Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10282
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ณิฏฐารัตน์ ปภาวสิทธิ์ | - |
dc.contributor.advisor | อัจฉราภรณ์ เปี่ยมสมบูรณ์ | - |
dc.contributor.author | จำลอง โตอ่อน | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2009-08-19T08:31:47Z | - |
dc.date.available | 2009-08-19T08:31:47Z | - |
dc.date.issued | 2542 | - |
dc.identifier.isbn | 9743330917 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10282 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 | en |
dc.description.abstract | ศึกษาชนิด ความหนาแน่นและมวลชีวภาพของสัตว์ทะเลหน้าดินขนาดใหญ่ในบริเวณป่าชายเลนปากแม่น้ำท่าจีน จังหวัดสมุทรสาคร โดยทำการศึกษาในบริเวณป่าชายเลน 2 ฝั่งของปากแม่น้ำท่าจีน คือป่าชายเลนฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออก ป่าชายเลนฝั่งตะวันตกของปากแม่น้ำประกอบด้วย 6 บริเวณศึกษาได้แก่ นากุ้งร้าง ป่าชายเลนปลูกอายุ 1 ปี ป่าชายเลนปลูกอายุ 5 ปี ป่าจาก ป่าชายเลนธรรมชาติและพื้นที่ดินเลนด้านนอกป่าชายเลน ส่วนป่าชายเลนฝั่งตะวันออกของปากแม่น้ำมี 1 บริเวณศึกษาคือป่าชายเลนเสื่อมโทรมทำการศึกษาระหว่างเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2540 ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2541 โดยเก็บตัวอย่างทุก 4 เดือน พบชนิดสัตว์ทะเลหน้าดินทั้งหมดจำนวน 68 ชนิด โดยมีสัตว์จำพวกครัสตาเซียน หอยและไส้เดือนทะเลเป็นกลุ่มเด่น สัตว์ทะเลหน้าดินที่พบสามารถแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มตามแหล่งที่อยู่อาศัยได้แก่กลุ่มที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่มีร่มเงาของป่าชายเลนธรรมชาติ ป่าจากและป่าชายเลนปลูกอายุ 5 ปี กลุ่มที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่ค่อนข้างโล่งแจ้งในป่าชายเลนปลูกอายุ 1 ปี และนากุ้งร้าง กลุ่มที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่โล่งแจ้งในบริเวณพื้นที่ดินเลนด้านนอกป่าชายเลนและกลุ่มที่อาศัยอยู่ในบริเวณป่าชายเลนเสื่อมโทรม ในบริเวณป่าชายเลนฝั่งตะวันตกของปากแม่น้ำพบความหนาแน่นของสัตว์ทะเลหน้าดินในบริเวณป่าชายเลนธรรมชาติ ป่าจากและป่าชายเลนปลูกอายุ 5 ปี มีค่าใกล้เคียงกัน ส่วนมวลชีวภาพของสัตว์ทะเลหน้าดิน (น้ำหนักแห้ง) พบมากที่สุดในบริเวณป่าชายเลนธรรมชาติ (6.39+-2.22 กรัมต่อตารางเมตร) และพบต่ำสุดในบริเวณพื้นที่ดินเลนด้วยนอกป่าชายเลน (2.26+-1.06 กรัมต่อตารางเมตร) สำหรับบริเวณป่าชายเลนฝั่งตะวันออกของปากแม่น้ำในบริเวณป่าชายเลนเสื่อมโทรมพบความหนาแน่นและมวลชีวภาพมีค่าสูงสุดเนื่องจากพบหอยสองฝาชนิด Tellina sp. ชุกชุมมาก ในการศึกษาชนิด การกระจาย ความหนาแน่นและมวลชีวภาพของปูก้ามดาบ โดยทำการศึกษาในบริเวณป่าชายเลนฝั่งตะวันตกของปากแม่น้ำเปรียบเทียบระหว่าง 5 บริเวณศึกษาได้แก่ ป่าชายเลนปลูกอายุ 1 ปี ป่าชายเลนปลูกอายุ 5 ปี ป่าจาก ป่าชายเลนธรรมชาติและพื้นที่ดินเลนด้านนอกป่าชายเลน ระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2541 โดยเก็บตัวอย่างทุก 2 เดือน พบปูก้ามดาบ 2 ชนิดคือ Uca (Deltuca) forcipata และ U. (D.) dussumieri spinata ปูก้ามดาบชนิด U. (D.) forcipata มีการกระจายส่วนใหญ่ในบริเวณป่าชายเลนตอนบนของฝั่งที่ติดกับแผ่นดิน โดยพบความหนาแน่นและมวลชีวภาพในบริเวณป่าชายเลนปลูกอายุ 1 ปี มากกว่าบริเวณศึกษาอื่นๆ ปูก้ามดาบชนิด U.(D.) forcipata ไม่พบการกระจายในบริเวณพื้นที่ดินเลนที่อยู่ติดกับทะเล ส่วนปูก้ามดาบชนิด U.(D.) dussumleri spinata มีการกระจายส่วนใหญ่ในบริเวณที่อยู่ติดกับทะเล ไม่พบการกระจายในบริเวณป่าชายเลนปลูกอายุ 1 ปี ป่าชายเลนปลูกอายุ 5 ปีและป่าจากซึ่งเป็นบริเวณที่อยู่ตอนบนของชายฝั่ง พบความหนาแน่นและมวลชีวภาพของปูก้ามดาบชนิดนี้ในบริเวณพื้นที่ดินเลนมากว่าบริเวณป่าชายเลนตามธรรมชาติ นอกจากนี้ได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบสัดส่วนการเจริญ (allometric growth) ของปูก้ามดาบทั้งสองชนิด การศึกษาครั้งนี้พบว่าดินในบริเวณป่าชายเลนปากแม่น้ำท่าจีนจัดเป็นดินที่มีปริมาณอินทรียสารสูงมากดังนั้นการกระจายความหนาแน่นของปูก้ามดาบจึงมีความสัมพันธ์กับลักษณะตะกอนดินอย่างมีนัยสำคัญ | en |
dc.description.abstractalternative | Species composition, abundance and biomass of benthic macrofauna in the mangrove forest, Tha Chin Estuary, Samut Sakhon province were investigated during May 1997 to May 1998. The samplings were scheduled every four month. The transect along the western coastline of the estuary comprised of abandoned shrimp farm, mangrove plantation of 1 year, mangrove plantation of 5 years, Nypa forest, natural forest and tidal mudflat. The deteriorating mangrove forest on the eastern coastline was also investigated. A total of 68 species/taxa were collected from this area. Major benthic groups were crustaceans, gastropods, bivalves and polychaetes. Benthic community structure were categorized into 4 major groups: those under the tree canopy of natural forest, Nypa forest and mangrove plantation of 5 year;those in the open area of mangrove plantation of 1 year and abandoned shrimp farm;those in the tidal mudflat outside the forest and those in the deteriorating managrove forest. The densities of these benthos in the natural forest, Nypa forest and mangrove plantation of 5 years were similar. The high biomass recorded in the natural forest of 6.39+-2.22 gm.m-2. The lowest biomass of 2.26+-1.06 gm.m-2 was recorded from the tidal mudflat. Density and biomass was highest in the deteriorating mangrove forest on the eastern coastline due to the abundance of bivalves, Tellina sp. The distritution, abundance and biomass of fiddler crabs in the mangrove forests along the western coastline excluding the abandone shrimp farm, were investigated during November, 1997 to September, 1998 on bimonthly schedule. Uca (Deltuca) forcipata and U. (D.) dussumieri spinata were the two species found in the area. Fiddler crabs, U. (D.) forcipata, were found distribution on the landward mangrove forests with the highest density and biomass occurring in the mangrove plantation of 1 year. U. (D.) dussumieri spinata limited their distribution on the seaward tidal mudflat and the mangrove fringes. They were not found in the landward mangrove forests namely the mangrove plantation areas and Nypa forest. Density and biomass of this fiddler crab were higher in the tidal mudflat than the natural forest. Comparative studies on allometric growth of these two fiddler crabs were also carried out. The present study revealed that the organic content in the sediments of the Tha Chin estuary were quite high. Thus the distribution and abundance of fiddler crabs were significantly related to the sediment characteristics. | en |
dc.format.extent | 1348404 bytes | - |
dc.format.extent | 2915408 bytes | - |
dc.format.extent | 1161184 bytes | - |
dc.format.extent | 5700456 bytes | - |
dc.format.extent | 3213502 bytes | - |
dc.format.extent | 970908 bytes | - |
dc.format.extent | 1992066 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | สัตว์หน้าดิน | en |
dc.subject | ปูก้ามดาบ | en |
dc.subject | ป่าชายเลน -- ไทย -- สมุทรสาคร | en |
dc.subject | แม่น้ำท่าจีน | en |
dc.title | สัตว์ทะเลหน้าดินขนาดใหญ่และการกระจายของปูก้ามดาบในป่าชายเลนบริเวณปากแม่น้ำท่าจีน จังหวัดสมุทรสาคร | en |
dc.title.alternative | Benthic macrofauna and distribution of fiddler crabs in mangrove forest, Tha Chin Estuary, Samut Sakhon province | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | วิทยาศาสตร์ทางทะเล | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | nitthar@sc.chula.ac.th, Nittharatana.P@Chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | ajcharap@sc.chula.ac.th, Ajcharaporn.P@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Jumlong_To_front.pdf | 1.32 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Jumlong_To_ch1.pdf | 2.85 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Jumlong_To_ch2.pdf | 1.13 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Jumlong_To_ch3.pdf | 5.57 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Jumlong_To_ch4.pdf | 3.14 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Jumlong_To_ch5.pdf | 948.15 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Jumlong_To_back.pdf | 1.95 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.