Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10263
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุภาพรรณ โคตรจรัส-
dc.contributor.authorเปรมพร มั่นเสมอ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา-
dc.date.accessioned2009-08-18T10:41:47Z-
dc.date.available2009-08-18T10:41:47Z-
dc.date.issued2545-
dc.identifier.isbn9741725752-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10263-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545en
dc.description.abstractศึกษาการปรับตัวในมหาวิทยาลัย และกลวิธีการเผชิญปัญหาของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 และเปรียบเทียบการปรับตัวในมหาวิทยาลัย และกลวิธีการเผชิญปัญหาของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่มีภูมิหลังแตกต่างกันในด้านเพศ สาขาวิชา ประเภทของสถานศึกษา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย นิสิตนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน จำนวนทั้งสิ้น 651 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถามการปรับตัวในมหาวิทยาลัย และแบบวัดการเผชิญปัญหา วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ ค่าสถิติพื้นฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนสามทาง และวิเคราะห์เปรียบเทียบพหุคูณด้วยวิธีของ Dunnett's T3 ผลการวิจัยพบว่า 1. นิสิตนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ปรับตัวได้ดีในด้านความผูกพันกับสถานศึกษาและความมุ่งมั่นในเป้าหมาย 2. นิสิตนักศึกษาชั้นปีที่ 1 โดยทั่วไปใช้กลวิธีการเผชิญปัญหาที่มีประสิทธิภาพ โดยใช้การเผชิญปัญหาแบบมุ่งจัดการกับปัญหามาก ใช้การเผชิญปัญหาแบบแสวงหาการสนับสนุนทางสังคมค่อนข้างมาก และใช้การเผชิญปัญหาแบบหลีกหนีค่อนข้างน้อย 3. ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนสามทางของการปรับตัวในมหาวิทยาลัย และกลวิธีการเผชิญปัญหาจำแนกตามเพศ สาขาวิชา ประเภทของสถานศึกษา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่มีนัยสำคัญ มีดังนี้ 3.1 นิสิตนักศึกษาหญิงปรับตัวด้านสังคมได้ดีกว่า และใช้กลวิธีการเผชิญปัญหาแบบแสวงหาการสนับสนุนทางสังคมมากกว่าชาย 3.2 นิสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัยเอกชนปรับตัวด้านการเรียนได้ดีกว่า แต่ปรับตัวด้านส่วนตัวและอารมณ์ได้น้อยกว่านิสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัยของรัฐ 3.3 นิสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัยเอกชนใช้กลวิธีการเผชิญปัญหาแบบหลีกหนี มากกว่านิสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัยของรัฐ 3.4 นิสิตนักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงและปานกลาง ปรับตัวโดยรวมและปรับตัวด้านความผูกพันกับสถานศึกษา และความมุ่งมั่นในเป้าหมายได้ดีกว่านิสิตนักศึกษา ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ 3.5 นิสิตนักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปานกลาง ปรับตัวด้านส่วนตัวและอารมณ์ได้ดีกว่านิสิตนักศึกษา ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ 3.6 นิสิตนักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง ใช้กลวิธีการเผชิญปัญหาแบบแสวงหาการสนับสนุนทางสังคม มากกว่านิสิตนักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำen
dc.description.abstractalternativeTo investigate 1) the adjustment to college and coping strategies of first-year college students and 2) the effects of studentsʼ gender, field of study, university types and academic achievement on their adjustment and coping strategies. Participants were 651 undergraduate students from government and private universities. The instrument used were The Student Adaptation to College Questionnaire (SACQ) and the Coping Scale. Data was analyzed using a three-way ANOVA design followed by post-hoc multiple comparisons with Dunnettʼs T3 test. The major findings were as follows: 1. First-year college students reported high level of institutional attachment/goal commitment. 2. First-year college students used effective means of coping: used more problem-focused strategies, used moderately high level of social support-seeking strategies, and used moderately low avoidance strategies. 3. The three-way ANOVA yielded significant effects for gender, university types and academic achievement on adjustment to college and coping strategies: 3.1 First-year female college students reported more social adjustment and used more social support-seeking strategies than first-year male college students. 3.2 Private college students reported more academic adjustment, but less personal/emotional adjustment than government college students. 3.3 Private college students used more avoidance strategies than government college students. 3.4 Students with high and moderate academic achievement reported more total adjustment and institutional attachment/goal commitment than those with low academic achievement. 3.5 Students with moderate academic achievement reported more personal/emotional adjustment than those with low academic achievement. 3.6 Students with high academic achievement used more social support-seeking strategies than those with low academic achievement.en
dc.format.extent2092873 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการปรับตัว (จิตวิทยา)en
dc.subjectผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนen
dc.titleการปรับตัว กลวิธีการเผชิญปัญหา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1en
dc.title.alternativeAdjustment, coping strategies, and academic achievement in first-year college studentsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineจิตวิทยาการปรึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSupapan.K@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Premporn.pdf2.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.