Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10418
Title: การวิเคราะห์ต้นทุนและผลได้ของการรักษาบำบัดทดแทนไตโดยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
Other Titles: Cost-Benefit Analysis of Hemodialysis
Authors: เปี่ยมศักดิ์ มีชัย
Advisors: แกมทอง อินทรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
Advisor's Email: Kaemthong.I@chula.ac.th
Subjects: ต้นทุนและประสิทธิผล
การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม -- แง่เศรษฐกิจ
ไตเทียม -- แง่เศรษฐกิจ
ไต -- ค่าใช้จ่าย
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ทางด้านต้นทุนและผลได้ของการรักษาบำบัดทดแทนไตโดยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม โดยแบ่งหน่วยไตเทียมที่ทำการศึกษาออกเป็น 4 กลุ่ม คือ ขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ และหน่วยไตเทียมในต่างจังหวัด ที่มีการดำเนินงานมาไม่ต่ำกว่า 5 ปี โดยโรงพยาบาลตัวอย่างที่เป็นตัวแทนของแต่ละกลุ่ม คือ เลิดสิน วชิระ ศิริราช และโรงพยาบาลอุดรธานี การวิเคราะห์ทางด้านต้นทุนได้แบ่งหน่วยงานออกเป็น 2 หน่วยงาน คือ หน่วยไตเทียมและหน่วยสนับสนุนการรักษาพยาบาล โดยทำการศึกษาต้นทุนทางตรงทางการแพทย์ ต้นทุนทางตรงที่ไม่เกี่ยวกับทางการแพทย์ และต้นทุนทางอ้อมคือรายได้ที่เสียไปจากการมาฟอกเลือด การวิเคราะห์ทางด้านผลได้ทางตรงคือ ค่ารักษาพยาบาลของโรคไตและโรคแทรกซ้อนที่ประหยัดได้ จากการฟอกเลือด และวัดผลได้ทางอ้อมจากรายได้ที่คาดว่าจะได้รับในอนาคตถ้ายังมีชีวิตอยู่ ผลการศึกษาพบว่า ในระยาวนั้นหน่วยไตเทียมขนาดใหญ่ จะมีผลได้สุทธิติดลบเท่ากับ -5,937,392 บาท ในขณะที่หน่วยไตเทียมขนาดเล็ก กลาง และในต่างจังหวัดนั้นยังคงมีผลได้สุทธิมากกว่าศูนย์ คือ 3,684,561 บาท 7,603,273 บาท และ 13,549,661 บาทตามลำดับ ส่วนผลได้สุทธิที่ได้ต่อปีของหน่วยไตเทียมทุกขนาดนั้นมีค่ามากกว่าศูนย์ โดยสัดส่วนต้นทุนค่าลงทุน ค่าวัสดุ และค่าแรง ของหน่วยไตเทียมแต่ละแห่ง มีสัดส่วนใกล้เคียงกัน คือ เป็นต้นทุนค่าลงทุนร้อยละ 24.84 ค่าวัสดุร้อยละ 42.54 ค่าแรงร้อยละ 32.62 โดยต้นทุนทั้งหมดต่อครั้งของหน่วยไตเทียมขนาดเล็กมีค่าเท่ากับ 2,328 บาท ขนาดกลาง 1,950 บาท ขนาดใหญ่ 4,068 บาท และในต่างจังหวัดมีค่าเท่ากับ 1,507 บาท ส่วนในภาพรวมนั้น ต้นทุนรวมทั้งหมดในการฟอกเลือดด้วยนั้นมีค่าเท่ากับ 6,677,262 บาท หรือคิดเป็น 267,090 บาทต่อราย และคิดเป็นต้นทุนต่อครั้ง 2,552 บาท โดยเป็นต้นทุนทางตรงทางการแพทย์ 4,656,495 บาท เป็นต้นทุนทางตรงที่ไม่เกี่ยวกับทางการแพทย์ 773,054 บาท โดยมีต้นทุนทางอ้อมจากรายได้ที่เสียไปจากการมาฟอกเลือดเท่ากับ 1,247,713 บาท คิดเป็นต้นทุนทางตรงทั้งหมดร้อยละ 81.32 เป็นต้นทุนทางอ้อมร้อยละ 18.68 โดยที่คิดเป็นต้นทุนของผู้ให้บริการเท่ากับ 4,883,546 บาท เป็นต้นทุนต่อหน่วยของผู้ให้บริการเท่ากับ 1,866 บาท ส่วนผลได้ที่เกิดขึ้นนั้นเป็นผลได้ทางตรงเท่ากับ 5,640,000 บาทต่อปี เป็นผลได้ทางอ้อมจากรายได้ที่คาดว่าจะได้รับถ้ายังมีชีวิตอยู่เท่ากับ 3,934,875 บาท โดยที่ผลได้ทั้งหมดคิดเป็นผลได้ทางตรงร้อยละ 58.90 และเป็นผลได้ทางอ้อมร้อยละ 41.10 ผลได้สุทธิต่อปีจากการฟอกเลือดในภาพรวมมีค่าเท่ากับ 2,897,612 บาท ซึ่งมีค่ามากกว่า ศูนย์ และอัตราส่วนผลได้ต่อต้นทุนเท่ากับ 1.43 ซึ่งมีค่ามากกว่า หนึ่ง ถือว่าควรที่จะลงทุน แต่อย่างไรก็ตาม ผลได้และต้นทุนที่ได้รับเป็นเพียงการประเมินค่าออกมาในรูปของตัวเงินเท่านั้น ยังมีต้นทุนและผลได้ที่ไม่สามารถประเมินค่าออกมาเป็นตัวเงินได้ เช่นคุณภาพชีวิต ดังนั้นไม่ว่าต้นทุนหรือผลได้ที่ได้รับจะมากกว่ากัน ในแง่ของชีวิตมนุษย์และการลงทุนทางด้านสาธารณสุขแล้วนั้น เป็นสิ่งที่จำเป็น
Other Abstract: The purpose of this study is to analyze the cost and benefit of renal replacement therapy by hemodialysis. Divided Hemodialysis Unit into 4 categories ; small size, medium size, large size, and the unit in provincial area. Using 4 hospital, namely : Lard-sin, Vachira, Sirirach, and Udonthanee Hospital, as a case study. The cost analysis divides service delivery units into two types, unit directly providing care (Hemodialysis Unit), and support units. (X-ray, LAB, and Pharmacy). This study analyze in direct medical cost, direct non-medical cost, and indirect cost. The direct benefits estimated on terms of savings in treatment costs of hemodialysis. The indirect benefits are culculated on the expected life earnings of patients. The study showed in the long term net benefit of large hemodialysis unit was negative (-5,937,392 baht) mean while positive in other hemodialysis units(3,684,561baht in small size, 7,603,273baht in medium size, and 13,549,661 baht in provincial area. The ratio of capital, material and labour cost for all hemodialysis unit are nearly by the capital cost was 24.84%, material cost was 42.54% and labour cost was 32.62%. The total cost per unit of small hemodialysis unit was 2,328 baht, medium hemodialysis unit was 1,950 baht, large hemodialysis unit was 4,068 baht and the unit in provincial area was 1,507 baht. Overview of this result ; total cost of hemodialysis was 6,677,262 bath per year, cost per case was 267,090 baht per year, and unit cost was 2,552 baht. The direct medical cost was 4,656,495 baht direct non-medical cost was 773,054 baht and indirect cost was 1,247,713 baht. The provider cost was 73.62% and patient cost was 26.38%. The total direct cost was 81.32%, and total indirect cost was 18.68%. The total benefit of hemodialysis was 9,574,875 baht per year, benefit per case was 382,995 baht per year, and unit benefit was 3,660.12 baht. The total direct benefit was 58.90% and total indirect benefit was 41.10%. Net benefit of renal replacement therapy by hemodialysis per year was 2,897,612.11 baht and cost-benefit ratio was 1.43. The study concluded that it was feasible to investment.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10418
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.611
ISBN: 9741733047
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2002.611
Type: Thesis
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
peamsak.pdf1.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.