Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10492
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorดวงใจ กสานติกุล-
dc.contributor.authorประพัตรา จันธนะสมบัติ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2009-08-25T11:23:09Z-
dc.date.available2009-08-25T11:23:09Z-
dc.date.issued2545-
dc.identifier.isbn9741732961-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10492-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยพรรณนา เพื่อศึกษาความชุกของความเครียด ระดับความเครียดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดของแพทย์ประจำบ้าน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวน 264 คน เป็นชาย 116 คน หญิง 148 คน ทำการวิจัยช่วงเดือน ตุลาคม-ธันวาคม 2545 เครื่องมือในการวิจัยแบบสอบถามข้อมูลพื้นฐาน แบบประเมินที่มาของความเครียดและประเมินความเครียดของกรมสุขภาพจิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Chi-square test t-test One-way ANOVA และ Stepwise multiple regression analysis ผลการวิจัย พบว่า ความชุกของความเครียดของแพทย์ประจำบ้าน คิดเป็นร้อยละ 22.7 ปัจจัยพื้นฐานที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<.01 ได้แก่ ศาสนา ชั้นปีที่ศึกษา หน่วยงานที่เคยปฏิบัติงาน เหตุผลในการเลือกมาศึกษาต่อ รายได้เพียงพอกับค่าใช้จ่าย โดยแพทย์ประจำบ้านที่นับถือศาสนาคริสต์มีค่าเฉลี่ยคะแนนความเครียดมากกว่าแพทย์ประจำบ้านที่นับถือศาสนาพุทธ แพทย์ที่ศึกษาในชั้นปีที่ 2 และ 3 มีค่าเฉลี่ยคะแนนความเครียดมากกว่าชั้นปีที่ 1 แพทย์ที่เคยปฏิบัติงานในโรงพยาบาลทั่วไปมีค่าเฉลี่ยคะแนนความเครียดสูงกว่าแพทย์ที่เคยปฏิบัติงานในโรงพยาบาลศูนย์ แพทย์ที่มีเหตุผลในการเลือกมาศึกษาต่อจากความต้องการของหน่วยงานมีค่าเฉลี่ยคะแนนความเครียดสูงกว่ากลุ่มที่มีเหตุผลมาจากความมีประโยชน์ต่อสังคม และแพทย์ที่มีรายได้ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายค่าเฉลี่ยคะแนนความเครียดสูงกว่ากลุ่มที่มีรายได้เพียงพอกับค่าใช้จ่ายและมีเงินเหลือเก็บ ในส่วนของที่มาของความเครียดที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<.01 ได้แก่ เรื่องส่วนตัว และสิ่งแวดล้อม ปัจจัยที่สามารถอธิบายการเกิดความเครียดของแพทย์ประจำบ้านได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<.01 ได้แก่ ที่มาความเครียดจากเรื่องส่วนตัว ชั้นปีที่ศึกษา ศาสนา ที่มาความเครียดจากสิ่งแวดล้อม เพศ หน่วยงานที่เคยปฏิบัติงานen
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this descriptive study was to evaluate the prevalence of stress and factors correlated with stress among residents in training in King Chulalongkorn Memorial Hospital. The population samples were 264 residents, 116 males and 148 females, age 22-45 years (mean aged 28.07). The study conducted during October to December 2002. Self-administered questionnaire was consisted of questionnaire from Mental Health Department. The data were analyzes for desriptive statistics, percentage, mean, standard deviation, Chi-square, t-test, One-way ANOVA and stepwise multiple regression were used for inferential statistisal anllyzed by SPSS for window. The result of this study were as follows: The prevalence of stress among residents was 22.7%. The factors correlated with stress (p<.01) were religion, level of study, hospital where they used to work, reason of study and suitable budget. The causes factors correlated with stress (p<.01) were individual and environmental problem. The factors that could explain their stress (p<.01) were individual problem, level of study, religion, environmental problem, sex and hospital where they used to work.en
dc.format.extent1013005 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectความเครียด (จิตวิทยา)en
dc.subjectแพทย์ประจำบ้านen
dc.titleความชุกของความเครียดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดของแพทย์ประจำบ้าน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์en
dc.title.alternativePrevalence of stress and factors correlated with stress among residents in training in King Chulalongkorn Memorail Hospitalen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineสุขภาพจิตes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorDuangjai.K@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Prapattra.pdf989.26 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.