Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10269
Title: ความคิดเห็นของหัวหน้าครัวเรือนเกี่ยวกับการตั้งโรงงานอุตสาหกรรมในบริเวณใกล้ หรือภายในชุมชนที่อยู่อาศัย
Other Titles: Opinions of household heads towards the settlement of industrial factories in their neighborhood
Authors: รุ่งทิพย์ พานิช
Advisors: สุนันทา สุวรรโณดม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยาลัยประชากรศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: หัวหน้าครัวเรือน
โรงงาน -- สถานที่ตั้ง
อุตสาหกรรม -- สถานที่ตั้ง
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางประชากรเศรษฐกิจ สังคม และปัจจัยทางด้านสภาพแวดล้อมของหัวหน้าครัวเรือนตัวอย่างกับความคิดเห็นต่อการตั้งโรงงานอุตสาหกรรมในชุมชนที่อยู่อาศัยของเขาเหล่านั้น ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ครั้งนี้ ได้รับความอนุเคราะห์จากวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ใช้ข้อมูลของโครงการศึกษาเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติและจัดลำดับความสำคัญการลงทุนเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม จังหวัดเพชรบุรี พ.ศ. 2538 จำนวน 868 ตัวอย่าง นอกจากนี้ยังได้รวบรวมแนวคิดและทฤษฎีต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางในการวิเคราะห์ครั้งนี้รวมทั้งจัดทำแบบจำลองแนวคิดในการศึกษาไว้ด้วย ผลการศึกษาพบประเด็นที่น่าสนใจคือ หัวหน้าครัวเรือนส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่า การมีโรงงานอุตสาหกรรมมาตั้งในชุมชนน่าจะเป็นผลดีต่อชุมชนมากกว่าจะเป็นผลเสียต่อชุมชนโดยเฉพาะประชากรในกลุ่มผู้ที่มีรายได้น้อย แนวโน้มของสถิติข้อมูล แสดงให้เห็นว่า มีความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตามที่ได้สร้างไว้เพื่อการวิเคราะห์ครั้งนี้ แต่ทั้งนี้ก็มีระดับของความสัมพันธ์มากน้อยแตกต่างกันไป ตามลักษณะของตัวแปร และเมื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วยไคสแควร์ พบว่า อาชีพ การศึกษา รายได้ เขตที่พักอาศัย ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม และพื้นที่ชายฝั่งหรือพื้นที่ตอนใน เป็นตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นต่อการตั้งโรงงานอุตสาหกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ เท่ากับหรือต่ำกว่า 0.05
Other Abstract: The objectives of this study were to investigate the relationship between the demographic social-economic as well as environmental characteristic of household heads and their opinions toward the settlement of industrial factories in their neighborhood. Data using for this analysis were drawn from the Phechaburi project in 1995 conducted by College of Population Studies, Chulalongkorn University. The sampled household heads used in this analysis were 868 in total. Related concepts and theories were taken to be the guideline of this study and the conceptual model has been set. The interesting results emerged from this study was a majority of household heads had the optimistic opimistic opinions on the settlement of industrial factories in their neighborhood especially those who were in the low income group. Data suggested that there were the relationship between the set of independent and dependent variables. However, the differences in the level of such relationship were depended upon the difference of the set of variables. The results of Chi-square test confirmed that occupation, education, income, rural or urban residence, participation in the environmental recovering project and coastal land or hinterland had significant relationship with household heads' opinions toward the settlement of industrial factories in their neighborhood.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประชากรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10269
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2000.100
ISBN: 9743472673
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2000.100
Type: Thesis
Appears in Collections:Pop - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
rungtip.pdf988.03 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.