Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10001
Title: การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเสนารักษ์ กรมแพทย์ทหารบก
Other Titles: The academic administration of the Medical Field Service School under the Army Medical Department
Authors: กนิษฐา โชติปัทมนนท์
Advisors: สนานจิตร สุคนธทรัพย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Snanchit.S@chula.ac.th
Subjects: โรงเรียนเสนารักษ์
การบริหารงานวิชาการ
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเสนารักษ์ กรมแพทย์ทหารบก ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารงานวิชาการในภาพรวม โรงเรียนไม่มีนโยบายหรือลักษณะเฉพาะในการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนมีการวางแผนงานวิชาการและอาจารย์มีส่วนร่วมในการวางแผนโดยการร่วมประชุมระดมสมอง การประเมินผลความสำเร็จในการบริหารงานวิชาการใช้การตรวจสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน และสอบถามความคิดเห็นจากอาจารย์ผู้สอนโรงเรียนไม่มีการกำหนดนโยบายด้านคุณภาพ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ไม่มีผลกระทบต่อโรงเรียน โรงเรียนมีความพร้อมมากที่จะดำเนินการให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาฯ 2) จุดมุ่งหมายทางการศึกษาของโรงเรียน คือ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถให้กับกำลังพลเหล่าทหารแพทย์ และเพื่อผลิตนักเรียนนายสอบเหล่าทหารแพทย์ 3) การบริหารงานด้านหลักสูตร โรงเรียนมีการกำหนดนโยบายด้านหลักสูตรตามนโยบายของกรมยุทธศึกษาทหารบกโดยให้มีความสอดคล้องกับวิชาชีพ หลักสูตรที่โรงเรียนใช้เป็นหลักสูตรที่สร้างขึ้นเองโดยได้รับอนุมัติจากกรมยุทธศึกษาทหารบก การประเมินหลักสูตรใช้การสอบถามจากผู้ที่จบการศึกษา และสอบถามจากผู้บังคับบัญชาของผู้ที่จบการศึกษา 4) การจัดการเรียนการสอน โรงเรียนจัดแผนการเรียนตามโครงสร้างของหลักสูตร จัดตารางสอนตามความเหมาะสมของเนื้อหาวิชาที่สอน จัดครูเข้าสอนตามความถนัด แบ่งกลุ่มนักเรียนแบบคละ จัดหาแบบเรียนโดยจัดทำแบบเรียนขึ้นเองและจัดหาโดยงบประมาณของทางราชการ และติดตามประเมินผลการจัดการเรียนการสอนโดยให้นักเรียนประเมินอาจารย์ 5) การบริหารสื่อการเรียนการสอน การจัดหาสื่อการเรียนการสอน ได้รับการสนับสนุนจากหน่วราชการอื่น จัดหาโดยใช้เงินงบประมาณ ให้อาจารย์แต่ละคนผลิตขึ้นเอง และได้รับการสนับสนุนจากศิษย์เก่า การประเมินการใช้สื่อการเรียนการสอน ให้นักเรียนประเมินการใช้สื่อ และอาจารย์เป็นผู้ประเมิน แหล่งความรู้ของโรงเรียน คือ ห้องสมุด ห้องสาธิตทางการพยาบาล และห้องปฏิบัติการทางภาษา การประเมินผลการใช้แหล่งความรู้ คือ ประเมินจากสถิติผู้มาใช้แหล่งความรู้ 6) การนิเทศการสอนใช้วิธีการประชุมก่อนเปิดหลักสูตรแต่ละหลักสูตร ให้คำปรึกษาหารือแก่อาจารย์ และจัดอาจารย์ที่มีประสบการณ์สาธิตการสอน การประเมินผลการนิเทศการสอน ใช้การสังเกตพฤติกรรมการสอนของอาจารย์และพฤติกรรมของนักเรียน 7) การบริหารงานการวัดและประเมินผล การดำเนินงานเกี่ยวกับการวัดและประเมินผล มีการกำหนดเกณฑ์การประเมิน กำหนดวิธีการประเมิน จัดทำสถิติเกี่ยวกับการประเมินผลนักเรียนและกำหนดให้มีการรายงานผลเป็นระยะ โรงเรียนไม่มีการประเมินการดำเนินการด้านการวัดและประเมินผล ปัญหาการบริหารงานวิชาการ พบว่า ปัญหาในภาพรวม คือ ขาดแคลนงบประมาณ ปัญหาด้านการจัดการเรียนการสอน ได้แก่ อาจารย์มีความรู้ความเข้าใจ และทักษะในการสอนไม่เพียงพอ ปัญหาการบริหารสื่อการเรียนการสอน ได้แก่ สื่อการเรียนการสอนส่วนใหญ่ไม่ทันสมัยและขาดประสิทธิภาพ และขาดงบประมาณในการจัดหาสื่อการเรียนการสอน ปัญหาการนิเทศการสอน คือ ไม่มีรูปแบบการนิเทศที่ชัดเจน และไม่มีการนิเทศภายในโรงเรียน ปัญหาการบริหารงานการวัดและประเมินผล ได้แก่ ไม่มีการวิเคราะห์ข้อสอบ และเครื่องมือในการวัดและประเมินผลไม่มีมาตรฐาน
Other Abstract: The purpose of this research was to study the state and problems of the academic administration of The Medical Field Service School under the Army Medical Department. The study revealed that :1) Overall academic administration. There was no school written policy statement for academic administration. The school conducted planning in academic administration, using brainstorming technique. Evaluation for academic administration was measured from student achievement and the survey of instructors' opinion. There was no school quality policy. The National Education Act of B.E. 2542 (1999) had no effect on school. The school had high level of readiness to follow the Act. 2) Aims of education. The school objectives were to increase knowledge and capability of military medical personnel and to produce non-commission officers. 3) Curriculum administration. School curriculum policy followed the policy of the Army Training Command which emphasized proper integration with health professional field. The school developed its own curricula with the approval of the Army Training Command. Curricula were evaluated by the graduates and their commanders, using questionnaires. 4) Instruction. Programs of study were organized according to curriculum structure. Timetable was arranged in congruence with subject content. Instructors were assigned depending on individual aptitude. Students were grouped heterogeneously. Textbooks were written by instructors and purchased by government budget. Instruction was evaluated by students. 5) Instruction media administration. Instructional media were partly provided by other government agencies, purchased by government budget, produced by instructors and donated by alumni. Both students and instructors evaluated utilization of instruction media. A library, a nursing demonstration room and a language laboratory were provided as learning centers. Utilization was evaluted from the number of students and instructors using services. 6) Instructional supervision. instructional supervision was conducted before starting each program by organizing a meeting with all instructors, providing consultation with responsible instructors and assigning experienced instructors to demonstrate teaching techniques. Observation of instructors as well as students was used for supervision evaluation. 7) Measurement and evaluation administration. Evaluation standard and methodology were established. Information on student performance was collected and regular reporting was performed. There was no evaluation of measurement and evaluation administration. Problems of academic administration included lack of budget; lack of knowledge, understanding and skills in teaching; out-dated, insufficient and low quality instructional media; lack of budget to purchase instructional media; lack of evident supervision pattern and internal supervision; and lack of test item analysis and standardized evaluation instruments.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10001
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1999.518
ISBN: 9743345213
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1999.518
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kanittha_Ch_front.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open
Kanittha_Ch_ch1.pdf988.5 kBAdobe PDFView/Open
Kanittha_Ch_ch2.pdf2.56 MBAdobe PDFView/Open
Kanittha_Ch_ch3.pdf798.33 kBAdobe PDFView/Open
Kanittha_Ch_ch4.pdf4.02 MBAdobe PDFView/Open
Kanittha_Ch_ch5.pdf1.39 MBAdobe PDFView/Open
Kanittha_Ch_back.pdf1.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.