Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1007
Title: | การสื่อสารระหว่างสูตินรีแพทย์กับคนไข้ในการตรวจรักษาโรค |
Other Titles: | Communication between obstetricians-Gynecologists and patients during consultation and physical examination |
Authors: | จิตตาภรณ์ กล่อมแดง, 2523- |
Advisors: | ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Subjects: | การสื่อสารทางการแพทย์ เพศ สูติแพทย์ การรักษาโรค |
Issue Date: | 2546 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงวิธีการ และปัญหาในการสื่อสารระหว่างสูตินรีแพทย์กับคนไข้ในการตรวจรักษาโรค รวมทั้งศึกษาเปรียบเทียบปัญหาที่พบระหว่างสูตินรีแพทย์เพศชายกับสูตินรีแพทย์เพศหญิง และคนไข้ที่มีระดับการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปกับคนไข้ที่มีระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบสหวิธีการ ซึ่งเน้นการวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึก สำรวจความคิดเห็นด้วยแบบสอบถาม และวิจัยจากเอกสาร ทั้งนี้ได้วิเคราะห์โดยใช้กรอบความคิดเกี่ยวกับทฤษฎีการสื่อสารระหว่างบุคคล แนวคิดเรื่องแพทย์กับความสัมพันธ์เชิงอำนาจ แนวคิดเกี่ยวกับการสื่อสารเรื่องเพศในสังคมไทย แนวคิดเรื่องภาษาแสดงความสุภาพ และแนวคิดเรื่องชายกับหญิงในสังคมไทย ผลการวิจัยพบว่า : 1. วิธีการสื่อสารระหว่างสูตินรีแพทย์กับคนไข้ในการตรวจรักษาโรค ประกอบด้วยเหตุการณ์สื่อสาร 6 ขั้นตอน คือ การกล่าวทักทายและต้อนรับ การซักถามอาการและตรวจวินิจฉัยโรค การชี้แจงข้อวินิจฉัย การอธิบายวิธีการรักษา การกล่าวก่อนอำลา และการกล่าวอำลา ซึ่งบทบาทหลักในทุกขั้นตอนจะอยู่ที่แพทย์ 2. ปัญหาที่พบในการสื่อสาร แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ 1) ปัญหาในการสื่อสารระหว่างสูตินรีแพทย์กับคนไข้ 2) ปัญหาของคนไข้เมื่อต้องเข้ารับการตรวจจากสูตินรีแพทย์ 3) วิธีการเสริมสร้างการสื่อสารเชิงบวกของสูตินรีแพทย์กับคนไข้ 3. เมื่อเปรียบเทียบปัญหาการสื่อสารของแพทย์ ในทรรศนะของสูตินรีแพทย์ส่วนใหญ่เห็นว่า สูตินรีแพทย์เพศหญิงได้เปรียบกว่าสูตินรีแพทย์เพศชาย แต่สำหรับคนไข้กลุ่มที่มีช่วงอายุระหว่าง 20-39 ปี และกลุ่มที่มีระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีกลับเห็นว่า ไม่มีความได้เปรียบกัน 4. เมื่อเปรียบเทียบปัญหาการสื่อสารของคนไข้พบว่า ปัญหาที่พบมากที่สุดในคนไข้ที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป คือ การที่แพทย์ไม่ค่อยให้รายละเอียด รองลงมา ได้แก่ ภาษาแพทย์เข้าใจยาก ระยะเวลาในการสื่อสารสั้นเกินไป และแพทย์มีบุคลิกภาพที่เคร่งขรึมเกินไป ตามลำดับ ในขณะที่คนไข้ที่การศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรีพบปัญหาจากการที่แพทย์ไม่ค่อยให้รายละเอียดมากที่สุดเช่นกัน สำหรับกลุ่มที่มีสัดส่วนรองลงมา คือ แพทย์มีบุคลิกภาพเคร่งขรึมเกินไป ภาษาแพทย์เข้าใจยาก และระยะเวลาในการสื่อสารสั้นเกินไป ตามลำดับ |
Other Abstract: | This research aimed to study communication between obstetricians-gynecologists and patients during consultation and physical examination and problems found in the communication. In addition, this research purposed to compare between problems found in male doctors and female doctors and to compare between problems found in patients with lower than undergraduate education and higher. This study used multiple methodology: in-depth interview, questionnaires and documentary research. However, this research emphasized on quality research. This study used theoretical framework of Interpersonal Communication Theory and Ethnography of Communication Theory and the concepts of Doctor and Influential Relationship, Communication about Sex in Thai Society, Polite Way of Language, and Male and Female Gender in Thai Society. The result showed that: 1. The communication during consultation and physical examination consisted of 6 communication events: greeting, interviewing and diagnosing, explaining the patient's condition,explaining the treatment, pre-closing, and closing. The doctor played the key role. 2. The communication problems found in this research were divided into 3 categories: 1) the communication problems between doctors and patients 2) the patients' problems during consultation and physical examination 3) the positive reinforcement methods. 3. Most of the doctors agreed that the female doctors had an advantage over the male doctors. Nevertheless, patients who aged between 20-39 years and patients who educated lower than undergraduate saw no advantage. 4. The major problems of patients were that the doctors rarely explained the details, the doctors used technical terms and foreign languages, the meeting time was inadequate, and the doctors' personality was too serious. The most frequently found problems of the patients with undergraduate education and higher were the explanation, language, timing, and personality, by order. The most frequently found problems of the patients with lower than undergraduate educationwere the explanation, personality, language, and timing, by order. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วาทวิทยา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1007 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2003.1037 |
ISBN: | 9741750919 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2003.1037 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Jittaporn.pdf | 1.27 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.