Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9849
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | นิศา ชูโต | - |
dc.contributor.author | นันทิยา ดวงจันทร์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2009-08-10T01:56:19Z | - |
dc.date.available | 2009-08-10T01:56:19Z | - |
dc.date.issued | 2541 | - |
dc.identifier.isbn | 9743318429 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9849 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างจำนวนตัวเลือกได้กับวัยของผู้ตอบที่มีต่อความคงที่ของผลการวัดทางสัมคมมิติ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยนักเรียนจำนวน 560 คน ของโรงเรียนในจังหวัดลพบุรี ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มตามอายุ คือ วัยเด็กตอนกลาง (6-9 ปี) จำนวน 184 คน วัยเด็กตอนปลาย (10-12 ปี) จำนวน 180 คน และวัยก่อนวัยรุ่น (13-15 ปี) จำนวน 196 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดทางสังคมมิติที่ผู้วิจัยจัดทำขึ้นโดยใช้สถานการณ์ในโรงเรียน 3 สถานการณ์ คือ สถานการณ์ นั่งเรียนใกล้กัน สถานการณ์ทำงานร่วมกัน และสถานการณ์เล่นด้วยกัน และกำหนดจำนวนตัวเลือกที่เลือกได้เป็น 2, 3, 4 และ 5 ตัวเลือก โดยครูประจำชั้นและอาจารย์แนะแนวเป็นผู้วัด ด้วยวิธีการวัดแบบทดสอบซ้ำโดยใช้ระยะเวลาห่างกัน 1 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการถ่วงน้ำหนักและไม่ถ่วงน้ำหนักคะแนน ค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทางค่าสัมประสิทธิความคงที่ ไคสแควร์ และอัตราส่วนซี ผลการวิจัยพบว่า 1. เมื่อใช้วิธีการไม่ถ่วงน้ำหนักคะแนนพบว่า มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างจำนวนตัวเลือกที่เลือกได้กับวัยของผู้ตอบที่มีต่อความคงที่ของผลการวัดทางสังคมมิติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 1.1 การวัดด้วยแบบวัดจำนวน 2 และ 4 ตัวเลือกในวัยเด็กตอนปลายมีความคงที่สูงกว่าในวัยเด็กตอนกลาง 1.2 ในวัยเด็กตอนกลาง การวัดด้วยแบบวัดจำนวน 3 และ 5 ตัวเลือก มีความคงที่สูงกว่า การวัดด้วยแบบวัดจำนวน 2 ตัวเลือก 2. เมื่อใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักคะแนนพบว่า มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างจำนวนตัวเลือกที่เลือกได้กับวัยของผู้ตอบที่มีต่อความคงที่ของผลการวัดทางสังคมมิติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.1 การวัดด้วยแบบวัดจำนวน 3 ตัวเลือกในวัยก่อนวัยรุ่น มีความคงที่สูงกว่าในวัยเด็กตอนปลาย 2.2 การวัดด้วยแบบวัดจำนวน 4 ตัวเลือกในวัยเด็กตอนปลายและวัยก่อนวัยรุ่น มีความคงที่สูงกว่าในวัยเด็กตอนกลาง 2.3 ในวัยเด็กตอนกลาง การวัดด้วยแบบวัดจำนวน 5 ตัวเลือก มีความคงที่สูงกว่า การวัดด้วยแบบวัดจำนวน 4 ตัวเลือก 2.4 ในวัยเด็กตอนปลาย การวัดด้วยแบบวัดจำนวน 4 ตัวเลือก มีความคงที่สูงกว่า การวัดด้วยแบบวัดจำนวน 5 ตัวเลือก 3. เมื่อใช้วิธีการไม่ถ่วงน้ำหนักคะแนนพบว่า ในวัยเด็กตอนกลาง การวัดด้วยแบบวัดจำนวน 3 ตัวเลือก มีค่าสัมประสิทธิ์ความคงที่สูงกว่า การวัดด้วยแบบวัดจำนวน 2 ตัวเลือก 4. เมื่อใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักคะแนนพบว่า 4.1 ในวัยเด็กตอนกลาง การวัดด้วยแบบวัดจำนวน 3, 4 และ 5 ตัวเลือก มีค่าสัมประสิทธิ์ความคงที่สูงกว่าการวัดด้วยแบบวัดจำนวน 2 ตัวเลือก 4.2 ในวัยเด็กตอนปลาย การวัดด้วยแบบวัดจำนวน 5 ตัวเลือก มีค่าสัมประสิทธิ์ความคงที่สูงกว่าการวัดด้วยปบบวัดจำนวน 2 ตัวเลือก 4.3 การวัดด้วยแบบวัดจำนวน 2 ตัวเลือกในวัยเด็กตอนปลาย มีค่าสัมประสิทธิ์ความคงที่สูงกว่าในวัยเด็กตอนกลาง | en |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this research was to study the interaction between the number of possible choices and ages of respondents on stability of sociometric results. Samples used in this study were 560 students in Lopburi schools. They were devided into three age groups, 184, 180 and 196 students representing, middle children age group (6-9 years), late children ages group (10-12 years) and pre adolescence age group (13-15 years) respectively. Sociometric tests were designed using three school criteria which subject prefered to sitting, playing, working with. Four possible choices (2, 3, 4 and 5) were applied. Sociometric tests were administered to the subjects by their own teachers and a counselor with test-retest method during one week interval. Data were analyzed by weighted and unweighted scores for mean, analysis of variance, coefficients of stability, chi-square and z-ratio. The results were summarized as follow : 1. Unweighted scores method : significant of interaction between the number of possible choices and ages of respondents was found on stability of sociometric results at .05 level 1.1 For the 2 and 4 choices : the stablility among the late children ages group was higer than the middle children ages group 1.2 For the middle children ages group : the stability of possible choices of 3 and 5 was higer than the 2 choices 2. Weighted scores method : significant of interaction between the number of possible choices and ages of respondents on stability of sociometric results at .05 level 2.1 For the 3 choices : the stability among the pre adolescense ages group was higer than the late children ages group 2.2 For the 4 choices : the stability among the late children ages group and the pre adolescense ages group was higer than the middle children ages group 2.3 For the middle children ages group : the stability of possible choices of 5 was higer than the 4 choices 2.4 For the late children ages group : the stability of possible choices of 3 and 4 was higer than the 3 choices 3. Unweighted scores method : coefficient of stability of the 3 choices in the middle children ages group was higer than the 2 choices 4. Weighted scores method : 4.1 For the middle children ages group : coefficient of stability of the 3, 4 and 5 choices was higer than the 2 choices 4.2 For the late children ages group : coefficient of stability of the 5 choices was higer than the 2 choices 4.3 For the 2 choices : coefficient of stability of the late children ages group was higer than the middle children ages group. | en |
dc.format.extent | 1035903 bytes | - |
dc.format.extent | 787583 bytes | - |
dc.format.extent | 1260736 bytes | - |
dc.format.extent | 849972 bytes | - |
dc.format.extent | 981052 bytes | - |
dc.format.extent | 800636 bytes | - |
dc.format.extent | 1537687 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | สังคมมิติ | en |
dc.subject | พัฒนาการของเด็ก | en |
dc.subject | แบบทดสอบ -- ความเที่ยง | en |
dc.title | การศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างจำนวนตัวเลือกที่เลือกได้กับวัยของผู้ตอบ ที่มีต่อความคงที่ของผลการวัดทางสังคมมิติ | en |
dc.title.alternative | A study of the interaction between the number of possible choices and ages of respondents on the stability of sociometric results | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | วิจัยการศึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Nisa.X@chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Nunthiya_Du_front.pdf | 1.01 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Nunthiya_Du_ch1.pdf | 769.12 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nunthiya_Du_ch2.pdf | 1.23 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Nunthiya_Du_ch3.pdf | 830.05 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nunthiya_Du_ch4.pdf | 958.06 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nunthiya_Du_ch5.pdf | 781.87 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nunthiya_Du_back.pdf | 1.5 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.