Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1019
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสราวุธ อนันตชาติ-
dc.contributor.authorคริสตีน่า ดีลอส ซันโตส-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-07-24T07:55:16Z-
dc.date.available2006-07-24T07:55:16Z-
dc.date.issued2546-
dc.identifier.isbn9741757387-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1019-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546en
dc.description.abstractการวิจัยเรื่อง "ผลของแหล่งสารในการโฆษณาต่อพฤติกรรมผู้บริโภค" มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ผลของแหล่งสารต่อพฤติกรรมผู้บริโภค 2) ผลของประเภทสินค้าต่อพฤติกรรมผู้บริโภค และ 3) ผลของแหล่งสารและประเภทสินค้าต่อพฤติกรรมผู้บริโภค โดยการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 2 การทดลอง การทดลองที่ 1 ศึกษาผลของแหล่งสารที่มีความดึงดูดใจในการโฆษณาต่อพฤติกรรมผู้บริโภค และการทดลองที่ 2 ศึกษาผลของแหล่งสารที่มีความน่าเชื่อถือในการโฆษณาต่อพฤติกรรมผู้บริโภค โดยทำการวิจัยเชิงทดลองแบบ 2x2 แฟคเทอเรียล กับกลุ่มผู้ร่วมวิจัยที่เป็นนักศึกษาเนติบัณฑิต จำนวนทั้งหมด 251 คน แบ่งเป็นผู้เข้าร่วมวิจัยในการทดลองที่ 1 จำนวน 128 คน และผู้เข้าร่วมวิจัยในการทดลองที่ 2 จำนวน 123 คน ซึ่งได้ทำการศึกษาวิจัยในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 ผลการวิจัยจากการทดลองที่ 1 พบว่า ความเชื่อในตราสินค้า, ทัศนคติต่อตราสินค้า, และความตั้งใจซื้อต่อแหล่งสารที่มีความดึงดูดใจสูง และแหล่งสารที่มีความดึงดูดใจต่ำ มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน อีกทั้ง ความเชื่อในตราสินค้า และทัศนคติต่อตราสินค้าต่อประเภทสินค้าที่ใช้เพื่อเพิ่มความดึงดูดใจ กับสินค้าที่ไม่ได้ใช้เพื่อเพิ่มความดึงดูดใจ ยังมีความแตกต่างกันอีกด้วย และความเชื่อในตราสินค้า, ทัศนคติต่อตราสินค้า, และความตั้งใจซื้อต่อแหล่งสารที่มีความดึงดูดใจและสินค้าที่ใช้เพื่อเพิ่มความดึงดูดใจ ก็มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ผลจากการทดลองที่ 2 พบว่า ความเชื่อในตราสินค้า, ทัศนคติต่อตราสินค้า, และความตั้งใจซื้อต่อแหล่งสารที่มีความน่าเชื่อถือสูงกับแหล่งสารที่มีความน่าเชื่อถือต่ำ ก็มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน อีกทั้งความเชื่อในตราสินค้า และความตั้งใจซื้อของผู้เข้าร่วมการวิจัยต่อประเภทสินค้าที่ต้องการความน่าเชื่อถือมาสนับสนุน กับตราสินค้าที่ไม่ต้องการความน่าเชื่อถือมาสนับสนุน มีความแตกต่างกันด้วยเช่นกัน แต่ไม่พบความแตกต่างกันระหว่างความเชื่อในตราสินค้า, ทัศนคติต่อตราสินค้า, และความตั้งใจซื้อต่อแหล่งสารที่มีความน่าเชื่อถือและสินค้าที่ต้องการความน่าเชื่อถือมาสนับสนุน นอกจากนั้นในการนำเสนอที่สอดคล้องกันระหว่างแหล่งสารและสินค้าพบว่า คุณลักษณะของความดึงดูดใจของแหล่งสารมีผลต่อความเชื่อในตราสินค้า และทัศนคติในตราสินค้า มากกว่าคุณลักษณะความน่าเชื่อถือของแหล่งสารen
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to examine: 1) effects of sources in advertising on consumer behavior 2) effects of product types in advertising on consumer behavior and 3) interaction effects of sources and product types in advertising on consumer behavior. Two 2x2 factorial designed experiments were conducted during February 2004: The first one was focused on source attractiveness while the second one was focused on source credibility. The participants were 251 law students in the THAIBAR training program (125 for the former and 123 for the latter). The results from study one indicated that highly attractive source was more effective than low attractive source on brand belief, brand attitude, and purchase intent. But there were only effects on brand belief and brand attitude if the participants were shown by product that enhances one's attractiveness. When examining the effect of sources and product types in advertising simultaneously, the interaction effects were found on consumer's brand belief, brand attitude, and purchase intent. In study two, it was found that highly credible source was more effective than low credible source on brand belief, brand attitude, and purchase intent. But there were effects on only brand belief and purchase intent if the participants were demonstrated by product that needed credibility support. There were no interaction effects between the credible sources and product that needed credibility support on consumer behavior. In addition, it was discovered that source attractiveness was more effective than source credibility on consumer behavior in the current settings.en
dc.format.extent2128116 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2003.1276-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectโฆษณาen
dc.subjectพฤติกรรมผู้บริโภคen
dc.titleผลของแหล่งสารในการโฆษณาต่อพฤติกรรมผู้บริโภคen
dc.title.alternativeEffects of sources in advertising on consumer behavioren
dc.typeThesisen
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineการโฆษณาen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSaravudh.A@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2003.1276-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Christina.pdf2.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.