Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10088
Title: การศึกษาผลกระทบของรูปทรงของท่อต่อรูปแบบการไหล และการกระจายตัวของอุณหภูมิของอากาศที่ไหลอยู่ระหว่างครีบแผ่นและท่อด้วยเทคนิคซีเอฟดี
Other Titles: A study of tube shapes affecting flow pattern and temperature distribution of air flowing in between plate fin and tube using CFD technique
Authors: ปัญญา รุ่งอรุณแสงชัย
Advisors: สมประสงค์ ศรีชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Somprasong.S@chula.ac.th
Subjects: การไหลของอากาศ
แบบจำลองทางคณิตศาสตร์
ความร้อน -- การถ่ายเท
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของวิทยานิพนธ์นี้ คือ การศึกษาลักษณะการไหลและการกระจายตัวของอุณหภูมิของอากาศที่ไหลภายในช่องว่างระหว่างครีบแผ่น และท่อ โดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ การจำลองปรากฏการณ์จะคำนวณด้วยชุดของสมการอนุรักษ์ (Conservation Equations) ซึ่งประกอบด้วย สมการความต่อเนื่อง (Continuity Equations) สมการอนุรักษ์พลังงาน (Energy Equations) นอกจากนี้ยังต้องใช้ แบบจำลองการไหลแบบปั่นป่วน (Turbulent Model) สำหรับการศึกษานี้ได้ใช้เทคนิค Computational Fluid Dynamics (CFD) ได้แก่โปรแกรม PHOENICS ส่วนความน่าเชื่อถือ และความเหมาะสมของโปรแกรม ได้ถูกตรวจสอบด้วยข้อมูลการทดลองของ G.P. Almeida และคณะ (1993) เพื่อคัดเลือกแบบจำลองของการไหลแบบปั่นป่วนที่น่าเชื่อถือมากที่สุด งานวิจัยนี้ได้ศึกษา 2 ปรากฏการณ์ คือ การศึกษาการนำความร้อน และการศึกษาการนำความร้อน และการพาความร้อนไปพร้อมกัน งานส่วนที่หนึ่ง คือ การศึกษาลักษณะการกระจายตัวของคุณหภูมิภายในครีบที่ติดกับท่อที่มีอุณหภูมิคงที่ จำนวน 2 อัน ซึ่งมีการจัดเรียงตัวในแนวเดียวกัน สำหรับงานในส่วนนี้เป็นการศึกษาปัจจัยทางด้านรูปทรงของท่อ และระยะห่างระหว่างท่อ ซึ่งรูปทรงของท่อประกอบด้วย ท่อรูปทรงแบน, ท่อรูปทรงวงรี และท่อรูปทรงหยดน้ำ ส่วนปัจจัยทางด้านระยะห่างระหว่างท่อ คือ 0.5 เซนติเมตร และ 1.0 เซนติเมตร ผลการจำลองที่ได้แสดงให้เห็นว่าระยะห่างระหว่างท่อมีผลต่อการกระจายตัวของอุณหภูมิภายในครีบแผ่นมากกว่ารูปทรงของท่อ และงานส่วนที่สอง คือ การศึกษาลักษณะการไหลและการกระจายตัวของอุณหภูมิของอากาศที่ไหลอยู่ระหว่างครีบแผ่น และท่อที่มีอุณหภูมิคงที่ จำนวน 2 อันซึ่งมีการจัดเรียงตัวในแนวเดียวกัน โดยปัจจัยที่ศึกษาในส่วนนี้จะเหมือนกับงานส่วนที่หนึ่ง และได้เพิ่มเติมปัจจัยทางด้านความเร็วขาเข้า คือ 15 เมตร/วินาที และ 20 เมตร/วินาที ผลการจำลองที่ได้แสดงให้เห็นว่ารูปทรงของท่อ และระยะห่างระหว่างท่อ มีผลต่อลักษณะการไหล และการกระจายตัวของอุณหภูมิของอากาศ นอกจากนี้ เมื่อความเร็วขาเข้าของอากาศมีค่าเพิ่มขึ้น ทำให้การกระจายตัวของอุณหภูมิของอากาศมีลักษณะที่แคบกว่า แต่ความร้อนถูกกำจัดออกได้ดีขึ้น
Other Abstract: The objective of this thesis is to study effects of tube shapes on flow pattern and temperature distribution of air flowing in between plate fin and tube using mathematical model. The Simulation were solving a set of conservation equations, consisting of continuity equations, momentum equations, energy equations and turbulent models. Computational Fluid Dynamics (CFD) Technique, i.e. PHOENICS program, was used in this study. The reliability and suitability of model and program is validated against detailed experiment data of G.P. Almeida, et al. (1993) fr choosing the most reliable turbulent model. The thesis was studied on two phenomena, namely, conduction and combination of conduction and convection. The first one was carried out to study temperature distribution in fins that contacted to two inlined tubes having constant temperature. This is for studying effect of tube shapes and the distances between tubes. The tube shapes included flat tube, elliptic tube, and streamline tube. The distances between tubes were 0.5 centimeter and 1.0 centimeter. Results of the simulation showed that distances between tubes had more influent on temperature distribution than tube shapes. The second was a study of flow pattern and temperature distribution of air flowing in between plate fin and two inlined tubes having constant temperature. The effect of this study was the same as the first study and also addition inlet velocities effect which are 15 m/s and 20 m/s. Results of the simulation showed that tube shapes and tube arrengement affected flow pattern and temperature distribution of air flowing in between plate fin and tube. Furthermore, when inlet velocity of air was increases, temperature distribution of air was narrower butheat was removed better.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเคมี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10088
ISBN: 9740308074
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Panya.pdf10.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.