Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1008
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์-
dc.contributor.authorอุรัสยาน์ สุขะตุงคะ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-07-24T04:55:43Z-
dc.date.available2006-07-24T04:55:43Z-
dc.date.issued2546-
dc.identifier.isbn9741751281-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1008-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546en
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์เรื่อง "สถานภาพและบทบาทของพิธีกรถ่ายทอดสดงานพระราชพิธีทางโทรทัศน์" มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา สถานภาพและบทบาทของพิธีกรถ่ายทอดสดงานพระราชพิธี หลักเกณฑ์ในการพิจารณาคัดเลือกพิธีกร คุณสมบัติของพิธีกร กระบวนการทำงาน ปัญหาและอุปสรรคในการทำงาน ทัศนะและทัศนคติของ ผู้ชมที่มีต่อพิธีกร และรายการถ่ายทอดสดงานพระราชพิธีทางโทรทัศน์ รวมถึงพฤติกรรมการเปิดรับชมรายการ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ(Qualitative Research) ใช้วิธีการเก็บข้อมูลแบบสหวิธีวิทยาการ (Multiple Methodology) ประกอบด้วยการวิจัยเอกสาร(Documentary Research) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) การสนทนากลุ่มย่อย (Focus Group) และในส่วนของผู้รับสารได้ใช้วิธีการทำแบบสอบถาม (Questionnair) ผลการวิจัย 1. พิธีกรถ่ายทอดสดงานพระราชพิธีทางโทรทัศน์ โดยเฉลี่ยจะมีอายุ30ปีขึ้นไปและมีความรู้ทางด้านนิเทศศาสตร์ สามารถถ่ายทอดข้อมูลและความรู้แก่ผู้ชมได้ 2. หลักเกณฑ์ในการพิจารณาคัดเลือกพิธีกร จะต้องเป็นผู้ที่มีประสบการณ์มีคุณสมบัติที่เหมาะสมกับรายการ ได้แก่ มีภาพลักษณ์ของความน่าเชื่อถือ มีทักษะทางด้านการใช้ภาษาและน้ำเสียงที่ดี มีความรู้เกี่ยวกับงานพระราชพิธีและสามารถใช้คำราชาศัพท์ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ 3. กระบวนการทำงานของพิธีกรแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนคือ การเตรียมความพร้อมและเตรียมข้อมูลก่อนการถ่ายทอดสด การทำงานระหว่างการถ่ายทอดสด และการประเมินผลหลังการถ่ายทอดสด ส่วนปัญหาและอุปสรรคในการทำงานแบ่งเป็น 2 ปัจจัยคือ ปัจจัยที่เกิดจากตัวพิธีกรเอง ได้แก่ เตรียมข้อมูลไม่มากพอ มีเวลาเตรียมงานน้อยและการใช้คำราชาศัพท์ สำหรับปัจจัยที่เกิดจากภายนอก ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงหมายกำหนดการ สถานที่นั่งบรรยาย และอุปกรณ์ทางด้านเทคนิค 4. ผู้ชมมีความสนใจในเรื่องการใช้คำราชาศัพท์และการให้ข้อมูลความรู้ของพิธีกร รวมทั้งรูปแบบของรายการที่ควรถ่ายทอดให้น่าสนใจ นอกจากนั้น ผู้ชมยังชื่นชอบพิธีกรที่เป็นผู้เชี่ยวชาญงานพระราชพิธีที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก และมีความตั้งใจที่จะชมภาพของพระมหากษัตริย์ในรายการ 5. ผู้ชมส่วนใหญ่จะรับชมรายการในลักษณะชมบ้าง และชมแค่เฉพาะบางช่วงของรายการเนื่องจากเป็นรายการที่มีช่วงเวลาที่ค่อนข้างยาวen
dc.description.abstractalternativeThis thesis on the subject of "Status and Role of Master Ceremony in Televised Royal Ceremony Live Program" aim to study following topics; the criteria of MC selection, MC attributes, work process, difficulties and obstacles in their works, attitudes of views toward MC and Live televised royal ceremony program, as well as their viewing behavior. This research is qualitative and is done through multiple methodology data collection in conjunction with documentary research, In-depth interview, focus group, and questionnaire. Research results 1. MCs of televised royal ceremony program have an average age of 30 and up,generally skilled with mass communication science and are able educators. 2. Fundamental criteria in MC selection are their suitability to program type, composed personality, fair verble skill and voice,and their knowledge to royal ceremony and appropriate uses of language. 3. MC working processes are divided up into 3 steps, which are preparation and information gathering,during-the-program routines,and afterward assessment. As for difficulties challenging MC, they can be grouped into 2 factors, which are 1.)Problems arise from MCs themselves such as lack of preparation time, and difficulty in using royal languages,and 2.)Outside factors such as sudden change of schedule venues and technical difficulties. 4. Audiences are more aware of the use of language and information given by the MC when they narrate the program. In addition, audiences are likely to favor familiar faces over newcomers. 5. Most viewers are occasional and often view only some parts of programs, since they have to spend more long time to view the whole program.en
dc.format.extent4159455 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2003.523-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectพิธีกรen
dc.subjectรายการโทรทัศน์en
dc.titleสถานภาพและบทบาทของพิธีกรถ่ายทอดสดงานพระราชพิธีทางโทรทัศน์en
dc.title.alternativeStatus and role of master ceremony in televised royal ceremony live programen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineวาทวิทยาen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2003.523-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Urasaya.pdf2.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.