Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10410
Title: ความหลากหลายและความชุกชุมของแพลงก์ตอนพืชในป่าชายเลน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง
Other Titles: Diversity and abundance of phytoplankton in mangrove forest at Sikao District, Trang Province
Authors: วิชญา กันบัว
Advisors: อัจฉราภรณ์ เปี่ยมสมบูรณ์
ไทยถาวร เลิศวิทยาประสิทธิ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ajcharap@sc.chula.ac.th
Thaitha@sc.chula.ac.th
Subjects: แพลงค์ตอนพืช
ป่าชายเลน -- ไทย (ภาคใต้)
สิเกา (ตรัง)
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาแพลงก์ตอนพืชในบริเวณป่าชายเลนคลองสิเกา จังหวัดตรัง ช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2539 ถึง พฤษภาคม พ.ศ. 2540 มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบถึงองค์ประกอบชนิดและปริมาณของกลุ่มประชากรแพลงก์ตอนพืชในบริเวณป่าชายเลนที่ผันแปรในแต่ละเดือน พร้อมทั้งทราบถึงความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงความหนาแน่นของกลุ่มประชากรแพลงก์ตอนพืชในป่าชายเลนกับปัจจัยสิ่งแวดล้อมโดยทำการเก็บตัวอย่างทุกสองเดือน จุดเก็บตัวอย่างแบ่งออกเป็น 6 สถานี เก็บตัวอย่าง 2 ช่วงคือ ขณะน้ำกำลังขึ้นและขณะน้ำขึ้นสูงสุด พร้อมกันนี้ได้ทำการตรวจวัดความเค็ม อุณหภูมิ ค่าพีเอช ความโปร่งแสง ความลึก และปริมาณออกซิเจนละลายน้ำ และทำการวิเคราะห์คุณภาพน้ำบริเวณที่ศึกษาคือ ปริมาณฟอสเฟต ปริมาณไนโตรเจนละลายน้ำ (ไนเตรทและไนไตรท์) ปริมาณซิลิเกต ปริมาณคลอโรฟิลล์เอ ปริมาณอินทรีย์คาร์บอนรวมและปริมาณอินทรีย์ไนโตรเจนรวม ควบคู่กันไปกับการเก็บตัวอย่างแพลงก์ตอนพืชด้วย จากการศึกษาพบแพลงก์ตอนพืชทั้งหมด 3 ดิวิชั่น 5 คลาส รวม 62 สกุล แบ่งเป็นกลุ่มต่างๆ ดังนี้ แพลงก์ตอนพืชกลุ่มไดอะตอมพบจำนวนสกุลมากที่สุดรวม 47 สกุล รองลงมาคือ กลุ่มไดโนแฟลกเจลเลตพบ 7 สกุล กลุ่มสาหร่ายสีเขียวพบ 4 สกุล กลุ่มสาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียวพบ 3 สกุล และกลุ่มซิลิโคแฟลกเจลเลตพบจำนวนสกุลน้อยสุดเพียง 1 สกุล จำนวนสกุลรวมของแพลงก์ตอนพืชสูงที่สุด 56 สกุลในช่วงฤดูฝน คือ เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2539 และพบจำนวนสกุลต่ำที่สุด 40 สกุลในช่วงฤดูแล้ง คือ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2539 ความหนาแน่นของแพลงก์ตอนพืชมีค่าต่ำสุด 40,632 เซลล์ต่อลิตร ในช่วงฤดูแล้ง คือ เดือนมีนาคม พ.ศ. 2539 และค่าความหนาแน่นสูงสุด 202,319 เซลล์ต่อลิตรในช่วงฤดูเดียวกัน คือ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2539 แพลงก์ตอนพืชสกุลที่พบชุกชุมมาก คือ แพลงก์ตอนพืชกลุ่มไดอะตอมในสกุล Guinardia sp., Thalassionema spp., Rhizosolenia spp., Thalassiosira spp., Thalassiothrix spp. และ Cyclotella spp. และแพลงก์ตอนพืชกลุ่มสาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียวในสกุล Anabaena sp. และ Oscillatoria spp. ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงความหนาแน่นของแพลงก์ตอนพืช คือ อุณหภูมิ ความเค็มและปริมาณสารอาหาร ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าบริเวณป่าชายเลนคลองสิเกา จังหวัดตรัง มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ เนื่องจากความหลากหลายของจำนวนสกุลและความหนาแน่นของแพลงก์ตอนพืชในแต่ละสกุลมีค่าสูง
Other Abstract: Composition and density of phytoplankton in mangrove forest at Sikao District, Trang Province, was determined from May 1996 to May 1997. The objectives of this study were to elucidate the spatial and temporal variationin phytoplankton community and to establish the relationship between plankton diversity and abundance and environmental parameters. Phytoplankton sampling was carried out every other month from 6 different locations along Klong Sikao. Phytoplankton samples were collected at the in-coming tide and the stagnant hightide. Salinity, temperature, pH, transparency, depth, dissolved oxygen were recorded in situ and water samples were collected for further analyses of phosphate, nitrate and nitrite, silicate, chlorophylla, total organic carbon and total organic nitrogen. Sixty-two genera of phytoplankton from 5 classes 3 divisions found in mangrove area at Klong Sikao consisted of 47 genera of diatoms, 7 genera of dinoflagellates, 4 genera of green algae, 3 genera of blue-green algae and 1 genera of silicoflagellate. The highest number of 56 genera of phytoplankton was recorded in rainy season of August 1996 and the lowest number of 40 genera was found in dry season of December 1996. Maximum density of phytoplankton of 202,319 cells/l occurred in dry season in December 1996 and the minimum density of 40,632 cells/l occurred in this same season in March 1997. Phytoplankton found in abundance were diatoms; Guinardia sp., Thalassionema spp., Rhizosolenia spp., Thalassiosira spp., Thalassiothrix spp. and Cyclotella spp. and blue-green algae; Anabaena sp. and Oscillatoria spp. Variation in diversity and abundance of phytoplankton in Klong Sikao showed the tendency to relate with temperature, salinity and the concentration of nutrients. This result indicates the pristine and productive nature of Klong Sikao mangrove based on the high diversity and abundance of phytoplankton.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์ทางทะเล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10410
ISBN: 9746397087
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Vichaya_Gu_front.pdf764.48 kBAdobe PDFView/Open
Vichaya_Gu_ch1.pdf887.74 kBAdobe PDFView/Open
Vichaya_Gu_ch2.pdf922.36 kBAdobe PDFView/Open
Vichaya_Gu_ch3.pdf1.27 MBAdobe PDFView/Open
Vichaya_Gu_ch4.pdf842.38 kBAdobe PDFView/Open
Vichaya_Gu_ch5.pdf699.83 kBAdobe PDFView/Open
Vichaya_Gu_back.pdf1.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.