Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9993
Title: ผลของการใช้วิธีการเรียนแบบร่วมมือประเภทการแข่งขันระหว่างกลุ่ม ด้วยเกมที่มีการทดสอบย่อยต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Other Titles: Effects of using teams-games-tournament cooperative learning method with formative testing on science learning achievement of mathayom suksa three students
Authors: นิตยา เจริญนิเวศนุกูล
Advisors: พิมพันธ์ เดชะคุปต์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Pimpan.d@chula.ac.th
Subjects: ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน
การทำงานกลุ่มในการศึกษา
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียบวิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างกลุ่มที่ใช้วิธีการเรียนแบบร่วมมือประเภทการแข่งขัน ระหว่างกลุ่มด้วยเกมที่มีและไม่มีการทดสอบย่อย ตัวอย่างประชากรคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนแจงร้อนวิทยา กรุงเทพมหานคร แบ่งเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 40 คน กลุ่มหนึ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ใช้วิธีการเรียนแบบร่วมมือ ประเภทการแข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกมที่มีการทดสอบย่อย อีกกลุ่มหนึ่งเป็นกลุ่มควบคุมที่ใช้วิธีการเรียนแบบร่วมมือ ประเภทการแข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกมที่ไม่มีการทดสอบย่อย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีค่าความเที่ยง 0.93 ค่าความยากง่ายอยู่ในช่วง 0.2-0.7 และค่าอำนาจจำแนกอยู่ในช่วง 0.22-0.92 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ใช้วิธีการเรียนแบบร่วมมือประเภทการแข่งขันระหว่างกลุ่ม ด้วยเกมที่มีการทดสอบย่อยสูงกว่านักเรียนที่ใช้วิธีการเรียนแบบร่วมมือ ประเภทการแข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกมที่ไม่มีการทดสอบย่อย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: To compare science learning achievement of mathayom suksa three students between the groups using teams-games-tournament cooperative learning method with and without formative testing. The samples were two groups of mathayom suksa three students of Chaengron Wittaya School in Bangkok with 40 students in each group. One group was the experimental group using teams-games-tournament cooperative learning method with formative testing. The other was the control group using the same learning method without formative testing. The research instrument was a science learning achievement test. The reliability of the science learning achievement test was 0.93, the difficulty levels were 0.2-0.7 and the discriminative levels were 0.22-0.92. The collected data were analyzed by means of percentage, arithmetic mean, standard deviation and t-test. The research finding was summarized as follow : The science learning achievement of mathayom suksa three students using teams-games-tournament cooperative learning method with formative testing was higher than science learning achievement of students using the same learning method without formative testing at the .05 level of significance.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การศึกษาวิทยาศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9993
ISBN: 9746394371
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nitaya_Ch_front.pdf1.3 MBAdobe PDFView/Open
Nitaya_Ch_ch1.pdf1.26 MBAdobe PDFView/Open
Nitaya_Ch_ch2.pdf3.65 MBAdobe PDFView/Open
Nitaya_Ch_ch3.pdf1.2 MBAdobe PDFView/Open
Nitaya_Ch_ch4.pdf794.16 kBAdobe PDFView/Open
Nitaya_Ch_ch5.pdf979.03 kBAdobe PDFView/Open
Nitaya_Ch_back.pdf3.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.