high voltage switching power supply provide sharper images and reduce the exposure time its due to continuous power output.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิวเคลียร์เทคโนโลยี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9772
ISBN: 9743324194
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chatchai_As_front.pdf810.85 kBAdobe PDFView/Open
Chatchai_As_ch1.pdf707.88 kBAdobe PDFView/Open
Chatchai_As_ch2.pdf1.56 MBAdobe PDFView/Open
Chatchai_As_ch3.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open
Chatchai_As_ch4.pdf1.44 MBAdobe PDFView/Open
Chatchai_As_ch5.pdf704.82 kBAdobe PDFView/Open
Chatchai_As_back.pdf1.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.