Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์สภาพและระดับการรู้สิ่งแวดล้อมของอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน 2) เพื่อพัฒนากระบวนการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างการรู้สิ่งแวดล้อมสำหรับอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน วิธีดำเนินการวิจัยมีขั้นตอนดังนี้ (1) การวิเคราะห์สภาพและระดับการรู้สิ่งแวดล้อมของอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ อาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน 6 จังหวัด จำนวน 420 คน โดยใช้เครื่องมือแบบสอบถามเรื่องสภาพและระดับการรู้สิ่งแวดล้อมของอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน (2) พัฒนากระบวนการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างการรู้สิ่งแวดล้อมสำหรับอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้านด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการกับกลุ่มตัวอย่างอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้านเขตดุสิต จำนวน 20 คน ใช้แบบสังเกตพฤติกรรมระหว่างการเข้าร่วมกระบวนการ แบบบันทึกผลกระบวนการ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย ส่วนข้อมูลบันทึกผลการเรียนรู้ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย
1) ผลการวิเคราะห์สภาพการรู้สิ่งแวดล้อมที่มีต่อองค์ประกอบ (1) ด้านความรู้ (2) ด้านทักษะ และ(3) ด้านเจตคติ อยู่ในระดับมาก และการวิเคราะห์ระดับการรู้สิ่งแวดล้อมที่มีต่อองค์ประกอบ (1) ด้านความรู้ อยู่ในระดับการวิเคราะห์ผล (2) ด้านทักษะ อยู่ในระดับการนำไปใช้ และ (3) ด้านเจตคติ อยู่ในระดับการวิเคราะห์ผล
2) ผลการพัฒนากระบวนการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างการรู้สิ่งแวดล้อมสำหรับอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน ได้แก่ 6 ขั้นตอนคือ ระบุความต้องการเรียนรู้ กำหนดวัตถุประสงค์ร่วมกัน จากประสบการณ์การทำงานด้านสิ่งแวดล้อม เลือกวิธีการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่จะทำให้บรรลุเป้าหมาย ออกแบบประสบการณ์ในการเรียนรู้ ลงมือปฏิบัติตามสัญญาการเรียนรู้ ประเมินผลการเรียนรู้ และสะท้อนคิดจากที่เรียนรู้ด้วยตนเอง
3) ผลการจัดทำแผนงานการนำกระบวนการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างการรู้สิ่งแวดล้อมสู่การปฏิบัติ ประกอบด้วยกระบวนการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาพื้นที่ร่วมกับเครือข่ายผู้เกี่ยวข้องเพื่อรู้สภาพเบื้องต้นเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ขั้นตอนที่ 2 การวางแผนการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 3 การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 4 การสนับสนุนการเรียนรู้และการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ และขั้นตอนที่ 5 การประเมินผลการเรียนรู้และวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องด้วยประสบการณ์ที่ได้รับ ปัจจัยความสำเร็จในการนำแผนงานกระบวนการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนไปใช้ ได้แก่ 1) หน่วยงานของทุกภาคส่วนในพื้นที่ร่วมกันขับเคลื่อนการดำเนินกิจกรรมตามแผนงาน 2) ความพร้อมในบทบาทผู้อำนวยความสะดวก และ 3) ความร่วมมือของหน่วยงานสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด และเงื่อนไขในแผนงานการนำกระบวนการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนไปใช้ คือ งบประมาณที่ใช้ในการดำเนินงานและความเข้าใจกระบวนการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง