Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10202
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศิรางค์ ทับสายทอง-
dc.contributor.authorศิวะพร เทพภิบาล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา-
dc.date.accessioned2009-08-17T08:24:30Z-
dc.date.available2009-08-17T08:24:30Z-
dc.date.issued2546-
dc.identifier.isbn9741749678-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10202-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับอำนาจควบคุมตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนจำนวนทั้งสิ้น 1,134 คน ได้รับการสุ่มเลือกจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนรัฐบาลจำนวน 6 โรงเรียน หลังการตอบแบบวัดอำนาจควบคุมตนของ Nowicki & Strickland (1973) แล้วกลุ่มตัวอย่างได้รับการแบ่งกลุ่มเป็น 2 กลุ่ม โดยเป็นกลุ่มที่มีความเชื่อในอำนาจควบคุมภายในตน จำนวน 150 คน (คะแนนเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 1-20) และเป็นกลุ่มที่มีความเชื่อในอำนาจควบคุมภายนอกตนอีก 150 คน (คะแนนเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 80-100) จากนั้นให้ทั้ง 2 กลุ่มทำแบบวัดการเห็นคุณค่าในตนเองของ Coopersmith (1967) และแบบสอบการคิดอย่างมีวิจารณญาณตามแนวคิดของ Ennis และ Millman (1985) นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์การจำแนกกลุ่ม (Discriminant Analysis) ด้วยวิธีการวิเคราะห์แบบขั้นตอน (Stepwise) โดยใช้สถิติวิลค์สแลมดา (Wilks' Lambda) เป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกตัวแปรเข้าวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยทั้ง 2 ปัจจัย คือ การเห็นคุณค่าในตนเองและการคิดอย่างมีวิจารณญาณสามารถอธิบายความแปรปรวนของการเป็นสมาชิกระหว่างกลุ่มที่มีความเชื่อในอำนาจควบคุมภายในตนและกลุ่มที่มีความเชื่อในอำนาจควบคุมภายนอกตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ได้ถึงร้อยละ 62.4 ดังนี้ คือ การเห็นคุณค่าในตนเอง (Ci=0.871) และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Ci=0.518) และจำนวนเปอร์เซ็นต์ของประสิทธิภาพในการทำนายการเป็นสมาชิกกลุ่มอำนาจควบคุมของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 เท่ากับ 90.3en
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to study factors related to locus of control of mathayomsuksa-4 students. 1,134 subjects of this research were randomized from mathayomsuksa 4 students enrolling in 6 public schools. After completing the locus of control inventory (Nowicki & Strickland, 1973), the subjects were divided into two groups : 150 internal locus of control group (scores from percentile 1st-20th), 150 external locus of control group (scores from percentile 80th-100th). Then, the two groups were assigned to complete the self-esteem inventory (Coopersmith, 1967) and Cornell Critical Thinking test Level X (Ennis & Millman, 1985). The data were analysed by stepwise discriminant analysis and Wilks's lambda method was used as the entry criterion. The result is as follows : The 2 factors : Self-esteem and critical thinking are able to account for the variance of group membership between internal and external locus of control of mathayomsuksa 4 students 62.4 percent : self-esteem (Ci=0.871) and critical thinking (Ci=0.518) And the percentage of effectiveness in predicting group membership of locus of control of mathayomsuksa 4 students is 90.3.en
dc.format.extent1378043 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectแนวคิดอำนาจควบคุมตนen
dc.subjectความนับถือตนเองen
dc.subjectนักเรียนมัธยมศึกษาen
dc.titleปัจจัยที่สัมพันธ์กับอำนาจควบคุมตนของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4en
dc.title.alternativeFactors related to locus of control of mathayomsuksa four studentsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineจิตวิทยาพัฒนาการes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSirang.T@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sivaporn.pdf1.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.