Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10488
Title: ผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการจ้างคนงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ขยายตัวด้านเหนือของกรุงเทพมหานคร
Other Titles: The economic impact generated by industrial labour employment in the northern Bangkok extended area
Authors: พีรพงศ์ มหาวงศนันท์
Advisors: ดารณี ถวิลพิพัฒน์กุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Daranee.T@Chula.ac.th
Subjects: โรงงาน -- สถานที่ตั้ง
เมือง -- การเจริญเติบโต
การจ้างงาน (ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์)
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการจ้างคนงานอุตสาหกรรม ในพื้นที่ขยายตัวด้านเหนือของกรุงเทพมหานคร โดยพิจารณาการเกิดขึ้นของรายได้ทางตรงและทางอ้อมซึ่งเป็นผลมาจากการใช้จ่ายเกี่ยวกับคนงานของโรงงานอุตสาหกรรม คนงาน และประชาชนในพื้นที่ โดยผ่านกระบวนการทำงานของตัวทวีคูณ การศึกษาได้แบ่งพื้นที่ที่คาดว่าจะเกิดผลกระทบจากการใช้จ่ายดังกล่าว เป็น 7 เขต คือ 3 กลุ่มอำเภอในจังหวัดปทุมธานีและพระนครศรีอยุธยาซึ่งแบ่งตามระยะทางจากแหล่งการจ้างงานไปสู่พื้นที่โดยรอบ กรุงเทพมหานคร จังหวัดในปริมณฑล ภาคกลาง และภาคที่คนงานมีภูมิลำเนาเดิม การเก็บข้อมูลทำโดยการสัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถาม และสุ่มตัวอย่างจากประชากรเป้าหมาย ได้แก่โรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดใหญ่ คนงาน 3 กลุ่ม(คนงานท้องถิ่น คนงานนอกท้องถิ่น และคนงานย้ายถิ่น) และประชาชนซึ่งอยู่ในกลุ่มอำเภอต่างๆ เพื่อนำมาวิเคราะห์ผลร่วมกับค่า Value Added Ratio จาก ตารางปัจจัยผลิต-ผลผลิต เพื่อหาค่าตัวทวีคูณ ผลการวิจัยเกี่ยวกับรูปแบบการใช้จ่ายพบว่า โรงงานมีรายจ่ายที่สำคัญคือค่าจ้างคนงาน ในขณะที่มีรายจ่ายด้านสวัสดิการเพียงเล็กน้อย คนงานทุกกลุ่มมีรายจ่ายส่วนใหญ่เหมือนกันในเรื่องของอาหาร การพักผ่อนหย่อนใจ สิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัว และเครื่องนุ่งห่ม สำหรับคนงานนอกท้องถิ่นและคนงานย้ายถิ่นมีรายจ่ายเพิ่มเติม คือ การโอนเงินกลับภูมิลำเนา ผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการจ้างคนงานท้องถิ่นและคนงานย้ายถิ่นได้สร้างรายได้ในกลุ่มอำเภอที่เป็นแหล่งจ้างงานมากที่สุด ส่วนการจ้างคนงานนอกท้องถิ่นสร้างรายได้ในพื้นที่ภาคกลางมากที่สุด โดยคนงานย้ายถิ่นเป็นกลุ่มที่สร้างรายได้มากที่สุดให้กับจังหวัดปทุมธานีและพระนครศรีอยุธยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มอำเภอที่เป็นแหล่งการจ้างงาน นอกจากนี้ยังพบว่าคนงานย้ายถิ่นและคนงานนอกท้องถิ่นเป็นกลุ่มคนงานที่ก่อให้เกิดรายได้ขึ้นทุกภาคของประเทศโดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือจากการส่งเงินกลับภูมิลำเนาเดิม
Other Abstract: The main purpose of this research is to study the economic impact of industrial labour employment in the northern Bangkok extended area on its local economy by considering income generated through multiplierʼs effect in these areas via spendings by factories on labour employment, labours, and local residents. This research classifies impact areas into 7 zones: 3 zones in Patumthani and Phra Nakhon Si Ayutthaya, according to distance from industrial agglomeration area, Bangkok, provinces in Bangkokʼs Vicinity, Central Region and other regions in Thailand. Data collection is made through utilizing structured interview on three target groups: medium- and large-sized factory owners, 3 groups of labours(local labours, labours from nearly provinces and migrant labours) and local residents. The income multipliers are calculated by multiplying spending patterns with Value Added Ratio from National Input-Output Table. The findings on the spending patterns indicate that the major expense of the factory is on wages. All labour groups expend mostly on food, clothes, recreational activities and personal consumption. For labours from nearly provinces and migrant labours, extra expense is on remittance to their domicile. Employment of local labours and migrant labours generate highest income in the industrial agglomeration area, while employment of labours from nearly provinces generates highest income in the Central Region. Spending by migrant labours generates highest income in Patumthani and Ayutthaya. Remittance made by labours from nearly prov+inces and migrant labours generate income in every region, especially in the Northeast.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางแผนภาค
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10488
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.306
ISBN: 9741710666
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2002.306
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Peerapong.pdf2.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.