Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10290
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศิริชัย กาญจนวาสี-
dc.contributor.authorกนิษฐา แสนแก้ว-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2009-08-19T09:11:13Z-
dc.date.available2009-08-19T09:11:13Z-
dc.date.issued2541-
dc.identifier.isbn9743315578-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10290-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพของวิธีการปรับแต้มเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมศึกษาตอนปลายระหว่างวิธีการปรับเทียบอิควิเปอร์เซ็นไตล์, เชิงเส้นตรงและไออาร์ที โดยศึกษากรณีของกลุ่มตัวอย่างที่มีแผนการเรียนแตกต่างกันและจบจากโรงเรียนที่มีคุณภาพการศึกษาแตกต่างกัน การเปรียบเทียบคุณภาพการปรับเทียบกระทำโดยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณระหว่างแต้มเฉลี่ยสะสมที่ปรับแล้วในแต่ละวิธี ซึ่งมีผลการเรียนเฉลี่ยระดับอุดมศึกษา ภาคเรียนที่ 1 และคะแนนสอบเข้ามหาวิทยาลัยเป็นเกณฑ์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการทำนายของแต่ละวิธี กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นนิสิตชั้นปีที่ 2 คณะครุศาสตร์ที่เข้าศึกษาในปีการศึกษา 2540 ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยศิลปากร จำนวน 559 คน เครื่องมือที่ใช้ในการปรับเทียบเป็นแบบทดสอบความถนัดทางการเรียน จำนวน 50 ข้อ ซึ่งครอบคลุมเนื้อหาด้านความสามารถทางภาษา, ความสามารถทางการคิดคำนวณ และความสามารถเชิงวิเคราะห์ โดยมีค่าความเที่ยงของแบบสอบทั้งฉบับเท่ากับ 0.78 ผลการวิจัยพบว่า 1. แต้มเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่ปรับแล้วทั้งสามวิธี มีความสัมพันธ์กับคะแนนสอบเข้ามหาวิทยาลัยและผลการเรียนเฉลี่ยระดับอุดมศึกษา ภาคเรียนที่ 1 สูงกว่าแต้มเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมศึกษาตอนปลายปกติ 2. ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ พบว่า 2.1 เมื่อใช้ผลการเรียนเฉลี่ยระดับอุดมศึกษา ภาคเรียนที่ 1 เป็นเกณฑ์ วิธีไออาร์ทีเป็นวิธีการปรับเทียบที่มีคุณภาพมากที่สุด รองลงมาคือ วิธีเชิงเส้นตรงและวิธีอิควิเปอร์เซ็นไตล์ ตามลำดับ 2.2 เมื่อใช้คะแนนสอบเข้ามหาวิทยาลัยเป็นเกณฑ์ วิธีอิควิเปอร์เซ็นไตล์เป็นวิธีการปรับเทียบที่มีคุณภาพมากที่สุด รองลงมาคือ วิธีไออาร์ทีและวิธีเชิงเส้นตรง ตามลำดับen
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study was to compare the quality of high school cumulative grade point average adjustment methods among equipercentile, linear and IRT equating methods when the examinees' programs and educational quality of high schools were different. The quality of equating methods were compared based multiple regression analysis. The criterion variables were university entrance examination scores and the first semester grade point average. The samples were 559 second-year students of faculty of education for its entering class of 1997. Four universities in this study were Chulalongkorn, Srinakharinwirot, Kasetsart and Silpakorn University. The anchor test was Scholastic Aptitude Test with 50 items. The test consisted of verbal, numerical and analytical reasoning sections. The reliability of the test was 0.78. The major findings were as follow: 1. Equipercentile-, linear-and IRT-based high school GPA had a significantly higher correlation with university entrance examination scores and the first-semester GPA than the correlation of high school GPA with university entrance examination scores and the first-semester GPA. 2. Basing on multiple regression analysis, it was found that: 2.1 When the criterion was the first-semester GPA, the IRT equating method had the best quality while linear and equipercentile equating method were secon and third, respectively. 2.2 When the criterion was university entrance examination scores, equipercentile equating method had the best quality while IRT and linear equating method were second and third, respectively.en
dc.format.extent1425749 bytes-
dc.format.extent1221771 bytes-
dc.format.extent2474760 bytes-
dc.format.extent1614122 bytes-
dc.format.extent2591108 bytes-
dc.format.extent1091651 bytes-
dc.format.extent2669314 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการวัดความถนัดทางการเรียนen
dc.subjectผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนen
dc.subjectการให้คะแนน (นักเรียนและนักศึกษา)en
dc.subjectสถาบันอุดมศึกษา -- การสอบคัดเลือกen
dc.titleการปรับแต้มเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ด้วยคะแนนความถนัดทางการเรียน : การเปรียบเทียบระหว่างวิธีการปรับเทียบอิควิเปอร์เซ็นไตล์ เชิงเส้นตรงและไออาร์ทีen
dc.title.alternativeHigh school cumulative grade point average adjustment with scholastic aptitude scores : a comparison among equipercentile, linear and IRT equating methodsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการวัดและประเมินผลการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSirichai.K@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kanittha_Sa_front.pdf1.39 MBAdobe PDFView/Open
Kanittha_Sa_ch1.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open
Kanittha_Sa_ch2.pdf2.42 MBAdobe PDFView/Open
Kanittha_Sa_ch3.pdf1.58 MBAdobe PDFView/Open
Kanittha_Sa_ch4.pdf2.53 MBAdobe PDFView/Open
Kanittha_Sa_ch5.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open
Kanittha_Sa_back.pdf2.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.