Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10450
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สาริณีย์ กฤติยานันต์ | - |
dc.contributor.advisor | รุ่งเพ็ชร สกุลบำรุงศิลป์ | - |
dc.contributor.author | สุภาภรณ์ เจตะบุตร | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2009-08-25T09:07:58Z | - |
dc.date.available | 2009-08-25T09:07:58Z | - |
dc.date.issued | 2545 | - |
dc.identifier.isbn | 9741730098 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10450 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยเชิงทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ศูนย์สุขภาพชุมชนอุตรดิตถ์ ใน 3 ด้าน ได้แก่ ปัญหาจากการรักษาด้วยยา ความร่วมมือในการรักษา และผลทางคลินิกของผู้ป่วย แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มศึกษา โดยวิธีจับคู่ตามเพศและช่วงอายุได้ 40 คู่ หลังจากการประเมินครั้งแรกผู้ป่วยกลุ่มศึกษาจะได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรมที่ศูนย์สุขภาพชุมชนและที่บ้าน ส่วนผู้ป่วยกลุ่มควบคุมจะได้รับการบริการตามปกติที่ศูนย์ สุขภาพชุมขน หลังจากนั้น 2 เดือนจึงประเมินผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่มอีกครั้ง ผลการวิจัยพบว่าจำนวนปัญหาจากการรักษาด้วยยาในกลุ่มศึกษาลดลงร้อยละ 56.7 (จาก 120 เหลือ 52 ปัญหา) และในกลุ่มควบคุมลดลงร้อยละ 17.6 (จาก 91 เหลือ 75 ปัญหา) ปัญหาความไม่ร่วมมือในการรักษาของกลุ่มศึกษาลดลงร้อยละ 43.6 (จาก 55 เหลือ 31 ปัญหา) และในกลุ่มควบคุมลดลงร้อยละ 13.0 (จาก 46 เหลือ 40 ปัญหา) ความดันโลหิตซีสโทลิก/ไดแอสโทลิกในกลุ่มศึกษาลดลงจาก 139.2 +- 3.1/80.2 +- 1.4 เป็น 131.0 +- 2.8/78.0 +- 1.2 มิลลิเมตรปรอท และกลุ่มควบคุมลดลงจาก 137.5 +- 3.0/81.2 +- 1.5 เป็น 134.0 +- 2.6/77.2 +- 1.5 มิลลิเมตรปรอท เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของจำนวนปัญหาจากการรักษาด้วยยา และจำนวนปัญหาความไม่ร่วมมือในการรักษาของผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.000 และ p=0.003 ตามลำดับ) เมื่อเปรียบเทียบความดันซีสโทลิกและไดแอสโทลิกของผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม พบว่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.292 และ p=0.631 ตามลำดับ) แสดงว่าการบริบาลทางเภสัชกรรมสามารถลดจำนวนปัญหาจากการรักษาด้วยยา และจำนวนปัญหาความไม่ร่วมมือในการรักษาของผู้ป่วย ซึ่งส่งผลต่อการควบคุมความดันโลหิต ดังนั้นจึงควรมีการดำเนินงานบริบาลทางเภสัชกรรมที่ศูนย์สุขภาพชุมชนและที่บ้านอย่างต่อเนื่อง เพื่อประโยชน์ในการรักษาของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงต่อไป | en |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this experimental design study was to assess the outcomes of pharmaceutical care in hypertensive patients at Uttaradit Primary Care Unit (PCU) in three categories: drug therapy problems (DTPs), therapy compliance and clinical outcomes of patients. The hypertensive patients were divided into 40 pairs of the control and study groups by matching method according to their sex and ages. After the first assessment, the study group were provided pharmaceutical care at PCU and at home whereas the control group received the traditional care at PCU. The second assessment in both groups were performed at two months later. The results showed that there was a decrease of 56.7% in DTPs in the study group (from 120 to 52 problems) and 17.6% in the control group (from 91 to 75 problems). The therapy noncompliance in the study group was decreased 43.6% (from 55 to 31 problems) and 13.0% in the control group (from 46 to 40 problems). Systolic/diastolic blood pressure in the study group was reduced from 139.2 +- 3.1/80.2 +- 1.4 to 131.0 +- 2.8/78.0 +- 1.2 mmHg and reduced from 137.5 +- 3.0/81.2 +- 1.5 to 134.0 +- 2.6/77.2 +- 1.5 mmHg in the control group. The number of DTPs and therapy noncompliance between both groups were significantly different (p=0.000 and p=0.003, respectively). However, the systolic and diastolic blood pressure between both groups were not significantly different (p=0.292 and p=0.631, respectively). Therefore, pharmaceutical care can reduce the number of DTPs and therapy noncompliance in hypertensive patients and should be performed continuously at primary care unit and at home for the benefits of the patients. | en |
dc.format.extent | 892246 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ศูนย์สุขภาพชุมชน (อุตรดิตถ์) | en |
dc.subject | การบริบาลทางเภสัชกรรม -- การประเมิน | en |
dc.subject | ความดันเลือดสูง -- ผู้ป่วย | en |
dc.title | การประเมินผลการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ศูนย์สุขภาพชุมชนอุตรดิตถ์ | en |
dc.title.alternative | Evaluation of pharmaceutical care in hypertensive patients at Uttaradit Primary care Unit | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | เภสัชกรรมคลินิก | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Sarinee.K@Chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | Rungpetch.C@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Pharm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Supaporn.pdf | 871.33 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.