Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10129
Title: ความคิดเห็นของนายจ้างและเจ้าหน้าที่ด้านอาชีวอนามัย ต่อตัวชี้วัดการสร้างเสริมสุขภาพในสถานประกอบการ
Other Titles: Opinion of employers and occupational health officers toward workplace health promotion indicators
Authors: อุดมลักษณ์ ใบไกร
Advisors: พรชัย สิทธิศรัณย์กุล
วิโรจน์ เจียมจรัสรังษี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Pornchai.Si@Chula.ac.th
Wiroj.J@Chula.ac.th
Subjects: การส่งเสริมสุขภาพ
สถานประกอบการ -- บริการส่งเสริมสุขภาพ
อาชีวอนามัย
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาความคิดเห็นของนายจ้างและเจ้าหน้าที่ด้านอาชีวอนามัย ต่อตัวชี้วัดการสร้างเสริมสุขภาพในสถานประกอบการ เก็บข้อมูลระหว่างเดือน เมษายน-กรกฎาคม 2545 โดยส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ถึงนายจ้างและเจ้าหน้าที่ด้านอาชีวอนามัย จำนวน 180 คู่ ในสถานประกอบการ 180 แห่ง อัตราการตอบกลับของนายจ้างและเจ้าหน้าที่ด้านอาชีวอนามัย เท่ากับ 66.7% และ 68.3% (123 แห่ง) ตามลำดับ เปรียบเทียบความแตกต่างโดย Mann Whitney U test, Kruskal Wallis test, Paired t-test, McNemar's test และหาความสัมพันธ์โดย Spearman's rank correlation coefficient ผลการศึกษา พบว่านายจ้างมีอายุเฉลี่ย 41.1 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (63.3%) มีการศึกษาระดับปริญญาตรี (74.2%) ตำแหน่งกรรมการผู้จัดการหรือผู้บริหาร (91.7%) ระยะเวลาเฉลี่ยในการดำรงตำแหน่ง 7.8 ปี และเห็นด้วยต่อการมีการสร้างเสริมสุขภาพในสถานประกอบการ (86.7%) เจ้าหน้าที่ด้านอาชีวอนามัยมีอายุเฉลี่ย 36.4 ปี สัดส่วนเพศชายและเพศหญิงใกล้เคียงกัน (52.0% และ 48.0% ตามลำดับ) ส่วนใหญ่มีการศึกษาระดับปริญญาตรี (59.3%) ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย (54.5%) ระยะเวลาเฉลี่ยในการดำรงตำแหน่ง 6.5 ปี เห็นด้วยต่ดการมีการสร้างเสริมสุขภาพในสถานประกอบการ (91.0%) สถานประกอบการ 123 แห่ง ส่วนใหญ่ไม่มีนโยบายด้านการสร้างเสริมสุขภาพ (40.7%) มีกิจกรรมด้านการสร้างเสริมสุขภาพในสถานประกอบการ (60.2%) ไม่มีผู้รับผิดชอบด้านการสร้างเสริมสุขภาพโดยตรง (69.1%) มีงบประมาณสนับสนุนด้านการสร้างเสริมสุขภาพ (53.7%) เป็นสถานประกอบการขนาดใหญ่ (61.0%) ไม่เป็นสาขาของบริษัทข้ามชาติ (81.3%) ในภาพรวมความคิดเห็นของนายจ้างและเจ้าหน้าที่ด้านอาชีวอนามัย ต่อตัวชี้วัดในด้านความเหมาะสมมีคะแนนเฉลี่ยจัดอยู่ในระดับมีความเหมาะสมสูง ส่วนด้านความสามารถนำไปปฏิบัติให้บรรลุตามเกณฑ์ได้ มีตัวชีวัด 9 ข้อ ที่นายจ้างน้อยกว่า 50% เห็นว่าสามารถนำไปปฏิบัติให้บรรลุได้ และตัวชี้วัด 10 ข้อ ที่เจ้าหน้าที่ด้านอาชีวอนามัยน้อยกว่า 50% เห็นว่าสามารถนำไปปฏิบัติให้บรรลุได้ ตัวชี้วัด 3 ข้อ ได้แก่ มีการให้ความรู้และฝึกอบรมด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยให้แก่พนักงานทุกคน มีการดำเนินโครงการจัดการความเครียดสำหรับพนักงาน และสถานประกอบการมีกิจกรรมเสริมสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน โดยรอบสถานประกอบการ มีคะแนนความคิดเห็นของนายจ้างและเจ้าหน้าที่ด้านอาชีวอนามัย ในด้านความเหมาะสมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) และตัวชี้วัดมีการดำเนินงานและบันทึกผลการดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มีคะแนนความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.001) ความคิดเห็นของนายจ้างและเจ้าหน้าที่ด้านอาชีวอนามัยต่อตัวชี้วัด การจัดให้มีการตรวจสุขภาพของพนักงานเป็นระยะตามปัจจัยเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอ ในด้านความสามารถนำไปปฏิบัติให้บรรลุได้มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า ตามความคิดเห็นของนายจ้างและเจ้าหน้าที่ด้านอาชีวอนามัย ตัวชี้วัดการสร้างเสริมสุขภาพในสถานประกอบการนี้มีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้ในสถานประกอบการ และตัวชี้วัดส่วนใหญ่สามารถนำไปปฏิบัติให้บรรลุได้ ตัวชี้วัดนี้จะเป็นประโยชน์ในการนำไปเป็นแนวทางและใช้ในการประเมินผลการดำเนินงานด้านการสร้างเสริมสุขภาพในสถานประกอบการ ซึ่งจะสะท้อนถึงสถานภาพของการสร้างเสริมสุขภาพและนำไปสู่การพัฒนาได้
Other Abstract: To explore the opinion of employers and occupational health officers toward workplace health promotion indicators. The study was conducted during April to July 2002 by mailing questionnaire to 180 employers and occupational health officers (OHOs) in 180 enterprises. The response rate from employers and OHOs were 66.7% and 68.3% (123 enterprises) respectively. Mann-Whitney U test, Kruskal Wallis test, paired t-test, McNemar's test and Spearman's rank correlation coefficient were used for statistical analyses. The study revealed that the average age of employers was 41.1 years. Majority of them were male (63.3%), had a bachelor degree (74.2%), were directors or managers (91.7%), had been in their position for 7.8 years, and agreed on workplace health promotion (86.7%). The average age of OHOs was 36.4 years. The proportion of male and female were similar (52.0% and 48.0% respectively). Majority of them had a bachelor degree (59.3%), were safety officers (54.5%), had been in their position for 6.5 years, and agreed on workplace health promotion (91.0%). Majority of 123 enterprises did not have health promotion policy (40.7%), had health promotion activities (60.2%), no designated personnel responsible for health promotion (69.1%), had health promotion budget (53.7%), were large scale enterprises (61.0%), did not have a mother enterprise in foreign country (81.3%). In general, the mean score of the opinion of employers and OHOs toward indicators in appropriateness aspect were high. In achievability aspect, there were 9 indicators that lower than 50% of employers thought that they could achieve and 10 indicators that lower than 50% of OHOs thought that they could achieve. Comparing opinion of employers and OHOs revealed that their opinion differed significantly in 4 indicators in appropriateness aspect and 1 indicator in achievability aspect. This study revealed that in the opinion of employers and OHOs these indicators were appropriate for enterprises and most indicators could be achieved. Finally, these indicators are useful as a guideline and evaluation tool for workplace health promotion.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อาชีวเวชศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10129
ISBN: 9741714173
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Udomlak.pdf918.22 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.