Abstract:
การศึกษาวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงวิธีการลดต้นทุนการนำเข้าแผ่นยางจากประเทศจีนด้วยวิธีการเปลี่ยน Incoterm จาก FOB เป็น CIF โดยการศึกษาวิจัยนี้แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ การวิเคราะห์เปรียบเทียบต้นทุนรวมโลจิสติกส์ในการนำเข้าสินค้าระหว่างเทอม FOB และ CIF โดยใช้การศึกษาและเก็บข้อมูลต้นทุนรวมโลจิสติกส์ รวมไปถึงการจำลองสถานการณ์เปรียบเทียบ ค่าขนส่งสินค้า 3 กรณีคือ กรณีที่ค่าขนส่งสินค้าเป็นแบบ Best Case FOB เปรียบเทียบกับ CIF, กรณี Worst Case FOB เปรียบเทียบกับ CIF และ Best Case FOB เปรียบเทียบกับ Worst case FOB ส่วนที่สองผู้วิจัยใช้วิธีการกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ (Analytical Hierarchy Process) เพื่อมาวิเคราะห์ปัจจัยในการคัดเลือก Incoterm ในการนำเข้าสินค้าระหว่าง FOB และ CIF โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ผลการศึกษาพบว่า การนำเข้าสินค้าด้วยเทอม FOB มีต้นทุนรวมโลจิสติกส์ที่ต่ำกว่า CIF อยู่ที่ 13% ในส่วนของการจำลองสถานการณ์ค่าขนส่งสินค้าสินค้า 3 แบบพบว่า กรณี Best case FOB เปรียบเทียบกับ CIF พบว่า Best Case FOB มีต้นทุนค่าขนส่งสินค้าที่ต่ำกว่า, กรณี Worst Case FOB เปรียบเทียบกับ CIF พบว่า Worst Case FOB มีต้นทุนค่าขนส่งสินค้าที่สูงกว่า และ กรณี Best Case FOB เปรียบเทียบกับ Worst Case FOB พบว่า Best Case FOB มีต้นทุนค่า ขนส่งสินค้าที่ต่ำกว่า ในส่วนของการวิเคราะห์ปัจจัยเพื่อคัดเลือก Incoterm นั้นปัจจัยหลักที่สำคัญ ที่สุดในการคัดเลือก Incoterm คือ ปัจจัยด้านต้นทุน รองลงมาคือปัจจัยด้านเวลา ปัจจัยด้าน คุณภาพ และกระบวนการดำเนินงานเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญน้อยที่สุด สำหรับทางเลือกในการ เลือก Incoterm โดยที่ Incoterm FOB เป็น Incoterm ที่ผู้เชี่ยวชาญให้คะแนนความสำคัญมากที่สุด