Abstract:
ศึกษาการปนเปื้อนของเชื้อ Staphylococcus aureus ในตัวอย่างน้ำทะเลบริเวณหาดท่องเที่ยว (บางแสน พัทยา ชะอำ และหัวหิน) และในหอยแมลงภู่ (Perna viridis) จากแหล่งเลี้ยงหอย (อ่าวชลบุรี อ่างศิลา ศรีราชา บางตะบูน คลองด่าน และปากแม่น้ำแม่กลอง) โดยเก็บตัวอย่าง 6 ครั้งในระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนพฤศจิกายน 2557 และตรวจวิเคราะห์เชื้อกลุ่ม Staphylococci (Staphylococcus aureus, Staphylococcus hyicus, Staphylococcus intermedius) โดยวิธี Petrifilm พบว่าน้ำทะเลบริเวณหาดหัวหินมีการปนเปื้อนของเชื้อ Staphylococcus aureus สูงที่สุด (เฉลี่ย 2.72x103 CFU/mL) รองลงมาได้แก่ หาดบางแสน หาดพัทยา และหาดชะอำตามลำดับ สำหรับบริเวณแหล่งเลี้ยงหอยแมลงภู่พบว่าปริมาณเชื้อ Staphylococcus aureus ในหอยมีค่าสูงสุดที่แหล่งเลี้ยงหอยบางตะบูน (เฉลี่ย 2.01x103 CFU/g) รองลงมา ได้แก่ ศรีราชา อ่าวชลบุรี อ่างศิลา คลองด่านและปากแม่น้ำแม่กลองตามลำดับ โดยหอยแมลงภู่เกือบทุกตัวอย่างมีการปนเปื้อนสูงกว่าเกณฑ์คุณภาพทางจุลชีววิทยาของอาหารตามประกาศกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ การศึกษาถึงยีนเอนเทอโรท็อกซินจากเชื้อ Staphylococcus aureus ที่คัดแยกได้จากหอยแมลงภู่จากแหล่งเลี้ยง (อ่าวชลบุรี อ่างศิลาและศรีราชา) ทำการศึกษาลักษณะของเชื้อก่อโรค บนอาหารแข็ง Mannitol Salt Agar จากการศึกษาพบเชื้อ Staphylococcus aureus ที่เป็นเชื้อก่อโรคคิดเป็นร้อยละ 40 ของตัวอย่างหอยแมลงภู่ทั้งสามแหล่ง คัดแยกเชื้อก่อโรคทั้งสิ้น 13 โคโลนีเพื่อหายีนเอนเทอโรท็อกซินของเชื้อด้วยวิธีปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรส พบว่ามีเพียงโคโลนีเดียวของเชื้อ Staphylococcus aureus ที่คัดแยกได้จากตัวอย่างหอยแมลงภู่อ่างศิลาในเดือนกันยายนที่มียีน SEA