Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10502
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอภิฤดี เหมะจุฑา-
dc.contributor.advisorวิทยา กุลสมบูรณ์-
dc.contributor.advisorสุธาทิพย์ พิชญไพบูลย์-
dc.contributor.authorสุภัทรชา ไชยรักษ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.คณะเภสัชศาสตร์-
dc.date.accessioned2009-08-25T12:00:32Z-
dc.date.available2009-08-25T12:00:32Z-
dc.date.issued2545-
dc.identifier.isbn9741713576-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10502-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545en
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบต้นทุน-ประสิทธิผลระหว่างระบบปกติและระบบการให้บริบาลทางเภสัชกรรมซึ่งเภสัชกรประเมินภาวะผู้ป่วยก่อนจ่ายยาเดิมต่อเนื่องในการบริการผู้ป่วยนอกโรคเบาหวาน โดยเป็นการวิจัยเชิงทดลองที่มีกลุ่มควบคุมและมีการทดสอบก่อนและหลัง ซึ่งดำเนินการในช่วงเดือนตุลาคม 2544 ถึง กุมภาพันธ์ 2545 ที่โรงพยาบาลเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทำการสุ่มผู้ป่วยที่ผ่านการพิจารณาจากแพทย์ตามเกณฑ์ที่กำหนดให้สามารถรับยาเดิมต่อเนื่องได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่งตามความความสมัครใจของผู้ป่วย จัดเข้ากลุ่ม 2 กลุ่ม แต่ละกลุ่มมีผู้ป่วยจำนวน 52 ราย ได้แก่ กลุ่มทดลองซึ่งได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรมและนัดติดตามทุก 1 เดือน จนครบ 3 เดือน และกลุ่มควบคุมซึ่งได้รับบริการในระบบปกติของโรงพยาบาลและนัดมาพบแพทย์เมื่อครบ 3 เดือน เมื่อสิ้นสุดการศึกษา มีจำนวนผู้ป่วยทั้งสิ้น 104 ราย ผลการศึกษา พบว่าหลังจากติดตามจนครบ 3 เดือน ต้นทุนของการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้งต้นทุนในด้านของโรงพยาบาลและในด้านของผู้ป่วยเบาหวานของระบบการให้บริบาลทางเภสัชกรรมสูงกว่าการดูแลผู้ป่วยโดยระบบปกติ(288.31และ 181.79 บาท; 812.35 และ 425.91 บาท) อย่างไรก็ตาม ต้นทุนในด้านของโรงพยาบาลและในด้านของผู้ป่วยเบาหวานเมื่อไม่รวมค่ายาต่อครั้ง ในกลุ่มทดลองมีค่าใกล้เคียงกับกลุ่มควบคุม คือ 44.48 บาท และ 31.77 บาท ตามลำดับ ในด้านประสิทธิผล พบว่าผู้ป่วยมีระดับน้ำตาลในเลือดเฉลี่ยเพิ่มขึ้นทั้งสองกลุ่มโดยผู้ป่วยในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีระดับน้ำตาลในเลือดเฉลี่ยเท่ากับ 148.02+-45.02 มก./ดล. และ 142.12+-37.69 มก./ดล. ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05) ทำให้ไม่สามารถแสดงประสิทธิผลที่แตกต่างได้ และพบว่าผู้ป่วยที่มีระดับน้ำตาลในเลือด is more than or equal to 150 มก./ดล. เมื่อนัดติดตามจนครบ 3 เดือน มีจำนวนเพิ่มขึ้นในกลุ่มทดลอง จำนวน 7 รายซึ่งน้อยกว่าในกลุ่มควบคุมที่พบว่าเพิ่มขึ้นจำนวน 13 ราย ระหว่างการศึกษามีผู้ป่วยที่ต้องส่งกลับไปพบแพทย์เมื่อนัดติดตามครั้งที่ 1 และ 2 จำนวนครั้งละ 8 ราย เนื่องจากระดับน้ำตาลในเลือดไม่อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด คือ น้อยกว่า 80 มก./ดล. และ 200 มก./ดล หรือพบผลแทรกซ้อน ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อระบบการให้บริบาลทางเภสัชกรรมน่าจะเป็นเพราะการลดระยะเวลาในการรอ และความสะดวกรวดเร็วในการมารับยา และได้รับความรู้เรื่องการใช้ยาเพิ่มขึ้น ดังนั้นระบบการให้บริบาลทางเภสัชกรรม อาจเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่มีไว้รองรับบริการผู้ป่วยโรคเบาหวานในกรณีที่มีอายุรแพทย์ไม่เพียงพอ การติดตามประเมินภาวะผู้ป่วยโดยระบบนี้อย่างสม่ำเสมอสามารถควบคุมระดับน้ำตาลรวมทั้งการพบผลแทรกซ้อนได้เร็วขึ้นen
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study was to compare cost-effectiveness of the conventional versus pharmceutical care service in which pharmacist evaluate the patient before refill the same medication in diabetic patient. The study is a before and after experiment with one control group. Assessment was based on an evaluation of the outcome after the new system was applied. The study was conducted between October 2001 and February 2002 at diabetic out patient department of Sena hospital. Only patients, who willingly joined the program, were included. These patients were screened and selected by an internist based on accepted criteria. One hundred and four patients were randomly assigned to the study and control groups. Patients in the study and control group were monitored by the same pharmacist throughout a period of 3 months. However, the frequency of monitoring was once a month in the former versus once at the end of study period in the latter. Base on hospital perspective and patient perspective, expenses in the study group were higher than those in the control group (288.31 and 181.39; 812.35 and 425.91). However, when cost derived from medications/ visit was excluded, there was no difference among the study and control groups (44.48 and 31.77 baht, respectively). It was found that the mean fasting plasma glucose (FPG) in the study (148.02+-45.02 mg/dL) and control groups (142.12+-37.69 mg/dL) at the end of this 3-month study was not signifincantly different(P > 0.05). However, when using the upper limit FPG of 150 mg/dL, there were 20 patients who fell off this limit (7 in the study versus 13 in the control groups). Sixteen patients in the study group were referred to physician during first and second follow up visits due to an emergence of the complications related to diabetes or to their higher than hazardous levels of < 80 or > 200. Almost all patients were satisfied with the pharmacist managed care program. These could be explained by a shortened waiting time and the convenience in receiving medications as well as increased knowledge in drug use information as provided by pharmacist.en
dc.format.extent838935 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectโรงพยาบาลเสนาen
dc.subjectเภสัชกรรมen
dc.subjectการบริบาลทางเภสัชกรรม -- ต้นทุนen
dc.subjectเบาหวาน -- ผู้ป่วยen
dc.titleต้นทุน-ประสิทธิผลของการบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยเบาหวานที่โรงพยาบาลเสนาen
dc.title.alternativeCost-effectiveness of pharmaceutical care in diabetic patients at Sena Hospitalen
dc.typeThesises
dc.degree.nameเภสัชศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineเภสัชกรรมคลินิกes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorAphirudee.H@Chula.ac.th-
dc.email.advisorVithaya.k@chula.ac.th-
dc.email.advisorSutathip.P@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supataracha.pdf819.27 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.