Abstract:
การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และอำนาจทำนายระหว่างความรู้ ทัศนคติ การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรค การรับรู้ความรุนแรงของโรค การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรค การรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรค พฤติกรรมเกี่ยวกับการจัดการความรู้ แรงสนับสนุนทางสังคม การเปิดรับข่าวสาร และพฤติกรรมกับการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์ ประเทศไทย การวิจัยแบบบรรยายเชิงความสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ อาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์ ในประเทศไทย จำนวน 165 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถามออนไลน์ 8 ส่วน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน และสถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัย
1) ปัจจัยด้านทัศนคติ การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรค การรับรู้ความรุนแรงของโรค การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรค การรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรค พฤติกรรมเกี่ยวกับการจัดการความรู้ แรงสนับสนุนทางสังคม และการเปิดรับข่าวสาร มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมกับการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2) ปัจจัยที่ร่วมกันทำนายพฤติกรรมกับการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ แรงสนับสนุนทางสังคม การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรค และการเปิดรับข่าวสาร โดยสามารถร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 66.7