Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10399
Title: มิติสัมพันธ์ในภาพวาดของเด็กวัยระหว่าง 5-9 ปี : อิทธิพลของพื้นภาพรูปวงกลมที่มีต่อเส้นฐาน
Other Titles: Spatial relationship in drawing of children ages 5-6 : influences of a circular format upon baseline
Authors: อาวุธ มะกล่ำทอง
Advisors: มะลิฉัตร เอื้ออานันท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Malichat.u@chula.ac.th
Subjects: ศิลปะกับเด็ก
ศิลปกรรมของเด็ก
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษามิติสัมพันธ์ในภาพวาดของเด็กวัยระหว่าง 5-9 ปี โดยเน้นปรากฏการณ์เส้นฐานและอิทธิพลของพื้นภาพรูปวงกลมที่มีต่อการวาดเส้นฐาน รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างอิทธิพลของขอบพื้นภาพรูปวงกลมที่มีต่อการวาดเส้นฐาน กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นเด็กนักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1, 2 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 โรงเรียนอนุบาลบ้านหมอ (พัฒนราษฎร์) สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสระบุรี ปีการศึกษา 2541 จำนวน 320 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) กระดาษวาดภาพรูปสี่เหลี่ยมและรูปวงกลม 2) สีเทียนและดินสอดำ 3) คำสั่งที่ใช้ในการวาดภาพ 4) เกณฑ์ในการวิเคราะห์เส้นฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ในการวาดภาพบนพื้นภาพรูปวงกลมทั้ง 2 ครั้ง ภาพจำนวนหนึ่งโดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็กแสดงว่าขอบพื้นภาพรูปวงกลมมีอิทธิพลต่อการวาดเส้นฐานของเด็ก ปริมาณของอิทธิพลขอบกระดาษ ร้อยละ 44.00 และ 36.00 ในกลุ่มเด็กวัย 5 ปี ร้อยละ 22.92 และ 27.08 ในกลุ่มเด็กวัย 6 ปี ปรากฏการณ์ลักษณะนี้จะลดลงอย่างรวดเร็วในเด็กที่มีวัยสูงขึ้น 2) การหาความสัมพันธ์ระหว่างการวาดเส้นฐานแสดงอิทธิพลของขอบพื้นภาพรูปวงกลมกับวัยของเด็กนั้น พบว่า มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ในการวิจัยนี้ยังพบข้อมูลน่าสนใจเกี่ยวกับพฤติกรรมการวาดภาพของเด็ก ได้พบว่าในกระบวนการวาดภาพนั้น เด็กทั้งหมดใช้ดินสอร่างภาพก่อนการระบายสี เด็กจำนวนหนึ่งในทุกกลุ่มวัยหมุนพื้นภาพระหว่างการวาดภาพและระบายสี ซึ่งจะมีน้อยลงในเด็กเล็ก
Other Abstract: The purpose of this research was to study spatial relationship in drawing of children ages 5-9 emphasizing baseline phenomenon, influences of a circular format upon baseline and relationship between influences of a circular format upon baseline and age of children. Subjects were 320 first and second level kindergarten and pratom suksa 1-3 children of Banmo elementary school under the jurisdiction of the Office of Saraburi Provincial Primary Education in 1998 academic year. The instruments were 1) rectangular and circular papers 2) crayons and pencil 3) instruction for drawing 4) a set of criteria for baseline analysis The findings were as follows: 1) Drawing on the circular formats in twice occations indicated that young children, in particular, appear to be influenced by edge of circular format. For 44.00 and 36.00 percent of children included curved baseline in their drawings; 22.92 and 27.08 percent 6 years old did as well. This indication declined rapidly among the older children. 2) Chi-Square test indicated the relationship between ages of children and the influences of a circular format upon baseline significantly at the .001 level. There are more interesting data concerning children's drawing behaviors, such as, all of subjects in all ages used a pencil for preliminary drawing (sketch) before completing with crayons. A number of children of all rotated their papers around while they were drawing and painting. This behavior was decreased among younger children.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ศิลปศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10399
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1999.512
ISBN: 9743336591
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1999.512
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Arwut_Ma_front.pdf743.56 kBAdobe PDFView/Open
Arwut_Ma_ch1.pdf796.28 kBAdobe PDFView/Open
Arwut_Ma_ch2.pdf1.34 MBAdobe PDFView/Open
Arwut_Ma_ch3.pdf786.84 kBAdobe PDFView/Open
Arwut_Ma_ch4.pdf730.25 kBAdobe PDFView/Open
Arwut_Ma_ch5.pdf866.4 kBAdobe PDFView/Open
Arwut_Ma_back.pdf3.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.