Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10096
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรสัณฑ์ บูรณากาญจน์-
dc.contributor.authorพรหมสิทธิ์ สร้อยระย้า-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2009-08-14T08:25:22Z-
dc.date.available2009-08-14T08:25:22Z-
dc.date.issued2545-
dc.identifier.isbn9741732538-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10096-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545en
dc.description.abstractความร้อนเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการอยู่อาศัยในอาคารเขตร้อนชื้น หลังคาเป็นส่วนของอาคารที่ได้รับปริมาณความร้อนถ่ายเทจากภายนอกมากที่สุด จึงเป็นสาเหตุของการเพิ่มภาระการปรับอากาศภายในอาคารการวิจัยนี้วัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาต้นแบบของระบบหลังคามวลสารน้อยเพื่อลดการถ่ายเทความร้อนเข้าสู่อาคารในเขตร้อนชื้น โดยการศึกษาตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการถ่ายเทความร้อนเข้าสู่อาคารทางหลังคา และนำตัวแปรนั้นมาประยุกต์ใช้ในการสร้างต้นแบบระบบหลังคามวลสารน้อยเพื่อลดปริมาณการถ่ายเทความร้อนจากภายนอกเข้าสู่อาคาร เพื่อเป็นการควบคุมตัวแปรที่จะศึกษาจึงได้สร้างอาคารทดลองขนาด กว้าง 4.40 เมตร ยาว 7.90 เมตร และสูง 2.85 เมตร ผนังทุกด้านสร้างด้วยฉนวน ด้านบนของอาคารทดลองติดตั้งหลังคาสำหรับการทดสอบขนาด กว้าง 0.90 เมตร ยาว 0.90 เมตร จำนวน 4 หลัง การทดลองทั้งหมดทำในสภาพปรับอากาศ บันทึกข้อมูลการทดลองทุก 15 นาที เป็นเวลา 48 ชั่วโมง กระบวนการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนตามวัตถุประสงค์การวิจัย ส่วนที่ 1 ศึกษาตัวแปรและเปรียบเทียบพฤติกรรมการถ่ายเทความร้อนจากภายนอกผ่านหลังคาที่มีมุมองศาต่างกัน คือ 15 องศา 30 องศา 45 องศา และ 60 องศา พบว่าในช่วงเวลากลางวันหลังคา 60 องศา มีปริมาณการถ่ายเทความร้อนจากภายนอกน้อยที่สุด มีค่า 19.15 บีทียูต่อชั่วโมง ส่วนที่ 2 ทดสอบเปรียบเทียบประสิทธิภาพการป้องกันความร้อนของระบบหลังคา โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 3 ชุด ชุดที่ 1 เปรียบเทียบระหว่างระบบหลังคาต่างชนิดกัน พบว่าระบบหลังคาเหล็กรีดลอนที่ติดตั้งฉนวนหนา 3 นิ้ว ในแนวราบมีปริมาณความร้อนเฉลี่ยถ่ายเทเข้ามาน้อย มีค่า 28.92 บีทียูต่อชั่วโมง เมื่อเปรียบเทียบกับหลังคาเหล็กรีดลอนที่ไม่มีการติดตั้งฉนวนโพลีสไตรีน ชุดที่ 2 เปรียบเทียบประสิทธิภาพการระบายความร้อนและการกันความร้อนระหว่างระบบหลังคาที่ใช้สีวัสดุมุงหลังคาต่างกันคือ ขาว เขียว ดำ พบว่า วัสดุหลังคาสีดำมีปริมาณความร้อนที่ผิวหลังคามากที่สุด ชุดที่ 3 เปรียบเทียบระหว่างระบบหลังคาที่ใช้ฉนวนหนา 3 นิ้ว และ 6 นิ้ว พบว่าฉนวนหนา 6 นิ้ว มีปริมาณความร้อนถ่ายเทเข้าน้อยกว่า ผลการวิจัยสรุปได้ว่า การแผ่รังสีจากดวงอาทิตย์เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการถ่ายเทความร้อนเข้าสู่อาคาร ซึ่งหลังคา 60 องศา สามารถลดปริมาณการถ่ายเทความร้อนจากภายนอกได้มากที่สุดเมื่อเทียบกับหลังคา 15 องศาการพาความร้อนของอากาศในช่องว่างอากาศระบายความร้อนใต้หลังคาเหล็กรีดลอนสีดำสามารถลดปริมาณการถ่ายเทความร้อนเข้าสู่อาคาร 18.38% เมื่อใช้ควบคู่กับฉนวนหนา 6 นิ้วสามารถลดปริมาณการถ่ายเทความร้อนจากภายนอก 90.28% เมื่อเทียบกับหลังคาเหล็กรีดลอนที่ไม่มีฉนวนen
dc.description.abstractalternativeHeat is an important factor that affects the resident in tropical climates. The roof is a part of the building that obtains the maximum heat and that causes the increase in the air-conditioning. The objective of this research is to analyze and search for the model roof that can be developed to stop heat gain in the tropical climates by studying the variables that effect heat gain and apply it for the model roof creation. To control the variables a experimental building was created which is 4.40 m wide, 7.90m long and 2.85 m high. The wall were made of polystyrene insulation and 4 of the houses are equipped with the roof's model which are 0.90 m wide and 0.90 m long. This experiment is carried out in an air-conditioned place. The data was recorded in every 15 minutes for 48 hours. The research has been divided into 2 parts. The first part deals with the variables and then compares the result of the heat transfer into the roof with different angles: 15 degrees, 30 degrees, 45 degrees and 60 degrees. The results of this experiment showed that during the daytime, the least heat gain into building was the roof with 60 degrees at 19.15 Btu/hr. The second part was to compare the effectiveness of the roof system in term of reducing the heat gain. The experiment was divided into 3 sets. The first set was comparing the different roof system and found that heat enters the roof insulated horizontally the least which account at 28.92 Btu/hr if comparing with metal sheet roof without installation. The second set was comparing the heat loss and heat gain in the roof system by color indicators which are white, green, and black. The roof with black sheet material has the highest heat gain. The third set was a comparison between the roof insulated with 3-inch-thick insulation and 6-inch-thick and found that 6-inch-thick insulation had the least heat transfer. It can be concluded that the heat from the sun is the strongest factor that effects the heat transferring into the building. Generally the roof at 60 degrees is better at preventing heat gain when compared with the 15 degree roof. The heat transferring under the cavity of the black roof can reduce the heat loss at a 18.38% rate and in use together with 6-inch-thick horizontal insulation would be able to reduce the heat gain 90.28% compared to the metalsheet roof without insulationen
dc.format.extent9114708 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2002.350-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectความร้อน -- การถ่ายเทen
dc.subjectหลังคา -- การออกแบบและการสร้างen
dc.subjectหลังคา -- สมบัติทางความร้อนen
dc.titleการศึกษาเพื่อหาแนวทางในการสร้างต้นแบบระบบหลังคาเพื่อลดการถ่ายเทความร้อนเข้าสู่อาคารในเขตร้อนชื้นen
dc.title.alternativeA study to develop a prototype of tropical roof system to reduce heat gainen
dc.typeThesises
dc.degree.nameสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineสถาปัตยกรรมes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorVorasun.b@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2002.350-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Promsit.pdf8.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.