Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10039
Title: การศึกษาการใช้แหล่งวิทยาการในชุมชนประกอบการเรียนการสอนวิชาชีววิทยาในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 10
Other Titles: A study of the utilization of community resources in biology instruction in secondary schools under the Jurisdiction of the Department of General Education, Educational Region Ten
Authors: นิจพร สุขสวัสดิ์อำนวย
Advisors: อลิศรา ชูชาติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Alisara.C@chula.ac.th
Subjects: ครูชีววิทยา
ชีววิทยา -- การศึกษาและการสอน
แหล่งความรู้ในชุมชน
ภูมิปัญญาชาวบ้าน
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้แหล่งวิทยาการในชุมชนประกอบการเรียนการสอนวิชาชีวิทยาในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 10 ตัวอย่างประชากร คือ ครูชีววิทยาที่สอนในโรงเรียนมัธยมศึกษาจำนวน 235 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) แหล่งวิทยาการในชุมชนที่ครูส่วนใหญ่ใช้แบ่งตามประเภทได้ดังนี้ (1.1) ประเภทที่เป็นบุคคล ได้แก่ อาจารย์จากโรงเรียนมัธยมศึกษาอื่น และนักวิชาการจากหน่วยงานทางด้านสาธารณสุข (1.2) ประเภทที่เป็นสถานที่ ได้แก่ แหล่งน้ำธรรมชาติ และห้องสมุด (1.3) ประเภทที่เป็นวัสดุ อุปกรณ์ ได้แก่ วัสดุที่มีในธรรมชาติ เช่น ดอกไม้ พืชดอกและแมลง (1.4) ประเภทที่เป็นกิจกรรม ได้แก่ การแข่งขันการตอบปัญหาทางวิทยาศาสตร์ นิทรรศการทางวิทยาศาสตร์และการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ส่วนระดับของการใช้ พบว่า การใช้แหล่งวิทยาการในชุมชนทุกประเภทของครูส่วนใหญ่นั้นอยู่ในระดับน้อย 2) วัตถุประสงค์ในการใช้แหล่งวิทยาการในชุมชนมุ่งเน้นพัฒนานักเรียนในด้านความรู้เป็นลำดับแรก รองลงไปเป็นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เจตคติต่อวิทยาศาสตร์และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ตามลำดับ 3) ขั้นตอนการใช้แหล่งวิทยาการในชุมชน ครูมีการสำรวจและค้นหาแหล่งวิทยาการในชุมชนและมีแนวทางการเลือกใช้โดยคำนึงถึงจุดประสงค์การเรียนรู้ ความประหยัด ความสะดวก ประสิทธิภาพและคุณสมบัติของแหล่งวิทยาการ 4) ปัญหาการใช้แหล่งวิทยาการในชุมชน ได้แก่ ขาดข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งวิทยาการในชุมชน ขาดงบประมาณ แหล่งวิทยาการบางประเภทมีน้อย บางประเภทมีความยุ่งยากในการใช้ 5) ข้อเสนอแนะในการใช้แหล่งวิทยาการในชุมชน ได้แก่ ควรมีการรวบรวมรายชื่อแหล่งวิทยาการในชุมชนและอบรมให้ครูมีความรู้ในการใช้แหล่งวิทยาการในชุมชน ครูที่ต้องการใช้แหล่งวิทยาการในชุมชนควรชี้แจงให้นักเรียนและผู้ปกครองเข้าใจความจำเป็นในการใช้ และมีการวางแผนการใช้อย่างรอบคอบ
Other Abstract: The purpose of this research was to study the utilization of community resources in biology instruction in secondary schools under the jurisdiction of the Department of General Education, education region ten. The sample used in this research were 235 secondary school biology teachers. The data were collected by means of questionnaires and structured interviewed. The obtained data were analyzed by means of percentage, arithmetic mean and content analysis. The research findings were as follows: 1) The community resources used by most teachers in each category were (1.1) Persons: such as teachers from other secondary schools and academics from public health sector. (1.2) Places: such as natural water sources and libraries (1.3) Materials and equipment: such as natural materials such as flowers, plants and insects (1.4) Activities: such as science quiz competitions, science exhibitions and science project contests. It was found that most community resources were used at the low level. 2) The objectives of the utilization of community resources focused on students' knowledge, science process skills, attitude towards science and scientfic attitude respectively. 3) In the process of the utilizing community resources, most teachers surveyed and searched out community resources by themselves and selected those resources based on learning objectives, economization, convenience, efficency and qualification of those resources. 4) The problems in utilizing community resources were as follows: lacked of information concerning community resources, inadequate budget, inadequate and complicated utilization process in some community resources. 5) The suggestion of the utilization of community resources were as follows: There should have list of community resources and provide training for teacher in this respect. The teachers who wanted to use community resources should explain the necessity to students and their parents and planned carefully.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การศึกษาวิทยาศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10039
ISBN: 9743315837
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nidjaporn_Su_front.pdf1.17 MBAdobe PDFView/Open
Nidjaporn_Su_ch1.pdf1.16 MBAdobe PDFView/Open
Nidjaporn_Su_ch2.pdf2.61 MBAdobe PDFView/Open
Nidjaporn_Su_ch3.pdf877.42 kBAdobe PDFView/Open
Nidjaporn_Su_ch4.pdf1.51 MBAdobe PDFView/Open
Nidjaporn_Su_ch5.pdf1.3 MBAdobe PDFView/Open
Nidjaporn_Su_back.pdf2.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.