Abstract:
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการแบ่งปันอาหารส่วนเกินในครัวเรือนมุสลิมเพื่อลดปัญหาขยะอาหาร และเสนอแนะเป็นแนวทางการแบ่งปันอาหารส่วนเกิน กรณีศึกษา ชุมชนสวนหลวง 1 ประกอบด้วยปัจจัยด้านความรู้ ด้านทัศนคติ ด้านการปฏิบัติ ด้านความเชื่อทางศาสนา และด้านแนวทางการแบ่งปันอาหารส่วนเกินของชุมชน โดยใช้เทคนิคการวิจัยเชิงปริมาณทำการเก็บแบบสอบถามปลายปิดจากครัวเรือนมุสลิมในชุมชนสวนหลวง 1 จำนวน 92 ครัวเรือน ที่คำนวณจากโปรแกรม G*Power ทำการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงในครัวเรือนมุสลิมและอาศัยการเก็บแบบสอบถามตามความสะดวกหรือความบังเอิญ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย (1) สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลครัวเรือนและลักษณะทางประชากรศาสตร์ (2) สถิติเชิงอนุมาณ ใช้วิธี Stepwise Multiple Regression Analysis เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยที่มีผลต่อการแบ่งปันอาหารส่วนเกินในครัวเรือนมุสลิม ชุมชนสวนหลวง 1
ผลการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการแบ่งปันอาหารส่วนเกินในครัวเรือนมุสลิมทั้ง 5 ด้าน พบว่า ด้านความรู้เกี่ยวกับสาเหตุและแนวทางแก้ไขการเกิดอาหารส่วนเกินและขยะอาหาร กลุ่มตัวอย่างสามารถตอบถูกเกินร้อยละ 70 ในขณะที่ความหมายของอาหารส่วนเกินและผลกระทบของขยะอาหารต่อสิ่งแวดล้อมกลุ่มตัวอย่างสามารถตอบถูกได้ต่ำกว่าร้อยละ 50 ด้านทัศนคติและด้านการปฏิบัติโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านความเชื่อทางศาสนาและด้านแนวทางการแบ่งปันอาหารส่วนเกินของชุมชนอยู่ในระดับมาที่สุด สำหรับการวิเคราะห์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการแบ่งปันอาหารส่วนเกิน พบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลมากที่สุด 2 ด้าน ได้แก่ (1) การเพิ่มปัจจัยด้านแนวทางการแบ่งปันอาหารส่วนเกินของชุมชน เรื่องการจัดกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับอาหารส่วนเกินและขยะอาหาร (2) การลดปัจจัยด้านทัศนคติ เรื่องการแยกขยะอาหารก่อนทิ้งไม่ช่วยแก้ปัญหาขยะอาหาร โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอย (β) เท่ากับ 2.125 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .01