Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10380
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพรชัย สิทธิศรัณย์กุล-
dc.contributor.advisorอานนท์ วรยิ่งยง-
dc.contributor.authorนวพรรณ ผลบุญ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2009-08-24T08:44:32Z-
dc.date.available2009-08-24T08:44:32Z-
dc.date.issued2545-
dc.identifier.isbn9741720548-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10380-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545en
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาเหตุการตายและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสุขภาพของแพทย์ไทย ปี พ.ศ. 2535 ถึงปี พ.ศ. 2544 โดยแยกตาม อายุ เพศ ภูมิภาค การประกอบอาชีพเฉพาะทาง รูปแบบการดำเนินชีวิต จำนวน 349 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์คู่สมรสหรือญาติผู้ใกล้ชิดกับแพทย์ผู้เสียชีวิตโดยใช้แบบสำรวจ ระหว่างเดือน กันยายน 2545 ถึงมีนาคม 2546 ผลการศึกษาพบว่า เก็บข้อมูลได้ทั้งหมด 262 ราย จาก 349 ราย คิดเป็นร้อยละ 75.1 พบผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดเป็นคู่สมรสแพทย์ผู้เสียชีวิต แพทย์ผู้เสียชีวิตเป็นแพทย์ชาย 225 ราย แพทย์หญิง 37 ราย อายุตายเฉลี่ยของแพทย์ชาย และแพทย์หญิงคือ 62.09 ปี และ 55.38 ปี อายุตายเฉลี่ยของแพทย์ไทย 61.15 ปี สาเหตุการเสียชีวิตของแพทย์ไทย 3 อันดับแรกเป็นดังนี้ อันดับหนึ่งโรคมะเร็ง ร้อยละ 35.1 อันดับสองคือโรคหัวใจและหลอดเลือดร้อยละ 28.2 อันดับสามคือการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุร้อยละ 12.6 พิจารณาการเสียชีวิตจากมะเร็ง 3 อันดับแรก ดังนี้ อันดับที่หนึ่งคือ มะเร็งตับร้อยละ 21.7 รองลงมาคือมะเร็งปอดร้อยละ 17.4 และมะเร็งทางเดินอาหาร ร้อยละ 17.4 วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ พบว่า การสูบบุหรี่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตจากมะเร็งและโรคหัวใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กลุ่มอายุที่มากขึ้นมีความสัมพันธ์กับสาเหตุการเสียชีวิตจากโรงมะเร็งอย่างมีนัยสำคัญทางสถ ิติ และการใช้ยาคลายเครียดมีความสัมพันธ์กับสาเหตุการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งน้อยกว่าการไม่ใช้ยา แพทย์ที่ประกอบวิชาชีพเวชกรรมในกลุ่มสาขาเวชปฏิบัติทั่วไป สัมพันธ์กับสาเหตุการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งน้อยกว่าสาขาอื่นๆ และพบว่าสัมพันธ์กับสาเหตุการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเทียบกับสาขาอื่นๆ แพทย์ที่มีภูมิลำเนาอยู่ทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนภาคกลางสัมพันธ์กับการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุน้อยกว่าภาคอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การศึกษาครั้งนี้นับเป็นการรวบรวมฐานข้อมูลการตายของแพทย์ไทยเป็นครั้งแรก พบว่าฐานข้อมูลจากแพทยสภายังมีความบกพร่อง การศึกษาครั้งนี้ทำให้ทราบปัญหาเบื้องต้น และสามารถดำเนินการเพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสาเหตุการเสียชีวิต และเป็นการนำแนวทางการเฝ้าระวังโรคและภาวะเจ็บป่วยที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้มาปรับใช้ในงานวิจัยอื่นๆ ต่อไปen
dc.description.abstractalternativeThe purposes of descriptive study was to explore causes of death and the factors related to health of Thai physicians died during 1992 and 2001. These factors are age, gender, region, specialty, and life style. Cases were 349 physicians died during the period and their close relatives were interviewed by the author using the questionnaire. The study was conducted during September 2002 and March 2003. The author could obtain data from 262 out of 349 cases (75.1%). The majority of informants were female and spouse of cases. Cases were 225 male and 37 female physicians. Their average age at death were 62.09 and 55.38 years, respectively, with an overall average of 61.15 years. Three leading causes of death were cancer (35.1%), cardiovascular disease (28.2%), and accident (12.6%). Top three among cancer were hepatic (21.7%), lung (17.4%), and gastrointestinal (17.4%). Analyses of the factors revealed that smoking related to cancer and cardiovascular deaths, ageing related to cancer deaths, and use of anxiolytics related to non cancer deaths. Being general practitioners were related to accident and non cancer deaths compared to other speciaties. Being physicians in the North and North Eastern regions were related to accident, but in the Central region were related to non accident compared to other regions. This research is the first study to explore causes of death of Thai Physicians. The study reveals several defects in Thai Medical Council's registry that need to be corrected. The study also reveals basic characteristics of causes of death and some related factors that need more researches, surveillances, and interventions.en
dc.format.extent806171 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectแพทย์ -- การตายen
dc.subjectแพทย์ -- สุขภาพและอนามัยen
dc.titleสาเหตุการตายและสิ่งคุกคามต่อสุขภาพของแพทย์ไทย พ.ศ. 2535 ถึง 2544en
dc.title.alternativeCauses of death and health hazards to Thai physicians 1992 to 2001en
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineอาชีวเวชศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorPornchai.Si@Chula.ac.th-
dc.email.advisorArnond.V@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
navapun.pdf787.28 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.