Abstract:
สถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำการสอนทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษให้แก่นิสิตชั้นปีที่ 1 มาตั้งแต่ปี 2522 นิสิตฝึกทักษะการฟังในห้องปฏิบัติการทางภาษาโดยใช้แบบเรียนสำหรับเรียนด้ายตนเอง และฝึกทักษะการพูดโดยมีครูสอนในชั้นเรียน ต่อมาเมื่อแนวการสอนภาษาแบบสื่อความหมายเน้นความสำคัญของการสอนภาษาแบบทักษะสัมพันธ์ อาจารย์ของสถาบันภาษากลุ่มหนึ่งดำริที่จะนำการสอนแบบทักษะสัมพันธ์มาใช้ และได้เตรียมบทเรียนการฟังและการพูดแบบทักษะสัมพันธ์ขึ้น จึงได้เสนอโครงการวิจัยทดลองใช้บทเรรียนที่เตรียมขึ้นนั้นสอนทักษะการฟังและการพูดในรูปแบบต่าง ๆ กัน 5 แบบ โดยมีวัตถุประสง๕ที่จะหาข้อสรุปให้ได้ว่า การจัดการสอนแบบใดจะให้ผลดีมากที่สุด เพื่อสถาบันภาษาจะได้ใคร่ใช้ผลของการวิจัยครั้งนี้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนวิชาการฟังและการพูดต่อไป กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คัดเลือกจากนิสิตชั้นปีที่ 1 ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ 4 สาขาวิชาคือ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ สาขาวิชาสังคมศาสตร์ และสาขาวิชามนุษยศาสตร์ จากนั้นใช้วิธีการสุ่มแบบระดับอย่างง่าย 9Simple Stratified Random Sampling) คัดเลือกคณะที่จะทำการทดลองสอนได้ 5 คณะ คือ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี คณะนิเทศศาสตร์และคณะอักษรศาสตร์ ต่อจากนั้นจึงคัดเลือกนิสิตกลุ่มตัวอย่างจากแต่ละคณะ ๆ ละ 5 กลุ่ม เมื่อได้นิสิตกลุ่มตัวอย่างแล้วได้จัดการสอนให้นิสิตกลุ่มตัวอย่างในแต่ละคณะ ๆ ละ 5 แบบ ดังนี้ แบบที่ 1 เรียนการฟังด้วยตนเองในห้องปฏิบัติการทางภาษา 1 ชม. ต่อสัปดาห์ และเรียนการพูดโดยใช้บทเรียนแบบทักษะสัมพันธ์ที่เน้นการฟัง-การพูดอีก 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ แบบที่ 2 เรียนการฟัง-พูด โดยใช้บทเรียนแบบทักษะสัมพันธ์ที่เน้นการฟัง-พูด 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ โดยได้รับเทปบทเรียนการฟังที่มีเนื้อหาเหมือนกับบทเรียนการฟังของสถาบันภาษาไปเรียนด้วยตนเองที่บ้าน แบบที่ 3 เรียนการฟัง-พูด โดยใช้บทเรียนแบบทักษะสัมพันธ์ที่เน้นการฟัง-พูด 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ แบบที่ 4 เรียนการฟังด้วยตนเองในห้องปฏิบัติการทางภาษา 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ในครึ่งแรกของภาคการศึกษา แล้วเรียนการพูดโดยใช้บทเรียนแบบทักษะสัมพันธ์ที่เน้นทักษะการฟัง-การพูด 2 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์ในเครึ่งหลังของภาค แบบที่ 5 เรียนการพูดโดยใช้บทเรียนแบบทักษะสัมพันธ์ที่เน้นการฟัง-พูด 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ในครึ่งแรกของภาคการศึกษา และเรียนการฟังด้วยตนเองในห้องปฏิบัติการทางภาษา 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ในครึ่งหลังของภาค การตัดเลือกนิสิตกลุ่มตัวอย่างให้เรียนแต่ละแบบใช้วิธีจับฉลาก ผู้วิจัยได้ตัดเลือกผู้สอนในโครงการวิจัยทดลอง 5 คน จากอาจารย์ของสถาบันภาษาที่มีประสบการณ์ด้านการสอนการฟังและการพูด การคัดเลือกผู้สอนใช้เกณฑ์ต่าง ๆ ได้แก่ ความทัดเทียมกันทางด้านเพศและวัย ประสบการณ์ด้านการสอน จำนวนปีที่ศึกษาอยู่ในประเทศอังกฤษ สื่อความหมายและผลจากการทดสอบบุคลิกภาพของ Eysenck (Eysenck Personality Inventory, 1968) ผู้สอนทุกคนทำการสอนตามคู่มือครูวิชาการฟัง (Foundation Listening I) และคูมือครูวิชาการพูด (Foundation Oral Communication : Intergrsted Materials) ก่อนทำการสอนทุกครั้ง ผู้สอนทุกคนได้เตรียมการสอนร่วมกันเพื่อให้การสอนเป็นรูปแบบเดียวกัน การเก็บข้อมูลเก็บจากการให้นิสิตกลุ่มตัวอย่างทำแบบทดสอบความสามารถในการใช้ภาษาของสถาบันภาษา (Standardised Proficiency Test Form A, 1975) ทั้งก่อนเรียนและหลังจากเรียนตามแบบที่กำหนด นิสิตกลุ่มตัวอย่างได้ทำแบบทดสอบสัมฤทธิผลด้านการฟังของสถาบันภาษา (Listening Achievement Test, September, 1983) และทำการสอบความสามารถด้านการพูดโดยการสัมภาษณ์ (Interview) โดยใช้เกณฑ์เดียวกับ Foreign Service Institute (FSI) นอกจากนี้ยังให้นิสิตกลุ่มตัวอย่างกรอกแบบทดสอบบุคลิกภาพของ Eysenck (1968) และแบบสอบถาม "เจตคติ" ต่อการเรียนภาษาอังกฤษทั้งด้านการฟังและการพูด ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวข้างต้นปรากฏว่า 1. การจัดการสอนที้ง 5 แบบมิได้ให้ผลสัมฤทธิ์ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตามมีแนวโน้มว่าการสอนแบบที่ 5 จะช่วยให้ผู้เรียนมีสัมฤทธิผลด้านการฟังมากที่สุด ส่วนในด้านการพูด การสอนแบบที่ 2 และ 3 มีแนวโน้มที่จะให้ผลดีกว่าแบบที่ 5, 4 และ 1 ตามลำดับ 2. คะแนนของผลการสอบความสามารถด้านการพูดกับคะแนนสัมฤทธิ์ด้านการฟังมีแนวโน้มที่จะคล้อยตามกัน 3. ผู้เรียนในกลุ่มตัวอย่างมีบุคลิกภาพไม่แตกต่างกัน และบุคลิกภาพของผู้เรียนไม่มีผลต่อความสำเร็จทางด้านการเรียนภาษาอย่างมีนัยสำคัญ