Abstract:
ความต้องการพลังงานไฟฟ้าภายในประเทศไทยมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลทำให้ระบบไฟฟ้าโดยรวมต้องมีการเสริมสร้างและพัฒนาความน่าเชื่อถือให้สามารถรองรับกับความต้องการทั้งหมดที่จะเกิดขึ้นได้และพลังงานทางเลือกที่จะมีเพิ่มมากขึ้นในอนาคต โดยสถานีไฟฟ้าแรงสูงนั้นเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของระบบไฟฟ้าเพราะเป็นจุดเชื่อมโยงของระบบไฟฟ้าและจุดจ่ายกำลังไฟฟ้าให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้า ซึ่งต้องสามารถการจ่ายไฟฟ้าได้อย่างเพียงพอกับความต้องการโดยรวมของทั้งประเทศ
งานศึกษาวิจัยนี้ได้ศึกษาวิเคราะห์หลักการหาต้นทุนทั้งหมดตลอดอายุโครงการโดยใช้ทฤษฎีการหาต้นทุนตลอดช่วงอายุหรือ Life Cycle Cost (LCC) เป็นหลักการเชิงเศรษฐศาสตร์ ที่วิเคราะห์มูลค่าการลงทุนต่าง ๆ ได้แก่ มูลค่าการลงทุนเริ่มต้น มูลค่าการดำเนินการและบำรุงรักษา และมูลค่าอันเกิดจากไฟฟ้าดับ เป็นต้น เพื่อออกแบบรูปแบบจำลองโดยมีสถานีไฟฟ้าแรงสูงที่จังหวัดระยองเป็นต้นแบบ ซึ่งการศึกษาวิจัยกรณีนี้ได้ทำการวิเคราะห์พิจารณารูปแบบการจัดวางบัสบาร์ส่วนใหญ่ที่ใช้ในประเทศไทยทั้งหมด 7 รูปแบบ ได้แก่ Single bus, Single bus with sectionalized, Main and transfer bus, Breaker and a half bus, Ring bus, Double bus with transfer, Double bus single breaker และ Double bus double breaker เป็นต้น โดยได้ยกตัวอย่างเปรียบเทียบถ้ามูลค่าการดำเนินการและซ่อมบำรุงรักษาเปลี่ยนไปแล้ว พบว่าถ้ากำหนดให้มูลค่าการดำเนินการและซ่อมบำรุงรักษามีค่าร้อยละ 3, 4 และ 5 ของมูลค่าการลงทุนจะสามารถหา Life Cycle Cost ได้เท่ากับ 34 ,31 และ 29 ปี ตามลำดับ