Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10417
Title: | การประเมินระบบกระจายยาสำหรับ 1 วันในหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย ที่โรงพยาบาลปทุมธานี |
Other Titles: | Evaluation of one-day drug distribution system in male medical ward at Pathumthani Hospital |
Authors: | กฤติมา ขาวละออ |
Advisors: | นารัต เกษตรทัต |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์ |
Advisor's Email: | Narat.K@Chula.ac.th |
Subjects: | โรงพยาบาลปทุมธานี โรงพยาบาล -- ระบบการจ่ายยา ยา -- การบริหาร |
Issue Date: | 2545 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ประเมินระบบกระจายยาผู้ป่วยในสำหรับ 1 วันที่พัฒนาขึ้น โดยเปรียบเทียบข้อมูลก่อนและหลังการเปลี่ยนแปลงระบบกระจายยา ได้แก่ 1) จำนวนและลักษณะของความคลาดเคลื่อนในการใช้ยาที่เกิดขึ้น 2) ระยะเวลาในการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง 3) จำนวนขนานยาและมูลค่าของยาสำรองบนหอผู้ป่วย และสำรวจความคิดเห็นของบุคลากรทางการแพทย์ ต่อระบบกระจายยาที่พัฒนาขึ้น ดำเนินการเก็บข้อมูลบนหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย โดยแบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม ตามช่วงเวลาและระบบกระจายยาที่ใช้ กลุ่มแรกเป็นผู้ป่วยที่เข้ามารักษาตัวในช่วงวันที่ 1-30 กันยายน 2545 และยังใช้ระบบกระจายยาแบบเดิม มีจำนวน 226 ราย กลุ่มที่ 2 เป็นผู้ป่วยที่เข้ามารักษาตัวในช่วงวันที่ 1-31 ธันวาคม 2545 และใช้ระบบกระจายยาที่พัฒนาขึ้น จำนวน 217 ราย ผลการวิจัย ในระบบเดิม พบความคลาดเคลื่อนในการใช้ยารวม 759 ครั้ง คิดเป็น 3.51% ของโอกาสในการเกิดความคลาดเคลื่อนในการใช้ยาทั้งหมดในระบบเดิม ซึ่งมีจำนวนมากกว่าในระบบใหม่ที่พบความคลาดเคลื่อนในการใช้ยา 203 ครั้ง คิดเป็น 0.99% ของโอกาสในการเกิดความคลาดเคลื่อนในการใช้ยาทั้งหมดในระบบใหม่ ความคลาดเคลื่อนในการใช้ยาที่พบจาก 2 ระบบ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ประเภทของความคลาดเคลื่อนในการใช้ยาที่พบมากที่สุดในทั้ง 2 ระบบคือ ความคลาดเคลื่อนในการคัดลอกคำสั่งใช้ยา ในระบบเดิม พบ 662 ครั้ง คิดเป็น 87.22% ของความคลาดเคลื่อนในการใช้ยาที่เกิดขึ้น และในระบบใหม่พบ 134 ครั้ง คิดเป็น 66.01% ของความคลาดเคลื่อนในการใช้ยาที่เกิดขึ้น แต่ไม่พบว่ามีความแตกต่างของความคลาดเคลื่อน ในการเขียนคำสั่งใช้ยาของแพทย์ในทั้ง 2 ระบบ (p = 0.09) เมื่อศึกษาระยะเวลาในการทำงาน ระยะเวลาในการทำงานในระบบใหม่เพิ่มขึ้นจากระบบเดิมในขั้นตอนต่อไปนี้ การคัดลอกคำสั่งใช้ยาลงในใบลงเวชภัณฑ์หรือแบบบันทึกการใช้ยา การเตรียมฉลาก การจัดยา การตรวจสอบความถูกต้องของยาก่อนส่งกลับไปยังหอผู้ป่วย และการจัดยารับประทานชนิดเม็ด โดยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ในส่วนของจำนวนขนานและมูลค่ายาสำรองบนหอผู้ป่วย จำนวนขนานยาในระบบใหม่ลดลง 23.08% หรือ 25 รายการ และมูลค่ายาสำรองบนหอผู้ป่วยลดลง 62.05% เป็นเงิน 20,390.07 บาท จากการสำรวจความคิดเห็นของบุคลากรทางการแพทย์ ที่มีต่อระบบกระจายยาผู้ป่วยใน จำนวน 29 ราย ที่เกี่ยวข้องกับระบบกระจายยาผู้ป่วยใน พบว่า ส่วนใหญ่คิดว่าระบบใหม่จะเกิดความคลาดเคลื่อนในการใช้ยาน้อยลง มีระบบตรวจสอบซึ่งกันและกันระหว่างเภสัชกรและพยาบาล สามารถควบคุมยาสำรองบนหอผู้ป่วยได้ ถึงแม้ว่า ระบบกระจายยาใหม่จะพลความคลาดเคลื่อนในการใช้ยาน้อยลง แต่เพิ่มภาระงานให้กับบุคลากรทางการแพทย์ ดังนั้น จึงควรมีการพัฒนาระบบให้มีประสิทธิภาพและชี้แจงทำความเข้าใจกับบุคลากรทางการแพทย์ในการใช้ระบบใหม่ที่พัฒนาขึ้น และขยายไปใช้ในหอผู้ป่วยอื่นต่อไปเมื่อระบบมีประสิทธิภาพแล้ว |
Other Abstract: | To evaluate the one-day drug distribution system by comparing data obtained from the previous drug distribution system with the new system in terms of 1) number and characteristics of medication errors 2) work performance time of drug distribution system 3) number and cost of ward-stocked medicines. Opinions of health care providers involved in the drug distribution system were studied as well. Study was performed in male medical ward; patients were divided into 2 groups according to the drug distribution system used in that period. The first group was 226 patients who admitted during 1-30 September 2002 when the previous drug distribution system was provided. The second group was patients admitted during 1-31 December 2002 while the new drug distribution system was implemented. A total of 759 medication errors (MEs) were found in the previous drug distribution system which was 3.51% of total chance of errors (TCEs = 21,640), in the second drug distribution system, 203 errors were found which was 0.99% of TCEs (20,484). The number of MEs of the two systems were significantly different (p < 0.05). Transcription errors were mostly found in both systems, there were 662 errors in the previous system (87.22% of total MEs of previous system) and 134 errors in the new system (66.01% of total MEs of new system). There was no statistical difference (p =0.09) of prescribing error in the two system. The work performance time of the new system was longer than the previous one. There were significant differences (p < 0.05) on the time of transcribing process, labeling process, drug dispensing process, drug verification process and tablet dispensing (on ward) process. From the study, 25 items (23.08%) of ward-stocked medicines decreased which costed about 20,390.07 Baht (62.05%) Survey of opinions on the new system were performed in 29 health care providers involved in the drug distribution system which resulted that the new system can help decreasing medication errors, verifying between nurses and pharmacists, controlling items and cost of ward-stocked medicines. Although less medication errors were found in the new system, it increased workload to health care providers. Therefore, this new system should be developed for practical practice. Explicit explanation of the system should be performed for better understanding. Finally implementation of the appropriate drug distribution to other wards should be extended. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 |
Degree Name: | เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เภสัชกรรมคลินิก |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10417 |
ISBN: | 9741724063 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Pharm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Krittima.pdf | 1.06 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.