Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10378
Title: การคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหาในคดีอาญา มิให้ต้องรับสารภาพโดยไม่สมัครใจ
Other Titles: Protection of the crirminal accused's right in the case of involuntary confession
Authors: ปิยวรรณ ดีนาน
Advisors: วีระพงษ์ บุญโญภาส
กุลพล พลวัน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Viraphong.B@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: การรับสารภาพ
สิทธิผู้ต้องหา -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
ผู้ต้องหา
การสอบสวนคดีอาญา
รัฐธรรมนูญ -- ไทย
วิธีพิจารณาความอาญา -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: "คำรับสารภาพ" เป็นการให้การปรักปรำตนเองอย่างหนึ่งที่มีผลทางกฎหมาย ทำให้ผู้รับสารภาพอาจถูกฟ้องร้องดำเนินคดีได้ และเป็นพยานบอกเล่าประเภทหนึ่งที่ศาลสามารถรับฟังมาลงโทษจำเลยได้ ถ้ามีพยานหลักฐานแวดล้อมประกอบ ทำให้คำรับสารภาพของผู้ต้องหาถูกละเมิดอยู่เสมอในชั้นสอบสวน ทั้งๆ ที่มีกฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์คุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหา ในเรื่องคำรับสารภาพอยู่แล้วว่า คำรับสารภาพของผู้ต้องหาต้องไม่เกิดจากความไม่สมัครใจคือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่คุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหา ตามที่เป็นหลักสากลที่นานาประเทศยอมรับ ในต่างประเทศรัฐพยายามคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหาอย่างกว้างขวาง แม้รัฐธรรมนูญจะไม่ได้เขียนไว้อย่างชัดเจนก็ตาม แต่ศาลฎีกาก็พยายามตีความของคำสารภาพที่ไม่สมัครใจให้กว้างมาก โดยยึดหลักการว่าถ้าเป็นคำรับสารภาพที่ไม่สมัครใจแล้ว จะไม่รับฟังพยานหลักฐานที่เป็นคำสารภาพนั้น รวมถึงพยานหลักฐานอื่นที่ได้มาจากคำสารภาพที่ไม่สมัครใจ รวมถึงพยายามแก้ปัญหาจากพฤติการณ์ก่อนที่ผู้ต้องหาจะให้การด้วยว่า ต้องได้รับการแจ้งสิทธิตามกฎหมายให้ครบถ้วนจากเจ้าพนักงานก่อน หากเจ้าพนักงานไม่ปฏิบัติตามก็ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิของผู้ต้องหา โดยเฉพาะสิทธิในการมีทนายเป็นผู้ช่วยเหลือ แนวทางการต่อรองคำรับสารภาพ รวมถึงการกันผู้ต้องหาไว้เป็นพยานเพื่อเข้ามาช่วยให้ กระบวนการตรวจสอบคำให้การให้เป็นไปด้วยความสมัครใจ สำหรับประเทศไทยนั้นจากการศึกษาจะเห็นว่า มีกฎหมายรองรับการคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหาอยู่แล้ว ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา แต่ยังมีช่องว่างจากการที่ระบบกฎหมายของประเทศไทย แยกการสอบสวนจากการฟ้องร้อง เมื่อถึงกระบวนการฟ้องร้องก็ไม่มีการเข้าร่วม เข้ามาตรวจสอบโดยศาลในชั้นไต่สวนมูลฟ้องของพนักงานอัยการอีกครั้งหนึ่ง ทำให้เห็นว่าขาดกระบวนการคานอำนาจโดยองค์กรของรัฐที่เกี่ยวข้องกับ กระบวนการยุติธรรมในการคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหาในเรื่องคำรับสารภาพ ทำให้เกิดคำรับสารภาพที่ไม่สมัครใจขึ้น วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ผู้เขียนเห็นว่าการแก้ปัญหาคำรับสารภาพที่ไม่สมัครใจนั้น ไม่อาจแก้ปัญหาในทางกฎหมายได้เพียงอย่างเดียว เพราะปัญหาไม่ได้อยู่ที่ตัวกฎหมายอย่างเดียว เนื่องจากกฎหมายได้เขียนไว้อย่างครอบคลุมแล้ว แต่อยู่ที่เจ้าพนักงานและหน่วยงานที่สนับสนุนการปฎิบัติงานของเจ้าพนักงานในสังกัดด้วย รวมถึงองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องที่จะต้องปรับปรุงนโยบายทางการบริหารงานในด้านต่าง ๆ ในการแสวงหาพยานหลักฐาน และเพิ่มมาตราการต่าง ๆ ภายในองค์กร เพื่อตรวจสอบคำสารภาพที่ไม่สมัครใจ รวมทั้งการเพิ่มมาตราการทางกฎหมายมาสนับสนุนและคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหาที่รับสารภาพโดยไม่สมัครใจ
Other Abstract: "Confession" is an evidence having legal adverse impact on the confessor and may result in commencement of a criminal charge, and also is a non eye witness evidence that the judge may rely on to convict the confessor if there is other sufficient surrounding evidence. The confession is usually violated in the police interrogation process whereas the Constitution of Thailand and the Criminal Procedural Code provide that by no means and in no event shall any confession be involuntary. Such legislation from the legal perspective has the principle of protection of the accused' s right acceptable worldwide. In other countries, the governments put much effort in protecting the accused's right. Despite unclearness of their constitutional laws, the supreme court attempts to interpret the term : involuntary confession in such a broad way that any evidence making up the such confession including evidence submitted and derived from such confession shall be rejected. Moreover, such effort of correction of any circumstance involving interrogation process causes the government officer to have to completely read the accused his legal rights, prior to any interrogation, failing such, the officer is deemed to violate the accused's right. Additionally, those governments have paved a way to have a plea bargain system as another examining tool to ascertain voluntary confession. In Thailand, the studies reveal that the Criminal Procedural Code in accordance with the Constitution already protects the accused's rights Nevertheless, a loophole is unavoidable in that Thai laws separate police interrogation stage from prosecution process. Furthermore, at the early stage of prosecution by state prosecutor, cross examination by the court is not possible, and that points out that there is no check and balance among justiciary authorities involving protection of the accused right in confession. Such absence of check and balance leads to involuntary confession. As a composer of this thesis, I am of opinion that to prevent the criminal accessed from the involuntary confession problem, the existing law alone already having broad provisions on this issue may not do so. Rather, all the relevant government authorities including their sub-units and the underlying officers must improve their ways, policies and operations in obtaining evidence and in balance and check system of power among those authorities. In addition the state should have more legislation and regulations to protect the criminal accused's right.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10378
ISBN: 9741721226
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Piyawan.pdf2.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.