Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10060
Title: การพัฒนาระบบการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการผลิตชิ้นงานสามมิติโดยใช้พาราโซลิดเคอร์เนล
Other Titles: Development of A 3-D CAM system based on the parasolid kernel
Authors: สุกิจ วรรณโสภณกุล
Advisors: วิบูลย์ แสงวีระพันธุ์ศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: viboon.s@eng.chula.ac.th, Viboon.S@Chula.ac.th
Subjects: คอมพิวเตอร์ช่วยการออกแบบ
คอมพิวเตอร์ช่วยการผลิต -- โปรแกรมคอมพิวเตอร์
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์ช่วยการผลิตโดยใช้พาราโซลิด เคอร์เนล ข้อมูลหลักของแบบจำลองโซลิดที่นำมาใช้งานจะอยู่ในรูปแบบพาราโซลิด เอ็กซ์ที ซอฟท์แวร์ที่พัฒนาขึ้นสามารถทำงานร่วมกับแบบจำลองโซลิดที่สร้างจากซอฟท์แวร์ซียูโซลิด หรือซอฟท์แวร์อื่นๆ ที่ใช้รูปแบบพาราโซลิด เอ็กซ์ที ในการเก็บข้อมูล สามารถคำนวณและสร้างเส้นทางเดินของหัวกัดจากแบบจำลองโซลิดที่เลือก แล้วสร้างรหัสจีจากเส้นทางเดินของหัวกัดสำหรับใช้ในการควบคุมเครื่องซีเอ็นซี สามารถทำงานกัดหยาบและกัดละเอียดได้โดยใช้วิธีการกัด 5 แบบ ได้แก่ งานเจาะ งานกัดหยาบ 2 แกน งานกัดคอนทัวร์ 2 แกน งานกัดหยาบ 3 แกน และงานกัดคอนทัวร์ 3 แกน สามารถแสดงภาพจำลองการกัดของวิธีการกัดทั้ง 5 แบบได้ในแบบภาพเคลื่อนไหว จากการทดลองกัดชิ้นงานด้วยเครื่องกัดซีเอ็นซี 3 แกนโดยใช้ระบบควบคุมของฟานัค เอ็ม 15 เอ ทดสอบหาค่าความผิดพลาดของชิ้นงานเทียบกับแบบจำลองโซลิดพบว่า งานเจาะมีค่าความผิดพลาดอยู่ในช่วง 25 ถึง 29 ไมครอน งานกัดคอนทัวร์ 2 แกนมีค่าความผิดพลาดอยู่ในช่วง 23 ถึง 66 ไมครอน และงานกัดคอนทัวร์ 3 แกนมีค่าความผิดพลาด 111 ไมครอน
Other Abstract: This research is to develop the Computer Aided Manufacturing (CAM) software based on Parasolid graphic kernel. The Parasolid Transmission XT format is used as the main data format. This software works on solid models which are created by CU-Solid or any other CAD packages using the Parasolid Transmission XT format. This software will calculate and generate toolpaths from a given solid model. And the G-code, for controlling the CNC mathine, can be obtained from the toolpaths. The rough cut and finish cut can be specified based on the 5 milling methods or procedures as drilling, 2D rough milling, 2D contour milling, 3D rough milling and 3D contour milling. The solftware can also display the cutting animation of the the milling procedures. The experiments were done on the 3-axis CNC millng machine with FANUC M15A controller. The total erros of the drilling, 2D contour milling, and 3D contour milling are between 25 to 29 micron, 23 to 66 micron, and 111 micron, respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเครื่องกล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10060
ISBN: 9740311695
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sukit.pdf2.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.