Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10458
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเรวดี ธรรมอุปกรณ์-
dc.contributor.advisorสูงชัย อังธารารักษ์-
dc.contributor.authorอุษาศิริ ศรีสกุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์-
dc.date.accessioned2009-08-25T09:26:53Z-
dc.date.available2009-08-25T09:26:53Z-
dc.date.issued2545-
dc.identifier.isbn9741713231-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10458-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545en
dc.description.abstractการวิจัยเชิงทดลองทางคลินิกแบบสุ่ม (Randomized, double-blind, placebo-controlled trial) เป็นเวลา 18 สัปดาห์ เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลและความปลอดภัยในระยะสั้นของการรักษาด้วยยาดอกซีซัยคลิน ยาเมโธเทรกเซท และยาหลอกในผู้ป่วยนอกโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ระยะกำเริบที่เข้ารับการรักษาในคลินิกโรคข้อและภูมิแพ้ โรงพยาบาลราชวิถี ระหว่างเดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2544 ถึง สิงหาคม พ.ศ. 2545 ผู้ป่วยทุกรายได้รับการรักษาด้วยยาคลอโรควิน 250 มก.ต่อวัน เป็นเวลาอย่างน้อย 12 สัปดาห์ และต่อเนื่องจนครบระยะการวิจัย และได้รับการหยุดยา DMARDs ชนิดอื่นๆ เป็นเวลานานมากกว่า 6 สัปดาห์ก่อนเข้าร่วมการวิจัย ผู้ป่วยทั้งหมด 42 ราย เป็นเพศหญิงร้อยละ 90.5 อายุเฉลี่ย 49.45 +- 11.35 ปี และระยะเวลาของการเป็นโรคเฉลี่ย 7.16 +- 6.12 (0.5-30.0) ปี ผู้ป่วยได้รับการสุ่มออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ได้รับยาดอกซีซัยคลิน 200 มก.ต่อวัน กลุ่มที่ได้รับยาเมโธเทรกเซท 7.5 มก.ต่อสัปดาห์ และกลุ่มที่ได้รับยาหลอก จากผู้ป่วยทั้งหมด 42 ราย ที่เข้าร่วมการศึกษาจนครบ 18 สัปดาห์ (กลุ่มยาดอกซีซัยคลิน 14 ราย กลุ่มยาเมโธเทรกเซท 14 ราย และกลุ่มยาหลอก 14 ราย) ผู้ป่วยจำนวน 5 ราย ในกลุ่มยาดอกซีซัยคลิน และอีกจำนวน 5 ราย ในกลุ่มยาเมโธเทรกเซทสามารถตอบสนองต่อการรักษาตามเกณฑ์ ACR20 (American College of Rheumatology definition of 20 percent improvement) แต่ในกลุ่มยาหลอกมีผู้ป่วย 3 ราย ที่สามารถตอบสนองต่อการรักษาดังกล่าว (ร้อยละ35.71 และ 21.43 ตามลำดับ, p=0.0721) จำนวนข้อบวม จำนวนข้อกดเจ็บ และคะแนนอาการปวดข้อของผู้ป่วยในกลุ่มยาดอกซีซัยคลินและกลุ่มยาเมโธเทรกเซทพบว่า มีแนวโน้มลดลงมากกว่าในกลุ่มยาหลอก รวมทั้งคะแนนการประเมินสภาวะทั่วไปของโรคโดยผู้ป่วยและคะแนนการประเมินสภาวะสุขภาพมีแนวโน้มลดลงมากกว่าผู้ป่วยในกลุ่มยาหลอกเช่นเดียวกัน ผู้ป่วยในกลุ่มยาดอกซีซัยคลินมีระดับ ESR ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับกลุ่มยาหลอก (p=0.048) ใกล้เคียงกับระดับ ESR ของผู้ป่วยในกลุ่มยาเมโธเทรกเซทมีแนวโน้มว่าลดลงมากกว่ากลุ่มยาหลอก ระดับ CRP ของผู้ป่วยในกลุ่มยาดอกซีซัยคลินมีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกับกลุ่มยาหลอก ขณะที่ระดับ CRP ของผู้ป่วยในกลุ่มยาเมโธเทรกเซทมีแนวโน้มลดลงอย่างชัดเจนเมื่อเทียบกับกลุ่มยาหลอก ไม่พบอาการที่ไม่พึงประสงค์รุนแรงในผู้ป่วยทั้งหมดตลอดเวลาที่ทำการศึกษา การใช้ยาคลอโรควินโดยเพิ่มยาดอกซีซัยคลิน หรือยาเมโธเทรกเซท (Step up combination) ในระยะเวลา 18 สัปดาห์นั้น มีแนวโน้มเพิ่มประสิทธิผลและมีความปลอดภัยในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ระยะกำเริบ ดังนั้นการศึกษาในอนาคตควรจะเพิ่มขนาดตัวอย่างและศึกษาผลในระยะยาวเพื่อผลการวิจัยที่ชัดเจนยิ่งขึ้นen
dc.description.abstractalternativeA randomized, double-blind, placebo-controlled trial was conducted in 18-weeks period to compare the short-term efficacy and safety of doxycycline, methotrexate, and placebo in active rheumatoid arthritis (RA) patients. The patients were outpatients with active RA in Allergy Immunology and Rheumatology (AIR) Clinic at Rajavithi hospital between May 2001 - August 2002. All patients received chloroquine (250 mg daily) at least 12- weeks and continued throughout the study. The other DMARDs were washed-out more than 6 weeks prior to the study. A total of 42 patients were female (90.50%), aged 49.45 +- 11.35 years, and the mean of disease duration was 7.16 +- 6.12 (range 0.5-30.0) years. Patients were randomly allocated to one of three groups (i.e., doxycycline (200 mg daily), methotrexate (7.5mg/week) or placebo). Of 42 patients (i.e., 14 in the doxycycline group, 14 in the methotrexate group, and 14 in the placebo group) completed the 18-week study. Five patients in doxycycline and 5 patients in methotrexate groups reached American College of Rheumatology definition of 20 percent improvement (ACR20) more than three patients in placebo group (35.71 and 21.43%, p = 0721). In the doxycycline and methotrexate groups, the number of swollen and tender joints and the scores in pain assessment had tendency to decrease than those in the placebo. Also the patient’s global assessment score and health assessment score had tendency to lower than those in the placebo. For patients receiving doxycycline, the ESR level was significantly decreased compared to the placebo (p=0.048). Similar to the patients in methotrexate, the ESR level had tends to decreased compared to the placebo. The CRP level in doxycycline group tended to decrease compared to the placebo, while the CRP level in methotrexate group tended to dramatically improve compared to the placebo. For the drug safety, there was no serious adverse drug reaction in these three groups. Step up combination of chloroquine with doxycycline or methotrexate tends to be efficacious and safe in active RA over the 18-week period. The future study should replicate by extension of study period and the number of active RA patient.en
dc.format.extent1465518 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectข้ออักเสบรูห์มาตอยด์ -- การรักษาด้วยยาen
dc.titleการเปรียบเทียบประสิทธิผลและความปลอดภัยในระยะสั้นของการรักษาด้วยยาระหว่างดอกซีซัยคลินและเมโธเทรกเซทในผู้ป่วยนอกโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ณ โรงพยาบาลราชวิถีen
dc.title.alternativeComparison of short-term efficacy and safety between doxycycline and methotrexate therapy in outpatients with rheumatoid arthritis at Rajavithi Hospitalen
dc.typeThesises
dc.degree.nameเภสัชศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineเภสัชกรรมคลินิกes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorRawadee.D@Chula.ac.th-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
usasiri.pdf1.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.