Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10014
Title: | ความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยด้านบุคคล สถานที่ที่ผู้ป่วยอยู่ขณะเกิดอาการ ประสบการณ์เกี่ยวกับอาการ และระยะเวลาก่อนมารับการรักษาในโรงพยาบาล ของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน |
Other Titles: | Relationships between personal factors, setting where symptom occurred, symptom experiences, and prehospital phase of acute myocardial infarction patients |
Authors: | อรมณี ช้างชายวงศ์ |
Advisors: | ชนกพร จิตปัญญา จริยา ตันติธรรม |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
Advisor's Email: | Chanokporn.J@Chula.ac.th ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | กล้ามเนื้อหัวใจตาย กล้ามเนื้อหัวใจตาย -- ผู้ป่วย |
Issue Date: | 2545 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านบุคคล สถานที่ที่ผู้ป่วยอยู่ขณะเกิดอาการ ประสบการณ์เกี่ยวกับอาการ กับระยะเวลาก่อนมารับการรักษาในโรงพยาบาลของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย เฉียบพลัน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยอายุร กรรม และ ซี.ซี.ยู ใน โรงพยาบาลของรัฐในเขตกรุงเทพมหานคร 8 แห่ง ทั้งเพศชายและหญิง อายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป และ ยินยอมให้ความร่วมมือในการวิจัย จำนวน 150 ราย เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลปัจจัยด้านบุคคล สถานที่ที่ผู้ป่วยอยู่ขณะเกิดอาการ และระยะเวลาก่อนมารับ การรักษาในโรงพยาบาล และแบบสัมภาษณ์ประสบการณ์เกี่ยวกับอาการของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบ พลัน โดยเครื่องมือที่ใช้ได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา และหาความเที่ยงของแบบสัมภาษณ์ประสบการณ์เกี่ยวกับอาการโดยการหาค่า สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.76 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบไคสแควร์ สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ ประสบการณ์เกี่ยวกับอาการของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน มีความสัมพันธ์กับระยะเวลาก่อนมารับการรักษาในโรงพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .05 |
Other Abstract: | The purpose of this research was to study the relationships between personal factors, setting where symptom occurred, symptom experiences and prehospital phase of AMI patients. The subjects were 150 AMI patients admitted at medical wards and coronary care units of 8 governmental hospitals in Bangkok. The patients were male and female, 20 years old and over, and all voluntarily participated in the study. Data were collected by using the following instruments: personal factor data, setting where symptom occurred data and prehospital phase data form, and symptom experiences questionnaire. The reliability of the instrument was 0.76. Statistical techniques used in data analysis were mean, standard deviation, and Chi-Square test. The findings was as follows: There was a correlation between symptom experiences and prehospital phase of AMI patients at the significant level of .05. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 |
Degree Name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พยาบาลศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10014 |
ISBN: | 9741730977 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Ormanee.pdf | 636.19 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.