Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10123
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวัชระ เพชรคุปต์-
dc.contributor.advisorสุมาลี วงศ์จันทร์-
dc.contributor.authorครรชนะ จรัณยานนท์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2009-08-15T04:24:10Z-
dc.date.available2009-08-15T04:24:10Z-
dc.date.issued2540-
dc.identifier.isbn9746381601-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10123-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540en
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของอุณหภูมิของการเปลี่ยนเฟสของลวดโลหะนิกเกิลไทเทเนียม ที่ผ่านการอบชุบด้วยความร้อนสองขั้นตอนและผ่านการอบชุบด้วยความร้อนขั้นตอนเดียว และศึกษาความสัมพันธ์ของอุณหภูมิการอบชุบด้วยความร้อนขั้นตอนที่สองกับอุณหภูมิของการเปลี่ยนเฟสของลวดโลหะนิกเกิลไทเทเนียมหลังจากอบชุบด้วยความร้อน ซึ่งอุณหภูมิของการเปลี่ยนเฟสประกอบด้วย อุณหภูมิที่เริ่มเปลี่ยนเฟสเป็นเฟสมาร์เทนไซต์, อุณหภูมิที่การเปลี่ยนเฟสเป็นเฟสมาร์เทนไซต์สิ้นสุด, อุณหภูมิที่เริ่มเปลี่ยนเฟสเป็นเฟสออสเทไนท์ และอุณหภูมิที่การเปลี่ยนเฟสเป็นเฟสออสเทไนท์สิ้นสุด ชิ้นตัวอย่างคือลวดโลหะนิกเกิลไทเทเนียม Nitinol ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.016 นิ้ว ตัดให้มีขนาดยาว 4 มม. รวม 90 ชิ้น นำชิ้นตัวอย่างทั้งหมดเข้าอบชุบด้วยความร้อนขั้นตอนที่หนึ่ง ที่อุณหภูมิ 440 ํซ. เป็นเวลา 15 นาที เพื่อลดความเค้นที่มีอยู่ในลวดด้วยเตาเผาพอร์ซเลนสูญญาอากาศ หลังจากนั้นแบ่งชิ้นตัวอย่างเป็น 6 กลุ่มๆ ละ 15 ชิ้น กลุ่มหนึ่งเป็นกลุ่มควบคุม กลุ่มที่เหลือนำมาอบชุบด้วยความร้อนขั้นตอนที่สอง ที่อุณหภูมิ 400, 450, 500, 550 และ 600 ํซ เป็นเวลา 15 นาที ตามลำดับในเตาเผาพอร์ซเลนสูญญากาศเช่นเดียวกัน หาค่าอุณหภูมิของการเปลี่ยนเฟสของด้วยเครื่องดิฟเฟอเรนเชี่ยล สแกนนิ่ง คาลอริมิเตอร์ เมื่อใช้ค่าสถิติ ที เทสต์ในการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า อุณหภูมิที่เริ่มเปลี่ยนเฟสเป็นเฟสมาร์เทนไซต์และอุณหภูมิที่เริ่มเปลี่ยนเฟสเป็นเฟสออสเทไนท์ของกลุ่มที่ผ่านการอบชุบด้วยความร้อนขั้นตอนที่สอง ที่อุณหภูมิ 400 ํซ ไม่มีความแตกต่างทางสถิติจากกลุ่มควบคุมที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ส่วนกลุ่มที่ผ่านการอบชุบด้วยความร้อนขั้นตอนที่สอง ที่อุณหภูมิ 450, 500, 550 และ 600 ํซ พบว่ามีความแตกต่างทางสถิติจากกลุ่มควบคุมที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ในขณะที่อุณหภูมิที่การเปลี่ยนเฟสเป็นเฟสมาร์เทนไซต์สิ้นสุดและอุณหภูมิที่การเปลี่ยนเฟสเป็นเฟสออสเทไนท์สิ้นสุด พบว่ากลุ่มที่ผ่านการอบชุบด้วยความร้อนขั้นตอนที่สองทุกกลุ่มมีความแตกต่างทางสถิติจากกลุ่มควบคุมที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ส่วนการศึกษาความสัมพันธ์ของอุณหภูมิการอบชุบด้วยความร้อนขั้นตอนที่สองกับอุณหภูมิของการเปลี่ยนเฟสของลวดโลหะนิกเกิลไทเทเนียมหลังจากอบชุบด้วยความร้อนด้วยค่าสถิติ เพียร์สัน โพรดักต์โมเมนต์ พบว่าอุณหภูมิของการเปลี่ยนเฟสของลวดโลหะนิกเกิลไทเทเนียมหลังจากอบชุบด้วยความร้อนทุกค่า มีความสัมพันธ์อย่างมากในทางบวกกับอุณหภูมิการอบชุบด้วยความร้อนขั้นตอนที่สองที่ระดับนัยสำคัญ 0.05en
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to compare the transitional temperature of the nickel titanium alloy wires which had been heat treated for one and two steps and to study the relationship between the second heat treatment temperature and the transitional temperature of the heat treated nickel titanium alloy wires. Ninety pieces of one distal end of preformed Nitinol wire were cut into 4 mm. and heat treated in the vacuum porcelain furnace. The heat treatment procedure consisted of two steps. In the first step, the 90 pieces were treated together at 440 ํC for 15 minutes for relieving the internal stress. After this, the wires were randomized into 6 groups which one was a control group. The second step was the treatment at a temperature between 400-600 ํC, in increments of 50 ํC, for 10 minutes. The differential scanning calorimeter was used to measuring the transitional temperature. The t-test was used to compare the mean of each term of the transitional temperature between the control and the treatment group. The result for Ms and As temperature did not show a significant difference in the 400 ํC-treated group (p<0.05) but showed a significant difference in the other groups (P<0.05) while Mf and Af temperature showed a significant difference in every group (P<0.05). The relationship between the second heat treatment temperature and the transitional temperature of the heat treated nickel titanium alloy wires was analysed by the Pearson's product moment test. The result was the transitional temperature which consist of Ms, Mf, As and Af showed the positive correlation with the second heat treatment temperature (P<0.05).en
dc.format.extent974318 bytes-
dc.format.extent849969 bytes-
dc.format.extent1318623 bytes-
dc.format.extent905834 bytes-
dc.format.extent1013909 bytes-
dc.format.extent703383 bytes-
dc.format.extent1116414 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectทันตกรรมจัดฟันen
dc.subjectโลหะ -- การอบชุบด้วยความร้อนen
dc.subjectไทเทเนียมen
dc.titleการศึกษาการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของการเปลี่ยนเฟสของลวดโลหะนิกเกิลไทเทเนียมที่ผ่านการอบชุบด้วยความร้อนen
dc.title.alternativeThe study of transitional temperature change in heat treated nickel titanium alloy wireen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineทันตกรรมจัดฟันes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorVachara.Ph@Chula.ac.th-
dc.email.advisorfmtsvc@eng.chul.ac.th, Sumalee.V@chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Karnchana_Ch_front.pdf951.48 kBAdobe PDFView/Open
Karnchana_Ch_ch1.pdf830.05 kBAdobe PDFView/Open
Karnchana_Ch_ch2.pdf1.29 MBAdobe PDFView/Open
Karnchana_Ch_ch3.pdf884.6 kBAdobe PDFView/Open
Karnchana_Ch_ch4.pdf990.15 kBAdobe PDFView/Open
Karnchana_Ch_ch5.pdf686.9 kBAdobe PDFView/Open
Karnchana_Ch_back.pdf1.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.