Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10135
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกุณฑลทิพย พานิชภักดิ์-
dc.contributor.authorอรุณ ดั่นคุณะกุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย (ภาคกลาง)-
dc.coverage.spatialสมุทรปราการ-
dc.date.accessioned2009-08-15T06:36:03Z-
dc.date.available2009-08-15T06:36:03Z-
dc.date.issued2545-
dc.identifier.isbn9741727089-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10135-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545en
dc.description.abstractการเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัยเป็นร้านค้าในเคหะชุมชน ซึ่งผู้อยู่อาศัยได้ ต่อเติม ดัดแปลง อาคารเพื่อใช้ประโยชน์ในการพักอาศัยมาเพื่อประกอบการค้าในละแวกที่อยู่อาศัย โดยการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลให้เกิดปัญหา การบริหารจัดการกายภาพชุมชน เศรษฐกิจของชุมชน และปัญหาทางสังคม ซึ่งการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาลักษณะการเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัยมาเป็นร้านค้า และปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัยเป็นร้านค้าในย่านพักอาศัย โดยงานวิจัยนี้นำมาใช้ประกอบการพิจารณา ในเรื่อง การกำหนดประเภท ที่ตั้ง ระยะบริการของร้านค้า รวมทั้งการจัดสภาพแวดล้อมกายภาพที่เกิดจากการออกแบบ และวางแผนเคหะชุมชน ซึ่งผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตของการวิจัยโดยเลือกเคหะชุมชนสมุทรปราการ 1 เป็นกรณีศึกษา วิธีดำเนินการศึกษา ประกอบด้วย ทฤษฎี และแนวคิดซึ่งนำมาในการสร้างกรอบแนวคิดการเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัยเป็นร้านค้าในเคหะชุมชน รวมทั้งงานวิจัยที่ใช้เป็นข้อสนับสนุน การสำรวจทำเลของที่อยู่อาศัยที่เปลี่ยนเป็นร้านค้า และร้านค้าในทำเลที่การเคหะแห่งชาติกำหนดที่ตั้ง โดยใช้ผังสำรวจกายภาพ และการออกแบบสอบถาม เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ด้านทำเลที่ตั้ง เศรษฐกิจ และพฤติกรรม โดยสุ่มกลุ่มตัวอย่างผู้บริโภคที่อาศัยอยู่ในเคหะชุมชนสมุทรปราการ 1 จำนวน 305 หน่วย และสำมะโนประชากรผู้ประกอบการค้าในเคหะชุมชนสมุทรปราการ 1 จำนวน 126 หน่วย เพื่อนำมาเปรียบเทียบค่าทางสถิติ วิเคราะห์ ลักษณะการเปลี่ยนแปลง ปัจจัย ในการทำให้เกิดการเปลี่ยนที่อยู่อาศัยเป็นร้านค้าเพื่อพิสูจน์สมมติฐาน ผลการวิจัยพบว่า การเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัยเป็นร้านค้าเป็นไปตามสมมติฐาน โดยมีความสอดคล้องของลักษณะการเปลี่ยนแปลง และปัจจัย ดังนี้ (1) ทำเลที่ตั้ง และระยะทางจาก ที่อยู่อาศัยถึง ที่อยู่อาศัยที่เปลี่ยนเป็นร้านค้า จะเกิดการเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัยเป็นร้านค้าบริเวณที่ตั้งริมถนนปลายเปิดและจุดตัดของถนน ซึ่งเกิดร้านค้าจำนวนมากที่สุดในช่วงไม่เกิน100 และ 200 เมตรแรก และน้อยกว่ามาตรฐานของการเคหะแห่งชาติที่ใช้ในปัจจุบัน (2) กลุ่มผู้บริโภคสินค้าเลือกบริโภคสินค้าของร้านประเภท ที่อยู่อาศัยที่เปลี่ยนเป็นร้าน มากกว่าบริโภคสินค้าของร้านค้าในทำเลที่การเคหะฯ กำหนด จำนวน 3 ประเภท ได้แก่ ประเภทสินค้าสะดวกซื้อ ประเภทบริการส่วนบุคคล และประเภทการซ่อมบำรุง (3) เหตุผลของผู้ประกอบการค้าเลือกตัดสินใจลงทุนประกอบการค้า ตามกลุ่มผู้บริโภค โดยร้านค้าประเภทที่อยู่อาศัยที่เปลี่ยนเป็นร้านมีลูกค้าหลักเป็นประเภทลูกค้าละแวกบ้านประมาณ 70 %ของลูกค้าในชุมชนโดยส่วนใหญ่เป็นเด็กๆในละแวกที่อยู่อาศัย และร้านค้าในทำเลที่การเคหะฯ กำหนด มีลูกค้าหลักเป็นลูกค้าทั่วไปในชุมชน ประมาณ 98.5 %ของลูกค้าในชุมชนโดยส่วนใหญ่เป็นพ่อบ้าน-แม่บ้าน ผู้ประกอบการร้านค้าในทำเลที่การเคหะฯ กำหนด ใช้พื้นที่ในการประกอบการค้า ประมาณ 82 ตารางเมตร และผู้ประกอบการค้าของร้านค้าประเภทที่อยู่อาศัยที่เปลี่ยนเป็นร้านค้า ใช้พื้นที่ประกอบการค้าประมาณ 66 ตารางเมตร โดยมีรายได้เฉลี่ยต่อพื้นที่ประกอบการค้าน้อยกว่าร้านค้าในทำเลที่การเคหะฯ กำหนดเพียงเล็กน้อย สรุปได้ว่า รัศมีบริการของร้านค้าประเภท ที่อยู่อาศัยที่เปลี่ยนเป็นร้านค้า อยู่ในช่วงรัศมี ไม่เกิน 200 เมตร โดยบริเวณภายในชุมชนที่เหมาะสมได้แก่ ริมถนนปลายเปิด และบริเวณหัวมุมถนน โดยเป็นร้านกิจการขนาดเล็ก ซึ่งการจัดทำรูปแบบอาคารและมาตรฐานพื้นที่ประกอบการค้าของอาคารสำหรับร้านค้าในเคหะชุมชนควรมีพื้นที่ประกอบการค้าประมาณ ไม่เกิน 66 ตารางเมตร และประเภทของการค้าที่เหมาะสมในการดำเนินกิจการคือร้านสะดวกซื้อและร้านตัดผม-เสริมสวย การเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัยเป็นร้านค้าในเคหะชุมชนฯ เกิดจากผู้บริโภคที่อยู่อาศัยในชุมชนเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด ในการกระตุ้นให้มีการนำที่อยู่อาศัยเป็นร้านค้า โดยทำเลที่ตั้งทางกายภาพมีผลกระทบที่สัมพันธ์กับทางด้านพฤติกรรมของผู้อยู่อาศัย ดังนั้นการกำหนดที่ตั้งร้านค้าซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมกายภาพต้องสามารถสนองประโยชน์ทางด้านการใช้สอยและการสังคมที่เกิดขึ้นเป็นสำคัญ โดยต้องมีการกำหนดการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์อาคารและที่ดินให้สอดคล้องกันen
dc.description.abstractalternativeThe conversion of residential space to shophouse use in housing communities creates problems in community physical management as well as community and social problems. This study, therefore, addresses the issue of conversion and the reasons for altering residential space in housing communities. The result of this study will be taken into consideration to indicate the category, location and service areas of shophouses as well as the physical environment management problem resulting from designing and planning housing communities based on the case study of Samut Prakan 1 Housing Community.The study procedure is composed of the following consideration of the theories and concepts employed in the framework of converting residential space to shophouse space within housing communities; supporting research; a location survey of residential space converted to shophouse space and shophouses assigned by the National Housing Authority. Data on location, economy and behavior are collected through physical survey maps and questionaires . Three hundred and five subjects, randomly selected from the consumers residing in Samut Prakan 1 Housing Community, were statistically compared with 126 subjects who run the shops in Samut Prakan 1 Housing Community taken from the population census. The result of the study proves the hypothesis stating that the alteration of residential space into shophouse space corresponded with the following changes and factors: 1) The location and distance between the residential area and those altered to shophouses: converted shophouses are found on the sides of the secondary road and at the intersections. The highest number of shophouses are found within 100-200 metres of these, which is closer in distance than the National Housing standard. 2) Three types of business found more in the converted shophouses than in the shops assigned by the National Housing are convenience stores, personal services and maintenance services. 3) The behavior of consumer distate the type of business of the converted shophouses. The main consumer for converted shophouses are those living nearby, which accounts for 70% of all the consumers in the community, most of whom are children living nearby. On the other hand, the main consumers for the assigned shophouses are mostly the residents, most of which are homekeepers; these account for 98.5% of all the consumers. The business space of the assigned shophouses is 82 square metres while the converted shophouse takes up 66 square metres. It is also found that the income per metre of the converted shophouses is almost the same amount as the assigned shophouses. To conclude, the service distance of the converted shophouses is no further than 200 metres and they are located on the open streets and the corner of the streets. The shop size is relatively small with a space of no more than 66 square metres. The business types suitable for them are convenience stores and barbers or salons. The cause of the conversion of residential space to shophouse space is chiefly the consumers in the housing community. The physical location affects the behavior of the residents; therefore, assigning the location of the shops should correspond with the function through the consistent conversion of space.en
dc.format.extent10740748 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2002.321-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectที่อยู่อาศัยen
dc.subjectการพัฒนาชุมชนen
dc.subjectเคหะen
dc.titleการเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัยเป็นร้านค้าในเคหะชุมชน : กรณีศึกษา เคหะชุมชนสมุทรปราการ 1en
dc.title.alternativeConversion of residential space to shophouse use : a case study of Samut Prakan 1 housing communityen
dc.typeThesises
dc.degree.nameเคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineเคหการes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorKundoldibya@hotmail.com, Kundoldibya.P@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2002.321-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
AroonDan.pdf10.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.