Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10028
Title: ปัญหาผลบังคับจากข้อสัญญาที่ให้สัญญาเลิกกันเพราะเหตุล้มละลาย (Ipso Facto clause)
Other Titles: Problems arising out of Ipso Facto clause
Authors: เธียรวิทย์ ชัยชูลี
Advisors: มานิตย์ จุมปา
วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Manit.J@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ล้มละลาย
ข้อสัญญาที่ให้สัญญาเลิกกันเพราะเหตุล้มละลาย
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ข้อสัญญาที่ให้สัญญาเลิกกันเพราะเหตุล้มละลาย หรือ Ipso Facto Clause เป็นข้อสัญญาซึ่งระบุกรณีเหตุผิดสัญญาซึ่งให้สิทธิแก่คู่สัญญาในการเลิกสัญญาได้โดยไม่มีเงื่อนไขหรือเร่งบังคับตามสัญญาได้ เหตุผิดสัญญาดังกล่าวรวมถึงกรณีการยื่นขอเข้าสู่กระบวนการล้มละลาย, การฟื้นฟูกิจการ, การตั้งผู้แทนผู้ล้มละลาย, หรือแม้แต่สิ่งซึ่งอาจแสดงว่าลูกหนี้กำลังประสบปัญหาทางการเงิน ซึ่งเมื่อเกิดข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุแห่งการผิดสัญญาดังกล่าว ทำให้คู่สัญญามีสิทธิที่จะเลิกสัญญาได้ตามข้อสัญญาที่ตกลงกันไว้ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงแนวความคิดทางกฎหมายเกี่ยวกับผลบังคับของข้อสัญญาที่ให้สัญญาเลิกกันเพราะเหตุล้มละลาย ตลอดจนหลักเกณฑ์ และกระบวนการในการจัดการกับสัญญาที่มีข้อสัญญาดังกล่าวทั้งในการล้มละลายและการฟื้นฟูกิจการ ตามกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศทั้งที่ยอมรับและไม่ยอมรับหลักการของข้อสัญญาดังกล่าว จากการศึกษาพบว่าข้อสัญญาที่ให้สัญญาเลิกกันเพราะเหตุล้มละลาย หรือ Ipso Facto Clause มีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมายไทย จึงเป็นปัญหาและอุปสรรคในการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ และต่อความสำเร็จของการฟื้นฟูกิจการ ดังนั้น การวิจัยเรื่องนี้จึงได้เสนอแนะ ปรับปรุง แก้ไข กฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถจัดการกับสัญญาที่มีข้อสัญญาที่ให้สัญญาเลิกกันเพราะเหตุล้มละลายได้อย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพมากขึ้น และเป็นธรรมกับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
Other Abstract: Ipso Facto clause is a contract clause that gives rights to a party to unconditionally terminate or accelerate the contract upon the other party's bankruptcy. The meaning of bankruptcy may include the occurring of the following incidents: filing for bankruptcy, reorganization, appointing of a bankruptcy's representative, or even the incidents showing that the debtor is facing a financial difficulties. The occurrence of the said incidents triggers the rights of the other party of the contract to terminate the contract as agreed in the Ipso Facto clause. The purpose of this research is to study the legal concept on the consequences of Ipso Facto clause, including regulations and procedures to manage such a clause in bankruptcy and in reorganization, under the Thai laws, and laws in foreign countries, both the countries that adopt and not adopt the concept of Ipso Facto clause. The study found that Ipso Facto clause is enforceable under Thai Bankruptcy Law. Thus, it causes the problems relating to the administration of debtor's estate and to the reorganization. The study, therefore, provides suggestion, improvement, and amendment on related laws in order to treat the Ipso Facto clause properly, effectively, and fairly to related parties.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10028
ISBN: 9741746199
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thienwit.pdf1.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.