DSpace Repository

การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์และการรวมพลังทำงานเป็นทีมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นโดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน

Show simple item record

dc.contributor.advisor พรเทพ จันทราอุกฤษฎ์
dc.contributor.author อธิวัฒน์ สิมบุตร
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.date.accessioned 2024-02-05T09:54:19Z
dc.date.available 2024-02-05T09:54:19Z
dc.date.issued 2566
dc.identifier.uri https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84151
dc.description วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2566
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน ที่มีต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1  (2) เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน ที่มีต่อสมรรถนะการรวมพลังทำงานเป็นทีมของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ (3) เพื่อศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบรวมพลัง  5 ขั้นตอน ที่ช่วยพัฒนาให้นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์และสมรรถนะการรวมพลังทำงานเป็นทีม โดยเก็บรวมรวมข้อมูลจากแบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ แบบประเมินสมรรถนะการรวมพลังทำงานเป็นทีม แบบบันทึกหลังสอนของครู และแบบบันทึกอนุทินของนักเรียน กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 39 คน สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ สถิติทดสอบทีแบบไม่อิสระต่อกันและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) นักเรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 (2) ผลการประเมินสมรรถนะการรวมพลังทำงานเป็นทีมเพิ่มขึ้นและ (3) เมื่อจบวงจรปฏิบัติการ พบว่านักเรียนที่มีผลการประเมินอยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 94.87 และระดับดี คิดเป็นร้อยละ 5.13 สำหรับแนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการเรียนรู้คือ (3.1) ครูควรใช้คำถามให้นักเรียนทราบถึงความถนัดของตนเองที่มีต่อภาระงานเพื่อเอื้อให้นักเรียนที่มีความถนัดต่างกันได้มีโอกาสเป็นผู้นำในกิจกรรมที่แตกต่างกัน (3.2) ครูใช้สถานการณ์เชิงอุปมาอุปมัยที่น่าสนใจให้นักเรียนเปรียบเทียบและรวมพลังสร้างชิ้นงาน ทำให้นักเรียนช่วยกันคิดวิเคราะห์โดยใช้การรวมพลังทำงานเป็นทีม (3.3) ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเลือกสมาชิกและเปลี่ยนบทบาทหน้าที่ในกลุ่มจะช่วยให้นักเรียนมีความเป็นผู้นำและผู้ตามได้ดีขึ้น (3.4) ใช้กระดาษโน้ตในการเขียนระดมความคิด จะช่วยให้นักเรียนกล้าจะแสดงความคิดเห็นและวางแผนร่วมกัน (3.5) ครูควรจัดกิจกรรมให้แต่ละทีมแข่งขันกันโดยมีการเสริมแรงทางบวก และการทดสอบท้ายคาบเป็นทีมและ (3.6) ครูควรให้นักเรียนร่วมกันสร้างชิ้นงานและนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน เพราะทำให้นักเรียนช่วยกันคิดวิเคราะห์โดยใช้การรวมพลังทำงานเป็นทีม
dc.description.abstractalternative The purposes of this study were to (1) investigate the effects of using a 5-step collaborative learning process for enhancing the analytical thinking ability of Mathayom 1 student, (2) investigate the effects of using a 5-step collaborative learning process on the teamwork and collaboration of Mathayom 1 students, and (3) study the good practices using the 5-step collaborative learning process for enhancing the analytical thinking ability and teamwork and collaboration of Mathayom 1 students. Data were collected using an analytical thinking ability test, a teamwork and collaboration assessment, a post-teaching recording form for the teacher, and student diary forms. The target group consisted of 39 Mathayom 1 students. The research found that after using the 5-step collaborative learning process, students had a higher level of analytical thinking ability at the .05 level of significance. At the end of the study, most students (94.87%) had teamwork and collaboration score at "very good" level while the rest of them (5.13%) were at "good" level. The results showed that effective learning management practices need prompting questions for reflecting students individual strengths and capabilities in handling tasks. This facilitates an environment where students with different strengths have the opportunity to take leadership roles in various activities. Using intriguing and stimulating situations, students are encouraged to compare and collaborate, fostering the creation of  models. This enables students to collectively analyze and think by harnessing teamwork. Involving students in the selection of team members and the rotation of roles within groups further enhances their leadership and follower capabilities. Utilizing notepads for idea generation encourages students to express their thoughts and plan collaboratively. Teachers should organize competitive activities among teams with positive reinforcement and team assessments at the end of sessions, and  teachers should encourage students to collaboratively create projects and present their work in the classroom. This helps students to collectively engage in analytical thinking and teamwork.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Social Sciences
dc.subject.classification Education
dc.subject.classification Education science
dc.title การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์และการรวมพลังทำงานเป็นทีมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นโดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน
dc.title.alternative Development of analytical thinking ability and teamwork and collaboration of lower secondary students using 5 steps collaborative learning process
dc.type Thesis
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การศึกษาวิทยาศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record