Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1023
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เมตตา วิวัฒนานุกูล | - |
dc.contributor.author | ศิรินาถ ปิ่นทองพันธ์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ | - |
dc.coverage.spatial | ไทย (ภาคใต้) | - |
dc.date.accessioned | 2006-07-24T08:18:25Z | - |
dc.date.available | 2006-07-24T08:18:25Z | - |
dc.date.issued | 2546 | - |
dc.identifier.isbn | 9741754655 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1023 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการรับรู้และการสื่อสารในการแสดงอัตลักษณ์ความเป็นชาวใต้ของนักศึกษาภาคใต้ในกรุงเทพมหานครจากมุมมองของนักศึกษาภาคใต้และเพื่อนนักศึกษาร่วมสถาบันต่างภูมิภาคว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างกันหรือไม่อย่างไร โดยใช้การเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์นักศึกษาภาคใต้ และเพื่อนนักศึกษาร่วมสถาบันต่างภูมิภาคว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างกันหรือไม่อย่างไร โดยใช้การเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์นักศึกษาภาคใต้ และเพื่อนนักศึกษาร่วมสถาบันต่างภูมิภาค กลุ่มละ 16 คน และเก็บแบบสอบถามอีกกลุ่มละ 100 คน จากมหาวิทยาลัย 4 แห่ง ในเขตกรุงเทพมหานครของทั้งภาครัฐ และเอกชน ผลการวิจัยพบว่า 1. นักศึกษาภาคใต้ และเพื่อนนักศึกษาร่วมสถาบันต่างภูมิภาค มีการรับรู้อัตลักษณ์ความเป็นชาวใต้ที่ต่างจากคนภาคอื่นในด้านภาษาสูงที่สุด นักศึกษาภาคใต้จะมองตนเองในทางบวกค่อนข้างสูง แต่กลับคิดว่าคนต่างภาคจะมองตนเองในทางลบ ในขณะที่เพื่อนนักศึกษาร่วมสถาบันต่างภูมิภาคกลับมองนักศึกษาภาคใต้ในทางลบต่ำกว่าที่นักศึกษาภาคใต้คิด บุคคลที่ถือเป็นสัญลักษณ์ของคนใต้ จากความคิดเห็นส่วนใหญ่ของกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม สอดคล้องกัน คือ นายชวน หลีกภัย 2. กลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม มีความคิดเห็นสอดคล้องกัน คือ ส่วนใหญ่เห็นว่านักศึกษาภาคใต้ในกรุงเทพมหานครมีวิธีการในการพูดคุยระหว่างเพื่อนชาวใต้กับเพื่อนต่างภาคไม่แตกต่างกัน แต่ระดับค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของนักศึกษาภาคใต้สูงกว่าเพื่อนต่างภาค โดยภาพรวมนักศึกษาภาคใต้คิดว่าตนเองมีการพูดคุยสื่อสารกับเพื่อนชาวใต้ด้วยกันมากกว่าและเข้าใจง่ายกว่าเพื่อนต่างภาค รวมทั้งมีความสัมพันธ์และสนิทสนมระหว่างเพื่อนชาวใต้มากกว่าเพื่อนต่างภาค นอกจากนี้ยังพบว่านักศึกษาภาคใต้มีการแสดงอัตลักษณ์ความเป็นคนใต้ผ่านทางค่านิยม/พฤติกรรมสูงที่สุด สำหรับในด้านการปรับตัว พบว่า นักศึกษาภาคใต้มีลักษณะผสมคือยังคงมีความเป็นคนใต้และรับเอาวัฒนธรรมของคนกรุงเทพฯด้วยมากที่สุด 3. ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับการแสดงอัตลักษณ์ของนักศึกษาภาคใต้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ภูมิลำเนา และความบ่อยในการเข้ากรุงเทพมหานครก่อนเรียน จากตัวแปรที่ทำการทดสอบทั้งหมด 5 ตัวแปร คือ เพศ มหาวิทยาลัย ภูมิลำเนา ความย่อยในการเข้ากรุงเทพมหานครก่อนเรียน และลักษณะการพักอาศัย | en |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this study is to study and compare the similarity and difference in perception and communication in manifesting southerner identity of southern students living in Bangkok from the perspective of southern students and their friends of other ethnic groups. In-depth interview with 16 samples and 100 survey questionaires from both parties are conducted. The results show that 1. Most southern students and their friends of other ethnic groups perceive "the usage of native of southern language" as a southerner unique identity. Southern students have a relatively higher positive self-image while they think other people will perceive their ethnic identity in a more positive way than the southern students expect Chaun Leakpai is mentioned as a representative who possesses southern identity the most. 2. Though both sampling groups agree that southern students show no differences in the way they talk to other ethinc friends, the mean score of southern student group is higher than that of other ethnic friends. In general, southern students think that they can communicate to their same-ethnic friends more easily, and can understand more than to their other ethnic friends. Also, they perceive more intimate relationships among same-ethnic friends than other-ethnic friends. Also, it is found that southern students manifest their identity through their value and behavior the most. In terms of adaptation, southern students still maintain their southern identity while adjusting themselves partly to Bangkok culture. 3. Variables which are found to have statistically significant relationship with communication in manifesting southern identity are their birthplace, and the frequency of coming to Bangkok before studying while other variables : sex, type of university, and living condition have no significant relationship. | en |
dc.format.extent | 833527 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2003.376 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม | en |
dc.subject | อัตลักษณ์ | en |
dc.subject | นักศึกษา--ไทย (ภาคใต้) | en |
dc.title | การรับรู้และการสื่อสารในการแสดงอัตลักษณ์ความเป็นชาวใต้ของนักศึกษาภาคใต้ในกรุงเทพมหานคร | en |
dc.title.alternative | Perception and communication in manifesting southerner identity of southern students living in Bangkok | en |
dc.type | Thesis | en |
dc.degree.name | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต | en |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en |
dc.degree.discipline | วาทวิทยา | en |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2003.376 | - |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sirinat.pdf | 918.3 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.