Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10254
Title: การเปิดรับข่าวสาร ทัศนคติ และเหตุผลของการตัดสินใจซื้อวิทยุติดตามตัวของเยาวชนที่ศึกษาในระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Information exposure attitude and reason to the decision making on buying pagers of university students in Bangkok Metropolis
Authors: ธีระพล ท้วมชุมพร
Advisors: พัชนี เชยจรรยา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Patchanee.C@chula.ac.th
Subjects: วิทยุติดตามตัว
การตัดสินใจ
การจัดซื้อ
พฤติกรรมผู้บริโภค
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึง 1) ความแตกต่างของเหตุผลการตัดสินใจซื้อวิทยุติดตามตัวของเยาวชนที่มีสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมที่แตกต่างกัน 2) ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารจากสื่อชนิดต่างๆ กับเหตุผลการตัดสินใจซื้อวิทยุติดตามตัว 3) ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติของเยาวชนต่อคุณลักษณะของวิทยุติดตามตัวกับการตัดสนใจซื้อ โดยศึกษากลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 420 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ค่าสถิติ t-test และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ซึ่งประมวลผลโดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ผลการวิจัยพบว่า 1. เพศชาย และเพศหญิงมีเหตุผลของการตัดสินใจซื้อวิทยุติดตามตัวไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2. เยาวชนที่มีอายุต่างกัน มีเหตุผลของการตัดสินใจซื้อวิทยุติดตามตัวไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3. เยาวชนที่มีรายได้แตกต่างกัน มีเหตุผลของการตัดสินใจซื้อแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 4. การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับวิทยุติดตามตัว จากสื่อมวลชนไม่มีความสัมพันธ์กับเหตุผลการตัดสินใจซื้อ นอกจากสื่อเฉพาะกิจ และสื่อบุคคลเท่านั้นที่มีความสัมพันธ์กับเหตุผลการตัดสินใจซื้ออย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 และ 0.01 5. ทัศนคติต่อคุณลักษณะของวิทยุติดตามตัว มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับการตัดสินใจซื้อวิทยุติดตามตัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
Other Abstract: The objectives of this research were to study 1) Reasons to the decision making on buying pagers of university students in various social and economic status. 2) The correlation between information exposure and reasons to the decision making on buying pagers. 3) The correlation between attitude of university students toward the product attributes and reasons to the decision making on buying pagers. Questionnaires were used to collect data from 420 samples. Frequency, percentage, mean, standard diviation, Pearson's Product Moment Correlation Coefficients, t-test, and Analysis of Variance (One-way ANOVA) for the analysis of the data. SPSS program for Windows was used for data processing. The results of the study were as follows: 1. Reasons to the decision making on buying pagers between male and female were not significantly different. 2. Reason to buy pager among university students of different ages were not significantly different. 3. Reason to buy pager among university students of different income were significantly different at p = 0.001 level. 4. Invormation exposure on pagers from mass media among university students are not correlated with decision making on buying pagers. However specialized media and personal media show significantly at P = 0.05 level and P = 0.01 level correlation with decision making on buying pagers. 5. Attitude toward product attributes are positively correlated with decision making on buying pagers.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10254
ISBN: 9743321799
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Teeraphol_Th_front.pdf764.44 kBAdobe PDFView/Open
Teeraphol_Th_ch1.pdf759.42 kBAdobe PDFView/Open
Teeraphol_Th_ch2.pdf1.01 MBAdobe PDFView/Open
Teeraphol_Th_ch3.pdf771.59 kBAdobe PDFView/Open
Teeraphol_Th_ch4.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open
Teeraphol_Th_ch5.pdf835.59 kBAdobe PDFView/Open
Teeraphol_Th_back.pdf818.78 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.