Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10056
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวศิน พุทธารี-
dc.contributor.advisorนวพรรณ จานุรักษ์-
dc.contributor.authorสุเทพ เทอดอุดมธรรม-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2009-08-14T01:21:46Z-
dc.date.available2009-08-14T01:21:46Z-
dc.date.issued2544-
dc.identifier.isbn9740316387-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10056-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงผลของยาอะโทรวาสเตตินขนาดสูงต่อระดับซีรีแอกทีพโปรตีนในพลาสมาของผู้ป่วยหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดอันสเตเบิล แองไจนาในช่วงเวลา 30 วันแรก วิธีการวิจัย ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดอันสเตเบิล แองไจนาที่มาด้วยอาการเจ็บหน้าอกนานกว่า 20 นาที และมีคลื่นหัวใจเปลี่ยนแปลงเป็นลักษณะของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและ/หรือมีระดับโทรโพนินทีสูงกว่า 0.1 นก./ดล. โดยผู้ป่วยทุกคนจะได้รับการรักษาตามมาตรฐานการรักษาของโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หลังจากนั้นจะถูกแบ่งเป็น 2 กลุ่มโดยวิธีการสุ่ม โดยกลุ่มหนึ่งจะได้ยาอะโทรวาสเตติน 40 มก./วัน อีกกลุ่มหนึ่งได้ยาหลอก ผู้ป่วยจะได้รับการเจาะเลือดเพื่อตรวจหาระดับ ซีอาร์พี ในวันที่ 1, 3, 7 และ 30 ของการแสดงอาการเพื่อดูแนวโน้มของค่าซีอาร์พีของทั้งสองกลุ่มแล้วเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของค่าซีอาร์พีในวันที่ 30 ของกลุ่มที่ได้ยาอะโทรวาสเตตินกับกลุ่มที่ได้ยาหลอกรวมทั้งติดตามดูอาการของผู้ป่วยเป็นเวลา 30 วันว่ามีการตาย การเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดซ้ำ และการได้รับการรักษาโดยการขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูน หรือผ่าตัดต่อหลอดเลือด ผลการวิจัย การวิจัยประกอบด้วยผู้ป่วย 51 คน ได้รับยาอะโทรวาสเตติน 27 คน ได้รับยาหลอก 24 คน เป็นผู้ชาย 32 คน และผู้หญิง 19 คน โดยมีผู้ป่วย 35 คนที่ได้รับการตรวจค่าซีอาร์พีครบทั้งในวันที่ 1 และ 30 พบว่าค่าเฉลี่ยของค่าซีอาร์พีในวันที่ 1 ของทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน แต่ค่าเฉลี่ยของค่าซีอาร์พีในวันที่ 30 ของทั้งสองกลุ่มแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยกลุ่มที่ได้ยาอะโทรวาสเตตินจะมีค่าเฉลี่ยของค่าซีอาร์พีในวันที่ 30 (0.28 มก./ดล.) น้อยกว่าค่าเฉลี่ยซีอาร์พีของกลุ่มยาหลอก (0.73 มก./ดล.) และกลุ่มที่ได้ยาอะโทรวาสเตตินจะมีค่าเฉลี่ยของค่าซีอาร์พีลดลงมากกว่ากลุ่มที่ได้ยาหลอก โดยลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.039) ส่วนการติดตามดูอาการผู้ป่วยในเวลา 30 วัน พบว่าการตาย การเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดซ้ำ และการได้รับการรักษาโดยการขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูน หรือผ่าตัดต่อหลอดเลือดทั้งสองกลุ่มพบว่าใกล้เคียงกัน สรุป การให้ยาอะโทรวาสเตตินในขนาด 40 มก./วันในผู้ป่วยที่มีอาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดชนิดอันสเตเบิล แองไจนา มีผลทำให้ระดับซีรีแอกทีพโปรตีนในพลาสมาในวันที่ 30 ลดลงมากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ยา โดยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติen
dc.description.abstractalternativeObjective: The study is to examine the anti-inflammatory effect, determined by the change in the level of CRP, of early administration of atorvastatin 40 mg/d to the patients with unstable angina, as compared with placebo. Method: Patients with unstable angina, defined as patients with chest pain longer than 20 minutes, together with either ischemic ECG change or elevated cardiac troponin-T, were randomized to received atorvastatin 40 mg/d or placebo, in addition to conventional treatment. Blood sample for CRP essay were collected on day 1, 3, 7, and 30. Primary endpoint is the difference in mean CRP level at day 30 between atorvastatin group and placebo group. Results: There were 51 patients enrolled into the study, 32 men and 19 women, mean age of 62.4 years, 27 patients were randomized to receive atorvastatin. Thirty-five patients had CRP essay completed both on day 1 and day 30 . Mean CRP level at day 1 were not different between the two group (1.67 mg/dl in atorvastatin group and 1.47 mg/dl in placebo group, p=0.76). At day 30, mean CRP in atrovastatin group was 0.28 mg/dl (83.26% reduction from day 1, p=0.03) and in placebo group was 0.73 mg/dl (50.25% reduction from day 1, p=0.06) The mean CRP level at day 30 were statistically difference between atorvastatin and placebo group (0.28 vs 0.73 mg/dl, p=0.039). Conclusions: Serum level of CRP in patients with unstable angina decreased over the first 30 days period. The level of CRP in patients who received early high-dose atorvastatin has decreased to a greater extent at day 30 and statistically lower than that of the placebo group.en
dc.format.extent507956 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectหลอดเลือดโคโรนารีย์ -- โรค -- การรักษาด้วยยาen
dc.subjectหลอดเลือดหัวใจ, โรคen
dc.titleผลของยาอะโทรวาสเตตินขนาดสูงต่อระดับซีรีแอกทีพโปรตีนในพลาสมา ของผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดอันสเตเบิลแองไจนาen
dc.title.alternativeEffect of high dose atorvastatin on plasma concentration of C-reactive protein in patients with unstable anginaen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineอายุรศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorWacin.B@Chula.ac.th  -
dc.email.advisorNavapun.C@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suthep.pdf496.05 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.